หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สารสนเทศ

ความหมายสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นปัจจัยของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคม เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจในหัวข้อต่าง ๆ ของสาขาวิชา อันส่งผลให้ การประกอบสัมมาชีพ เกิดความเจริญก้าวหน้า สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรบุคคลแห่งความรู้ที่องค์กรยังขาดแคลนและเร่งพัฒนาเพื่อให้บุคลากรกลุ่มนี้สร้างองค์ความรู้ใหม่แก่องค์กรและสังคมชาติ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ก่อให้เกิดการกินดีอยู่ดี และความมั่นคงต่อไป เช่นเดียวกับการบริหารจัดการในองค์กรที่ต้องใช้สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อ การวางแผน การแก้ปัญหา และการดำเนินงาน สร้างจุดแข็งให้แก่องค์กร ทำให้เกิดความได้เปรียบใน การแข่งขัน และการต่อรอง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
และระดับนานาชาติ

ห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศประเภทต่าง ๆ จึงมีบทบาทในการบริหารจัดการสารสนเทศ เพื่อให้การเข้าถึงสารสนเทศมีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสารสนเทศมีความรู้และความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น พัฒนาเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและเหมาะสม
ผู้ใช้สารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนสามารถใช้เครื่องมือช่วยการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างถูกวิธี เพื่อสามารถนำประโยชน์จากสารสนเทศมาใช้ให้ตรงกับความต้องการเพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเป็นพื้นฐานในการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต



สารสนเทศในสังคมภูมิปัญญา

2.1 ยุคสารสนเทศ

สังคมปัจจุบันอยู่ในยุคสารสนเทศที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งภูมิปัญญา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสารสนเทศ จึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของยุคสารสนเทศที่สรุปได้ดังนี้

1. มีการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ

2. หน่วยงานหรือองค์กรมีการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ

3. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศ

4. ผู้คนในสังคมนิยมใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในบ้านที่ประกอบด้วย

ไมโครโปรเซสเซอร์

5. ผู้คนในสังคมนิยมใช้บริการต่าง ๆ ในระบบออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สารสนเทศออนไลน์ เช่น
เครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายสินค้า

การสืบค้นสารสนเทศ ฯลฯ เป็นต้น

6. องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ

7. สารสนเทศเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่า สามารถกำหนดราคาและซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

8. สารสนเทศสามารถเข้าถึงได้ไม่ยากนัก ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ทำให้การศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ดำเนินไปได้อย่างสะดวก

2.2 ยุคแห่งภูมิปัญญา

สารสนเทศเป็นพื้นฐานของการได้มาซึ่งความรู้ หรือภูมิปัญญา เมื่อยุคสารสนเทศก่อให้เกิดการได้มา การจัดเก็บ และการเผยแพร่สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นผลให้บุคลากรทั้งที่เป็นผู้ปฏิบัติงานภายใต้วิชาชีพต่างๆ ในหน่วยงาน
และองค์กร ตลอดจนนักวิชาการ นักวิจัย และบัณฑิต สามารถสร้างสมประสบการณ์ ผนวกกับการได้รับข่าวสาร หรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้ช่วยกันสร้างองค์ความรู้ หรือผลผลิต หรือกลยุทธ์ ตลอดจนแนวคิด วิธีการ ฯลฯ ที่ดียิ่งขึ้นทำให้หน่วยงาน องค์กร และสังคม เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา

องค์กรในสังคมแห่งภูมิปัญญา ในยุคแห่งความรู้ จึงมีลักษณะสรุปได้ดังนี้

1. มีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา

2. มีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในหน่วยงาน สถาบัน บรรษัท เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงสารสนเทศอย่างทั่วถึง และสะดวก สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างงานที่ปฏิบัติร่วมกัน หรือเกี่ยวข้องกัน รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้มีการศึกษาตลอดชีวิต

3. มีกลุ่มบุคลากรที่เรียกว่า พนักงานแห่งภูมิปัญญา (Knowledge Worker) ปฏิบัติงานภายใต้วิชาชีพ และมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ ใช้สารสนเทศและประสบการณ์ ในการสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าแก่องค์กร

4. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ กล่าวคือ ต้องมีความเข้าใจ ในภาพรวมขององค์กรมีแผนรองรับการดำเนินงาน แสดงความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกันของหน่วยงานภายในองค์กร สามารถตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานได้

5. มีการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้อง และมีกฎหมายรองรับ

6. มีมาตรฐานกำกับการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเป็นสากล


การบันทึกสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และมีคุณค่ามหาศาล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มนุษย์จึงมีการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร และความรู้บนวัสดุต่าง ๆ เมื่อหลายพันปีก่อนคริสตกาล วัสดุที่ใช้บันทึกสารสนเทศ ได้แก่

- แผ่นดินเหนียว (ในสมัยโบราณชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรกที่รู้จักการบันทึกบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรคิวนิฟอร์ม เมื่อประมาณ 3,100 ปี ก่อนคริสตศักราช)

