หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ใบความรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานห้องสมุด)

รายวิชา ง20293 งานห้องสมุด 1 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเตรียมและลงทะเบียนหนังสือ วารสารและหนังสือพิมพ์


การเตรียมหนังสือ หมายถึง การนำเอาหนังสือของห้องสมุดที่ได้รับใหม่มาจัดทำให้เข้ากับระบบการบริการของห้องสมุด เพื่อให้ความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวแก่ผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การตรวจหนังสือ มีการตรวจรายละเอียด ดังนี้

1. ตรวจความเรียบร้อยของหนังสือ เพื่อสำรวจสิ่งต่อไปนี้

1.1 มีจำนวนหน้าครบ ไม่สลับหน้า ไม่กลับหัว ไม่ขาดหาย พิมพ์ชัดเจนทุกหน้า

1.2 สภาพของหนังสือเรียบร้อย ปกไม่กลับหัวกับเนื้อใน หน้าไม่ชำรุดเสียหายหรือสกปรก กระดาษไม่ติดกันเป็นปึก

1.3 การเย็บเล่มแน่นหนาเรียบร้อยดี ไม่หลุดหรือฉีกออกเป็นหน้า ๆ

1.4 การเปิดหนังสือตามวิธีที่ถูกต้อง ควรจะทำในขณะตรวจหนังสือ จะทำให้ได้ประโยชน์ คือ เป็นการสำรวจความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ของหนังสือและเป็นการช่วยให้หนังสือเปิดง่าย วิธีการเปิดหนังสือที่ถูกต้องทำดังนี้


1. วางหนังสือให้สันทาบโต๊ะ ให้ปกทั้งสองราบกับพื้น

2. เปิดหนังสือด้านหน้า 5-6 แผ่น ให้หัวแม่มือกรีดไปตามโคนสัน

3. เปิดทางด้านหลังโดยวิธีเดียวกับด้านหน้า

4. เปิดสลับกันไปจนกว่าจะบรรจบกัน

2. ตรวจแก้คำผิดหนังสือบางเล่มมีการพิมพ์ผิดพลาดเป็นบางคำ ซึ่งผู้พิมพ์ได้สอดใบแก้คำผิดไว้ในหนังสือ ถ้าไม่ได้แก้ไขเสียแต่แรก นานๆ เข้าใบแก้คำผิดหายไป ก็จะไม่ทราบว่าข้อความหรือคำนั้นๆ ที่จริงควรเป็นอย่างไร ห้องสมุดต้องมีการแก้คำผิดก่อนที่จะนำหนังสือออกบริการการแก้คำผิดทำได้ 2 วิธี คือ

1) วิธีแก้โดยการขูดลบขีดฆ่าแล้วเขียนคำที่ถูกต้องลงไปแทนที่ การแก้ไขโดยวิธีนี้ ควรระมัดระวังอย่าให้สกปรก ควรเขียนบรรจงและใช้หมึกดำ

2) วิธีแก้โดยการตัดคำถูกมาปิดทับคำผิด วิธีทำคือตัดคำถูกมาปิดทับคำผิด ข้อควรระวังคือ ต้องให้ระยะพอเหมาะพอดี อย่าให้เกยทับตัวอักษรข้าง ๆ และต้องระวังให้ตรงบรรทัด มิฉะนั้นจะมองดูไม่ชัดเจนและไม่สวยงาม

2. การวิเคราะห์เลขหมู่และกำหนดหัวเรื่อง

(ดูรายละเอียดในคู่มือการวิเคราะห์เลขหมู่)

3. การลงทะเบียน

การลงทะเบียนหนังสือ คือ การลงรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นหลักฐานของห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โดยระบุรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่มไว้ใน Work sheet form/MARC 21 ห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

ขั้นตอนการลงทะเบียน

1. คัดแยกหนังสือเป็นหมวดหมู่หนังสือ หรือประเภท กรณีมี 2 ฉบับให้จัดเรียงไว้เป็นคู่ ส่วนหนังสือชุดให้จัดเรียงตามลำดับเล่มที่

2. จัดหนังสือเป็นชุดๆ ละ 10 เล่ม พร้อมเขียนสลิปซึ่งระบุข้อชุดที่ เลขทะเบียน งบประมาณ วันเดือนปี ที่ลงทะเบียน ร้านที่จัดซื้อ สอดไว้ในหนังสือแต่ละชุด



ชุดที่............

เลขทะเบียน....................

งบประมาณ....................

ลงวันที่...........................

ร้าน.................................