- แผ่นหินทรงกระบอก (ชาวบาบิโลเนียนบันทึกประมวลกฎหมายที่ตราขึ้นโดย พระเจ้าฮัมมูราบี – The Code of Hummurabi)

- กระดาษปาไปรัส (ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้กระดาษปาไปรัส (Papyrus) บันทึกเหตุการณ์สำคัญด้วยอักษรภาพ เรียกว่า ไฮโรกลิฟิค)

- แผ่นไม้

- แผ่นหิน

- แผ่นบรอนซ์

- แผ่นหนังสัตว์ (ชาวโรมันบันทึกการปกครองและพิธีการต่าง ๆ เย็บเป็นเล่มเรียกว่า codex)

- ผ้าไหม ผ้าลินิน กระดูกสัตว์ กระดองสัตว์ (ชาวจีนใช้บันทึกข้อเขียนที่นิยมกันในช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล)

- ผนังถ้ำ

- แผ่นกระเบื้อง (ชาวไทยบันทึกเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย) เป็นต้น

จนมาถึงยุคที่ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1450 นับเป็นก้าวแรกแห่งเทคโนโลยีการพิมพ์ ปัจจุบันวัสดุที่ใช้บันทึกสารสนเทศมีหลายรูปแบบ หลายลักษณะ รวมถึงวัสดุฉาบสารแม่เหล็ก แผ่นฟิล์มประเภทต่าง ๆ และวัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท



แหล่งสารสนเทศ

แหล่งสารสนเทศ (Information resources) หมายถึง ศูนย์รวม บ่อเกิด ที่เก็บหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ทั่วไป ความรู้ทางวิชาการ ความคิด และความรู้สึกต่างๆ เข้าไว้

(พูนสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 18)

แหล่งสารสนเทศ เป็นแหล่งที่ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแสวงหาสารสนเทศที่ต้องการได้ แหล่งสารสนเทศไม่ได้มีเพียงห้องสมุดเท่านั้น ยังมีแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมายที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ

เนื่องจากสารสนเทศมีความสำคัญ และได้รับการบันทึกบนวัสดุ และสื่อประเภทต่างๆ หลากหลายประเภทและรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่มีมากขึ้น วัสดุ หรือ สื่อเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการรวบรวม จัดเก็บไว้ ณ สถานที่

เพื่อดำเนินการ และให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สถานที่ดังกล่าวรู้จักกันในนามของห้องสมุด และต่อมามีการพัฒนาเป็นแหล่งสารสนเทศซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่

1. ห้องสมุด (Libraries)

2. ศูนย์เอกสาร (Documentation Centers)

3. ศูนย์สารนิเทศ (Information Centers)

4. พิพิธภัณฑ์ (Museum)

5. วัด / โบสถ์ (Temples / Churches)

6. หอจดหมายเหตุ (Archival Centers)

7. ศูนย์ข้อมูลเฉพาะสาขา (Clearing Houses)

8. ฐานข้อมูล (Databases)

9. เว็บไซต์ (Web Site) เป็นต้น

รวมทั้งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป แต่มีหน้าที่และบทบาทในการจัดการและบริการสารสนเทศ

พัฒนาการของห้องสมุด

ห้องสมุดนับเป็นศูนย์รวมวิชาการของทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบจากหลักฐาน ต่าง ๆ ที่ค้นพบ ห้องสมุดเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการบันทึกสารสนเทศ

5.1 พัฒนาการห้องสมุดในต่างประเทศ

ยุคโบราณ (Ancient Ages) ช่วง 4,000 ปี ก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 500 ในช่วงเวลาประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวสุเมอเรียนในดินแดน เมโสโปเตเมีย บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรตีส ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนีฟอร์ม (Cuneform) บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว รูปลักษณะตัวหนังสือคล้ายรูปลิ่ม บันทึกโดยใช้ไม้เหลาไห้แหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวซึ่งเปียกอยู่ แล้วนำไปเผาหรือตากแห้ง ชาวสุเมอเรียนบันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและศาสนา ด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์มและ
รวมจัดเก็บในห้องสมุด แผ่นดินเหนียว ซึ่งห้องสมุดที่สำคัญได้แก่ ห้องสมุดเทลเลาะห์ (Telloh

ชาวบาบิโลเนียน ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่าง ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาวสุเมเรียน โดยนำอักษรรูปลิ่มไปบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้แก่ วรรณกรรม และเรื่องราวทางศาสนา รวมถึงได้สร้างห้องสมุดตามวัดและพระราชวัง ชาวบาบิโลเนียนได้คิดค้นประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มบนแท่นหินสีดำ

ชาวอัสสิเรียนได้รับอารยธรรมจากชาวบาบิโลเนียนในการเก็บรวบรวม แผ่นดินเหนียว บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ที่ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์ (Nineveh) และจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือดินเผาแต่ละแผ่นไว้ด้วย

ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้แทนรูปภาพเมื่อ 4,000 ปีก่อนคริสตศักราช เรียกว่า ตัวอักษร ฮีโรกรีฟิก (Hieroglyphic) และต่อมาเมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตศักราช ได้คิดทำกระดาษด้วยต้นปาปิรัส (papyrus) เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะม้วนเก็บไว้เรียกว่า “ม้วนกระดาษปาปิรัส” หรือ “Papyrus Rolls” โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา การปกครอง บทละคร ตำรายา เป็นต้น ห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500ปี ก่อนคริสตศักราช

ชาวกรีกโบราณเป็นชาติที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก โดยประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราช มีห้องสมุดเกิดขึ้นมากมาย และห้องสมุดที่มีชื่อเสียงมากของกรีกคือ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Alexandira) ซึ่งมีหนังสือกว่า 700,000 เล่ม

ส่วนชาวโรมันไม่มีวรรณคดีของตนเอง ต่อมาเมื่อทำศึกสงครามชนะกรีก ก็ได้ ขนย้ายข้าวของรวมทั้งหนังสือไปยังกรุงโรม กรุงโรมมีห้องสมุดที่มีชื่อเสียงคือ ห้องสมุดบิบลิโอเตคา อัลเปียนา หรือหอสมุดอัลเปีย ชาวโรมันซึ่งรับวัฒนธรรมไปจากกรีก เรียกหนังสือเป็นภาษาละตินว่า Liber และเรียกห้องสมุดว่า “Librarius” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “Library” ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันถูกทำลายโดยพวกบาร์แบเรียน ห้องสมุดของชาวโรมันจึงสิ้นสุดลง

ยุคกลาง (Middle Ages) ช่วงปี ค.ศ. 500 - 1500 พระในศาสนาคริสต์นิยมการคัดลอกและรวบรวมหนังสือ
ทางศาสนาไว้ในวัดและ เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 500 ได้มีการตั้งเครื่องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ขึ้นทางใต้ของประเทศอิตาลี การคัดลอกหนังสือกลายเป็นประเพณีที่แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป

ยุคใหม่ (Modern Ages) ช่วงปี ค.ศ. 1500 - ปัจจุบัน ในคริสตศตวรรษที่ 15 โยฮัน กูลเตนเบอร์ก
(Johann Gutenberg) ช่างทอง ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่มีตัวพิมพ์ ทำให้การผลิตหนังสือมีความรวดเร็วและมีจำนวน มากขึ้น การขยายตัวทางการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นนำไปสู่กิจการห้องสมุดสมัยใหม่ มีการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรป

สหรัฐอเมริกาแต่เดิมที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษก็มีห้องสมุดซึ่งจัดตาม แบบอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1731 Benjamin Franklin ได้ตั้งห้องสมุดประชาชนแห่งแรกที่สามารถ ยืมหนังสือออกได้ ชื่อว่า The Library Company of Philadelphia ได้มีการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนขึ้นมากมายทั่วประเทศ จนกระทั่งเมลวิล ดิวอี้ ได้เป็นแกนนำในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association)และได้คิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือชื่อระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) และในปี ค.ศ. 1917 มหาเศรษฐีชื่อ แอนดรูคาร์เนกี้ ได้บริจาคเงินสำหรับสร้างห้องสมุดขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา

สังคมก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ (Information society) เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1939 เป็นต้นมา และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1970 ห้องสมุดได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ไปใช้ ทำให้รูปแบบของห้องสมุดเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

พัฒนาการห้องสมุดในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัย ในสมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 และมีการจารึกลงบนแผ่นหินเสาหินหรือที่เราเรียกว่า หลักศิลาจารึก เมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มายังประเทศ ได้มีการนำเอาพระไตรปิฎกซึ่งสันนิษฐานว่าจารึกไว้ในใบลานเข้ามาด้วย ต่อมา ได้มีประเพณีการคัดลอก พระไตรปิฎกทำให้มีพระไตรปิฎกจำนวนมาก จึงได้มีการคิดจัดทำเรือนไว้สำหรับเก็บพระไตรปิฎก เรียกว่า “หอไตร” หรือ หอพระไตรปิฎก นับเป็นห้องสมุดประเภทแรกที่จัดตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยจัดสร้างขึ้นในวัดเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา โดยจารหรือบันทึกลงในใบลานแล้วเก็บรวบรวมไว้ในห่อผ้าที่ใช้ผูกมัด เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เรียกว่า หนังสือผูก

สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังคงปรากฏหอไตรอยู่ตามวัดต่าง ๆ และมีการสร้างหอหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมกฎหมาย และเอกสารทางราชการ ต่อมาภายหลังถูกทำลายลงหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช กู้อิสรภาพแล้ว พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงศาสนาและการศึกษา ตามแบบอย่างกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มีการคัดลอกพระไตรปิฎก และให้มีการรวบรวมตำรับตำรา ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในพระอารามหลวง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้โปรดให้สร้าง “หอพระไตรปิฎกหลวง” ในพระบรมมหาราชวัง ใช้สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่เรียนหนังสือของพระและเณร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และจารึกความรู้ในด้านต่างๆ ลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัด มีรูปเขียนและรูปสลักประกอบตำรานั้นๆและเปิดให้ประชาชนทุกชั้นวรรณะเข้าไปคัดลอกความรู้ได้โดยเสรี ดังนั้น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม จึงถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย

ต่อมาเมื่อระบบการศึกษาเปลี่ยนไปจากการเรียนในวัดไปเป็นการจัดสร้างโรงเรียน ทำให้หอไตรขาดการดูแลเอาใจใส่ ในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับ พระนครขึ้นเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากหอพระสมุด หอพระสมุดสำหรับพระนครนี้เป็นต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน

ห้องสมุดแผนใหม่ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2494 เริ่มมีการเรียน การสอน วิชาบรรณารักษศาสตร์ที่ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้มีการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทยเรื่อยมาจนปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสารสนเทศและการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้รูปแบบของห้องสมุดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว

ห้องสมุดในปัจจุบัน

ด้วยปริมาณของสารสนเทศที่เพิ่มพูนอย่างมหาศาล สื่อที่บันทึกสารสนเทศ มีหลากหลายประเภทมากขึ้น ทำให้ห้องสมุดนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานสำคัญ ๆ ของห้องสมุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและเรียกใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ห้องสมุดปัจจุบันจึงมีลักษณะดังนี้ (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2545)

1. ห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library) การทำงานของระบบงานห้องสมุดที่มี การทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน ได้แก่ งานจัดหา งารวิเคราะห์เลขหมู่ งานบริการยืม-คืน และ งานบริการสืบค้นข้อมูล

2. ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ห้องสมุดที่มีการจัดการ และให้บริการเนื้อหาข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้
เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูปแบบ (Full-text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บ

3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและ
ให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะผสมผสานการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอล และห้องสมุดเสมือน

4. ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จากหน้าจอเดียวกัน เป็นการใช้ข้อมูลจากหลายแห่งผ่านเครือข่าย

กล่าวคือ มีการเก็บข้อมูลสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ในระบบฐานข้อมูลที่จัดการโดย
ระบบคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลได้ รวมทั้งมีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยการเข้าใช้ผ่านเทอร์มินอลในห้องสมุด หรือเข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุดจากสถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ

นอกจากนี้เอกสารที่นำเสนอในห้องสมุด บางส่วนอยู่ในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สามารถสืบค้นได้โดย
ระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งหรือรับสารสนเทศได้ด้วยสัญญาณดิจิทัล บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาสู่สังคมโลกทำให้การเข้าถึงสารสนเทศภายในห้องสมุด ต่างๆทั่วประเทศและทั่วโลกเป็นไปได้โดยสะดวกและกว้างขวางยิ่งขึ้นกอปรกับมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์ ทำให้มีการสร้างเว็บทั้งของห้องสมุด ของหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน และแม้แต่ส่วนบุคคล นำเสนอสารสนเทศจนประมาณมิได้ การเข้าถึงสารสนเทศ จึงไร้พรมแดนไม่มีอาณาเขตอีกต่อไป

บรรณานุกรม

กอบแก้ว โชติกุญชร และคนอื่นๆ. (2544). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: แม็ค.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2547). การค้นคว้าและ การเขียนรายงาน
(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์.

ธนกร ช่อไม้ทอง. (2551). IS 101 สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2553, จาก
http://human.lib.ru.ac.th/
index.php?option=com_content content&task=category&sectionid=

7&id=38&Itemid=82

ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2534). ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2545). E-Library: ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักหอสมุด. (2544). ห้องสมุดและสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. เชียงใหม่: สิรินาฏการพิมพ์.

อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย. (2538). ห้องสมุดและการค้นคว้า. นนทบุรี: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.








ใบความรู้ที่2.pdf
ใบความรู้ที่1.pdf

ใบงาน เรื่อง สารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ


ใบงานที่ 1 1.59.doc
ใบงานที่ 2.doc
สำรวจเเหล่งเรียนรู้ในชุมชน.pptx



ใบความรู้ที่ 1-2 สารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นปัจจัยของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคม เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจในหัวข้อต่าง ๆ ของสาขาวิชา อันส่งผลให้ การประกอบสัมมาชีพ เกิดความเจริญก้าวหน้า สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรบุคคลแห่งความรู้ที่องค์กรยังขาดแคลนและเร่งพัฒนาเพื่อให้บุคลากรกลุ่มนี้สร้างองค์ความรู้ใหม่แก่องค์กรและสังคมชาติ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ก่อให้เกิดการกินดีอยู่ดี และความมั่นคงต่อไป เช่นเดียวกับการบริหารจัดการในองค์กรที่ต้องใช้สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อการวางแผน การแก้ปัญหา และการดำเนินงาน สร้างจุดแข็งให้แก่องค์กร ทำให้เกิดความได้เปรียบใน การแข่งขัน และการต่อรอง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