3. ประทับตราสัญลักษณ์ห้องสมุด เป็นตราแสดงเครื่องหมายของห้องสมุด ซึ่งมีทั้งรูปและข้อความ ชื่อห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง ใช้ประทับตรงกลางด้านบนหน้าปกในและหน้าลับเฉพาะ (หน้า 17) ของหนังสือ โดยหลีกเลี่ยงการประทับลงบนตัวอักษรและรูปภาพ

ในกรณีที่กระดาษของวารสารเป็นกระดาษมัน ให้ประทับตราลงบนกระดาษขาวด้านก่อน แล้วจึงนำผนึกลงบนหนังสือ

4. ประทับตราบอกข้อความเป็นเจ้าของ ประทับด้านข้าง ด้านบนและด้านล่างของหนังสือ


ห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง


5. ตรายางสมบัติของห้องสมุด ใช้ประทับตราหน้าแรกของเนื้อหาของหนังสือ


หนังสือห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม

โปรด อย่าขโมย ฉีก ตัด หรือ ทำลาย


6. ตรายางหนังสืออ้างอิง กรณีที่เป็นหนังสืออ้างอิง สำหรับประทับที่หน้าปกในของหนังสืออ้างอิง



หนังสืออ้างอิง


7. ตรายาง สำหรับกรอกทะเบียน เลขเรียกหนังสือ และวัน เดือน ปี ใช้ประทับที่หน้าปกในของหนังสือและหน้าลับเฉพาะ (ห้องสมุดบุญวาทย์วิทยาลัยประทับตราหน้าลับเฉพาะคือ หน้าที่ 17)


เลขทะเบียน.......................................

วันที่...................................................

เลขเรียกหนังสือ................................

..........................................................


8. ประทับตราเลขทะเบียนหนังสือด้วยรันนิ่งนับเบอร์ชนิด 6 หลัก วันที่ลงทะเบียน และเลขเรียกหนังสือ พร้อมเลขติดบาร์โค้ด โดยติดตรงกึ่งกลางของหน้าปกในหนังสือ เพื่อสะดวกในการยิงบาร์โค้ดในการยืม-คืนหนังสือ

9. กรอกรายละเอียดของหนังสือลงใน Work sheet form/MARC 21 เรียบร้อยแล้วบันทึกข้อมูลลงโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

( Work Sheet Form/ MARC 21 ) ห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง

ชื่อผู้วิเคราะห์ .............................................................วัน เดือน ปี ......................................................

ชื่อเขตข้อมูล

เขตข้อมูล

020 (ISBN / ราคา)

082 (เลขหมู่ดิวอี้ / เลขผู้แต่ง)

099 (เลขหมู่ กำหนดเอง / เลขผู้แต่ง)

100 (ผู้แต่งหลักบุคคล)

110 (ผู้แต่งหลักนิติบุคคล)

111 (ผู้แต่งหลักชื่อการประชุม)

245 (ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ)

246 (ชื่อเรื่องเทียบเคียง)

250 (ครั้งที่พิมพ์/ฉบับพิมพ์)

260 (พิมพลักษณ์)

300 (บรรณลักษณ์)

490 (ชื่อชุด)

500 (หมายเหตุทั่วไป)

504 (หมายเหตุบรรณานุกรม)

ชื่อเขตข้อมูล


เขตข้อมูล





600 (หัวเรื่องชื่อบุคคล)






610 (หัวเรื่องชื่อนิติบุคคล)






650 (หัวเรื่องทั่วไป)






650 (หัวเรื่องทั่วไป)






650 (หัวเรื่องทั่วไป)






651(หัวเรื่องชื่อทางภูมิศาสตร์)






651(หัวเรื่องชื่อทางภูมิศาสตร์)






700 (ผู้แต่งร่วมบุคคล)






700 (ผู้แต่งร่วมบุคคล)






700 (ผู้แต่งร่วมบุคคล)






710 (ผู้แต่งร่วมนิติบุคคล)






999 (ผู้บันทึกข้อมูล)






จัดหา

( ) ซื้อ ปีงบปม. : ( ) อุดหนุน ( ) งปม.




( ) บริจาค


แหล่งที่มา

ร้าน :




โดย :


เลขทะเบียนหนังสือ



บาร์โค้ด / ไอเทม

เลขทะเบียนหนังสือ


บาร์โค้ด / ไอเทม


4. การปรับปรุงหนังสือ

หนังสือใหม่จะทำการซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือก่อนออกให้บริการ (ดูรายละเอียดในการซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือ)

5. ติดบัตรกำหนดส่ง

เพื่อให้ทราบถึง วัน เดือน ปี ที่ต้องส่งคืนหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โดยการติดใบกำหนดส่ง คือ ติดหน้าสุดท้ายของหนังสือที่มีเนื้อหาและไม่มีเนื้อหา โดยทากาวเฉพาะขอบด้านบนของบัตรกำหนดส่ง

ส่วนชนิดของใบกำหนดส่งมี 2 ชนิด คือ หนังสือทั่วไป ใช้ใบกำหนดส่งสีขาว และหนังสืออ้างอิง ใช้ใบกำหนดส่งสีเหลือง

ตัวอย่างบัตรกำหนดส่ง









หนังสืออ้างอิง (สีเหลือง)



หนังสือทั่วไป (สีขาว)


บรรณานุกรม

กุหลาบ ปั้นลายนาค. (ม.ป.ป.). การปฏิบัติงานในห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์น.

คู่มือ การปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง.

พวา พันธุ์เมฆา. (2535). สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ.

เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล. (2542). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์น.