ห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศประเภทต่าง ๆ จึงมีบทบาทในการบริหารจัดการสารสนเทศ เพื่อให้การเข้าถึงสารสนเทศมีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสารสนเทศมีความรู้และความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น พัฒนาเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและเหมาะสม

ผู้ใช้สารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนสามารถใช้เครื่องมือช่วยการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างถูกวิธี เพื่อสามารถนำประโยชน์จากสารสนเทศมาใช้ให้ตรงกับความต้องการเพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเป็นพื้นฐานในการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพในวิชาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต

1. ความหมายของข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และองค์ความรู้

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นนามธรรม รูปธรรมมีความหมายที่บ่งบอกได้ในตัวเอง มีคุณค่าควรแก่นำไปดำเนินการให้สื่อความหมายได้

ข่าวสาร หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์ หรือข้อมูลที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่ และต้องการจะเผยแพร่ต่อไป

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่รวบรวม เรียบเรียง หรือดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ ระหว่าง ผู้สื่อ และผู้รับ สามารถนำไปใช้ได้ตามที่ต้องการ

องค์ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ภูมิปัญญา ทฤษฎีต่าง ๆ ข้อค้นพบ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางความคิด ประสบการณ์ การศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง พัฒนาด้วยเทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์ ที่มีคุณค่าทางด้านวัตถุ จิตใจ คุณธรรม และจริยธรรม

องค์ความรู้จึงจัดเป็นสารสนเทศ เพราะสามารถสื่อให้เกิดความเข้าใจได้ระหว่างผู้รับ และองค์ความรู้ ดังนั้น สารสนเทศทั้งหมดไม่ใช่องค์ความรู้ แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้

สารสนเทศ สามารถได้รับการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ตัวหนังสือ

2. ตัวเลข

3. กราฟิก

4. ภาพ (ทุกประเภท)

5. เสียง

6. การ์ตูน

7. สัญลักษณ์

8. แผนภูมิ

9. แผนภาพ

10. ของจริง

11. ปรากฏการณ์

12. และการผสมผสานของรูปแบบดังกล่าว

สารสนเทศ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ต้องการสื่อสารกับผู้รับ การสื่อสารนั้น และเมื่อเข้าใจแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ สารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากสำหรับผู้ที่ได้รับ

ทั้งนี้ สื่อที่บันทึกสารสนเทศ มีหลายรูปแบบได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อประสม ของจริง

สรุปได้ว่าสารสนเทศมีประโยชน์ ดังนี้

1. ลดอัตราการตายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

2. ช่วยให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคอย่างฉลาด

3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

4. ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ

5. ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และลดค่าใช้จ่ายจากการทำวิจัยซ้ำซ้อน

6. สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

7. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างองค์ความรู้

8. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ

2. สารสนเทศในสังคมภูมิปัญญา

2.1 ยุคสารสนเทศ

สังคมปัจจุบันอยู่ในยุคสารสนเทศที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งภูมิปัญญา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสารสนเทศ จึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของยุคสารสนเทศที่สรุปได้ดังนี้

1. มีการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ

2. หน่วยงานหรือองค์กรมีการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ

3. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศ

4. ผู้คนในสังคมนิยมใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในบ้านที่ประกอบด้วย

ไมโครโปรเซสเซอร์

5. ผู้คนในสังคมนิยมใช้บริการต่าง ๆ ในระบบออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สารสนเทศออนไลน์ เช่น เครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายสินค้า

การสืบค้นสารสนเทศ ฯลฯ เป็นต้น

6. องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ

7. สารสนเทศเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่า สามารถกำหนดราคาและซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

8. สารสนเทศสามารถเข้าถึงได้ไม่ยากนัก ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ทำให้การศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ดำเนินไปได้อย่างสะดวก

2.2 ยุคแห่งภูมิปัญญา

สารสนเทศเป็นพื้นฐานของการได้มาซึ่งความรู้ หรือภูมิปัญญา เมื่อยุคสารสนเทศก่อให้เกิดการได้มา การจัดเก็บ และการเผยแพร่สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นผลให้บุคลากรทั้งที่เป็นผู้ปฏิบัติงานภายใต้วิชาชีพต่าง ๆ ในหน่วยงาน และองค์กร ตลอดจนนักวิชาการ นักวิจัย และบัณฑิต สามารถสร้างสมประสบการณ์ ผนวกกับการได้รับข่าวสาร หรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้ช่วยกันสร้างองค์ความรู้ หรือผลผลิต หรือกลยุทธ์ ตลอดจนแนวคิด วิธีการ ฯลฯ ที่ดียิ่งขึ้นทำให้หน่วยงาน องค์กร และสังคม เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา

องค์กรในสังคมแห่งภูมิปัญญา ในยุคแห่งความรู้ จึงมีลักษณะสรุปได้ดังนี้

1. มีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา

2. มีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในหน่วยงาน สถาบัน บรรษัท เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงสารสนเทศอย่างทั่วถึง และสะดวก สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างงานที่ปฏิบัติร่วมกัน หรือเกี่ยวข้องกัน รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้มีการศึกษาตลอดชีวิต

3. มีกลุ่มบุคลากรที่เรียกว่า พนักงานแห่งภูมิปัญญา (Knowledge Worker) ปฏิบัติงานภายใต้วิชาชีพ และมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ ใช้สารสนเทศและประสบการณ์ ในการสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าแก่องค์กร

4. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ กล่าวคือ ต้องมีความเข้าใจ ในภาพรวมขององค์กรมีแผนรองรับการดำเนินงาน แสดงความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกันของหน่วยงานภายในองค์กร สามารถตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานได้

5. มีการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้อง และมีกฎหมายรองรับ

6. มีมาตรฐานกำกับการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเป็นสากล

3. การบันทึกสารสนเทศ

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และมีคุณค่ามหาศาล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

มนุษย์จึงมีการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร และความรู้บนวัสดุต่าง ๆ เมื่อหลายพันปีก่อนคริสตกาล วัสดุที่ใช้บันทึกสารสนเทศ ได้แก่

- แผ่นดินเหนียว (ในสมัยโบราณชาวสุเมเรียนเป็นชาติแรกที่รู้จักการบันทึกบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรคิวนิฟอร์ม เมื่อประมาณ 3,100 ปี ก่อนคริสตศักราช)

- แผ่นหินทรงกระบอก (ชาวบาบิโลเนียนบันทึกประมวลกฎหมายที่ตราขึ้นโดย

พระเจ้าฮัมมูราบี – The Code of Hummurabi)

- กระดาษปาไปรัส (ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้กระดาษปาไปรัส (Papyrus) บันทึกเหตุการณ์สำคัญด้วยอักษรภาพ เรียกว่า ไฮโรกลิฟิค)

- แผ่นไม้

- แผ่นหิน

- แผ่นบรอนซ์

- แผ่นหนังสัตว์ (ชาวโรมันบันทึกการปกครองและพิธีการต่าง ๆ เย็บเป็นเล่มเรียกว่า codex)

- ผ้าไหม ผ้าลินิน กระดูกสัตว์ กระดองสัตว์ (ชาวจีนใช้บันทึกข้อเขียนที่นิยมกันในช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล)

- ผนังถ้ำ

- แผ่นกระเบื้อง (ชาวไทยบันทึกเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย) เป็นต้น

จนมาถึงยุคที่ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1450 นับเป็นก้าวแรกแห่งเทคโนโลยีการพิมพ์ ปัจจุบันวัสดุที่ใช้บันทึกสารสนเทศมีหลายรูปแบบ หลายลักษณะ รวมถึงวัสดุฉาบสารแม่เหล็ก แผ่นฟิล์มประเภทต่าง ๆ และวัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท

4. แหล่งสารสนเทศ

แหล่งสารสนเทศ (Information resources) หมายถึง ศูนย์รวม บ่อเกิด ที่เก็บหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ทั่วไป ความรู้ทางวิชาการ ความคิด และความรู้สึกต่างๆ เข้าไว้

(พูนสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 18)

แหล่งสารสนเทศ เป็นแหล่งที่ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแสวงหาสารสนเทศที่ต้องการได้ แหล่งสารสนเทศไม่ได้มีเพียงห้องสมุดเท่านั้น ยังมีแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมายที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ

เนื่องจากสารสนเทศมีความสำคัญ และได้รับการบันทึกบนวัสดุ และสื่อประเภทต่างๆ หลากหลายประเภทและรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่มีมากขึ้น วัสดุ หรือ สื่อเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการรวบรวม จัดเก็บไว้ ณ สถานที่เพื่อดำเนินการ และให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สถานที่ดังกล่าวรู้จักกันในนามของห้องสมุด และต่อมามีการพัฒนาเป็นแหล่งสารสนเทศซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่

1. ห้องสมุด (Libraries)

2. ศูนย์เอกสาร (Documentation Centers)

3. ศูนย์สารนิเทศ (Information Centers)

4. พิพิธภัณฑ์ (Museum)

5. วัด / โบสถ์ (Temples / Churches)

6. หอจดหมายเหตุ (Archival Centers)

7. ศูนย์ข้อมูลเฉพาะสาขา (Clearing Houses)

8. ฐานข้อมูล (Databases)

9. เว็บไซต์ (Web Site) เป็นต้น

รวมทั้งหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป แต่มีหน้าที่และบทบาทในการจัดการและบริการสารสนเทศ

5. พัฒนาการของห้องสมุด

ห้องสมุดนับเป็นศูนย์รวมวิชาการของทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบจากหลักฐาน ต่าง ๆ ที่ค้นพบ ห้องสมุดเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการบันทึกสารสนเทศ

5.1 พัฒนาการห้องสมุดในต่างประเทศ

ยุคโบราณ (Ancient Ages) ช่วง 4,000 ปี ก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 500

ในช่วงเวลาประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวสุเมอเรียนในดินแดน เมโสโปเตเมีย บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรตีส ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนีฟอร์ม (Cuneform) บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว รูปลักษณะตัวหนังสือคล้ายรูปลิ่ม บันทึกโดยใช้ไม้เหลาไห้แหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวซึ่งเปียกอยู่ แล้วนำไปเผาหรือตากแห้ง ชาวสุเมอเรียนบันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและศาสนา ด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์มและรวมจัดเก็บในห้องสมุด แผ่นดินเหนียว ซึ่งห้องสมุดที่สำคัญได้แก่ ห้องสมุดเทลเลาะห์ (Telloh)

ชาวบาบิโลเนียน ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่าง ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาวสุเมเรียน โดยนำอักษรรูปลิ่มไปบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้แก่ วรรณกรรม และเรื่องราวทางศาสนา รวมถึงได้สร้างห้องสมุดตามวัดและพระราชวัง ชาวบาบิโลเนียนได้คิดค้นประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มบนแท่นหินสีดำ

ชาวอัสสิเรียนได้รับอารยธรรมจากชาวบาบิโลเนียนในการเก็บรวบรวม แผ่นดินเหนียว บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ที่ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์ (Nineveh) และจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือดินเผาแต่ละแผ่นไว้ด้วย

ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้แทนรูปภาพเมื่อ 4,000 ปีก่อนคริสตศักราช เรียกว่า ตัวอักษร ฮีโรกรีฟิก (Hieroglyphic) และต่อมาเมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตศักราช ได้คิดทำกระดาษด้วยต้นปาปิรัส (papyrus) เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะม้วนเก็บไว้เรียกว่า “ม้วนกระดาษปาปิรัส” หรือ “Papyrus Rolls” โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา การปกครอง บทละคร ตำรายา เป็นต้น ห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500ปี ก่อนคริสตศักราช

ชาวกรีกโบราณเป็นชาติที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก โดยประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราช มีห้องสมุดเกิดขึ้นมากมาย และห้องสมุดที่มีชื่อเสียงมากของกรีกคือ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Alexandira) ซึ่งมีหนังสือกว่า 700,000 เล่ม

ส่วนชาวโรมันไม่มีวรรณคดีของตนเอง ต่อมาเมื่อทำศึกสงครามชนะกรีก ก็ได้ ขนย้ายข้าวของรวมทั้งหนังสือไปยังกรุงโรม กรุงโรมมีห้องสมุดที่มีชื่อเสียงคือ ห้องสมุดบิบลิโอเตคา อัลเปียนา หรือหอสมุดอัลเปีย ชาวโรมันซึ่งรับวัฒนธรรมไปจากกรีก เรียกหนังสือเป็นภาษาละตินว่า Liber และเรียกห้องสมุดว่า “Librarius” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “Library” ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันถูกทำลายโดยพวกบาร์แบเรียน ห้องสมุดของชาวโรมันจึงสิ้นสุดลง

ยุคกลาง (Middle Ages) ช่วงปี ค.ศ. 500 - 1500

พระในศาสนาคริสต์นิยมการคัดลอกและรวบรวมหนังสือทางศาสนาไว้ในวัดและ เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 500 ได้มีการตั้งเครื่องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ขึ้นทางใต้ของประเทศอิตาลี การคัดลอกหนังสือกลายเป็นประเพณีที่แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป

ยุคใหม่ (Modern Ages) ช่วงปี ค.ศ. 1500 - ปัจจุบัน

ในคริสตศตวรรษที่ 15 โยฮัน กูลเตนเบอร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทอง ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่มีตัวพิมพ์ ทำให้การผลิตหนังสือมีความรวดเร็วและมีจำนวน มากขึ้น การขยายตัวทางการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นนำไปสู่กิจการห้องสมุดสมัยใหม่ มีการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรป

สหรัฐอเมริกาแต่เดิมที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษก็มีห้องสมุดซึ่งจัดตาม แบบอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1731 Benjamin Franklin ได้ตั้งห้องสมุดประชาชนแห่งแรกที่สามารถ ยืมหนังสือออกได้ ชื่อว่า The Library Company of Philadelphia ได้มีการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนขึ้นมากมายทั่วประเทศ จนกระทั่งเมลวิล ดิวอี้ ได้เป็นแกนนำในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุด

อเมริกัน (American Library Association) และได้คิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือชื่อระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) และในปี ค.ศ. 1917 มหาเศรษฐีชื่อ แอนดรูคาร์เนกี้ ได้บริจาคเงินสำหรับสร้างห้องสมุดขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา

สังคมก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ (Information society) เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1939 เป็นต้นมา และตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1970 ห้องสมุดได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ไปใช้ ทำให้รูปแบบของห้องสมุดเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

5.2 พัฒนาการห้องสมุดในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัย

ในสมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 และมีการจารึกลงบนแผ่นหินเสาหินหรือที่เราเรียกว่า หลักศิลาจารึก เมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มายังประเทศ ได้มีการนำเอาพระไตรปิฎกซึ่งสันนิษฐานว่าจารึกไว้ในใบลานเข้ามาด้วย ต่อมา ได้มีประเพณีการคัดลอก พระไตรปิฎกทำให้มีพระไตรปิฎกจำนวนมาก จึงได้มีการคิดจัดทำเรือนไว้สำหรับเก็บพระไตรปิฎก เรียกว่า “หอไตร” หรือ หอพระไตรปิฎก นับเป็นห้องสมุดประเภทแรกที่จัดตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยจัดสร้างขึ้นในวัดเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา โดยจารหรือบันทึกลงในใบลานแล้วเก็บรวบรวมไว้ในห่อผ้าที่ใช้ผูกมัด เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เรียกว่า หนังสือผูก

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ยังคงปรากฏหอไตรอยู่ตามวัดต่าง ๆ และมีการสร้างหอหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมกฎหมาย และเอกสารทางราชการ ต่อมาภายหลังถูกทำลายลงหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช กู้อิสรภาพแล้ว พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงศาสนาและการศึกษา ตามแบบอย่างกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มีการคัดลอกพระไตรปิฎก และให้มีการรวบรวมตำรับตำรา ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในพระอารามหลวง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้โปรดให้สร้าง “หอพระไตรปิฎกหลวง” ในพระบรมมหาราชวัง ใช้สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่เรียนหนังสือของพระและเณร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และจารึกความรู้ในด้านต่างๆ ลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัด มีรูปเขียนและรูปสลักประกอบตำรานั้นๆและเปิดให้ประชาชนทุกชั้นวรรณะเข้าไปคัดลอกความรู้ได้โดยเสรี ดังนั้น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม จึงถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย

ต่อมาเมื่อระบบการศึกษาเปลี่ยนไปจากการเรียนในวัดไปเป็นการจัดสร้างโรงเรียน ทำให้หอไตรขาดการดูแลเอาใจใส่ ในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับ พระนครขึ้นเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากหอพระสมุด หอพระสมุดสำหรับพระนครนี้เป็นต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน

ห้องสมุดแผนใหม่ในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2494 เริ่มมีการเรียน การสอน วิชาบรรณารักษศาสตร์ที่ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้มีการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทยเรื่อยมาจนปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสารสนเทศและการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้รูปแบบของห้องสมุดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว

6. ห้องสมุดในปัจจุบัน

ด้วยปริมาณของสารสนเทศที่เพิ่มพูนอย่างมหาศาล สื่อที่บันทึกสารสนเทศ มีหลากหลายประเภทมากขึ้น ทำให้ห้องสมุดนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานสำคัญ ๆ ของห้องสมุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและเรียกใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ห้องสมุดปัจจุบันจึงมีลักษณะดังนี้ (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2545)

1. ห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library) การทำงานของระบบงานห้องสมุดที่มี การทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน ได้แก่ งานจัดหา งารวิเคราะห์เลขหมู่ งานบริการยืม-คืน และ งานบริการสืบค้นข้อมูล

2. ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ห้องสมุดที่มีการจัดการ และให้บริการเนื้อหาข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูปแบบ (Full-text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บ

3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะผสมผสานการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอล และห้องสมุดเสมือน

4. ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จากหน้าจอเดียวกัน เป็นการใช้ข้อมูลจากหลายแห่งผ่านเครือข่าย

กล่าวคือ มีการเก็บข้อมูลสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ในระบบฐานข้อมูลที่จัดการโดยระบบคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลได้ รวมทั้งมีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยการเข้าใช้ ผ่านเทอร์มินอลในห้องสมุด หรือเข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุดจากสถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ

นอกจากนี้เอกสารที่นำเสนอในห้องสมุด บางส่วนอยู่ในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สามารถสืบค้นได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งหรือรับสารสนเทศได้ด้วยสัญญาณดิจิทัล บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาสู่สังคมโลกทำให้การเข้าถึงสารสนเทศภายในห้องสมุด ต่างๆทั่วประเทศและทั่วโลกเป็นไปได้โดยสะดวกและกว้างขวางยิ่งขึ้นกอปรกับมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์ ทำให้มีการสร้างเว็บทั้งของห้องสมุด ของหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน และแม้แต่ส่วนบุคคล นำเสนอสารสนเทศจนประมาณมิได้ การเข้าถึงสารสนเทศ จึงไร้พรมแดนไม่มี อาณาเขตอีกต่อไป

บรรณานุกรม

กอบแก้ว โชติกุญชร และคนอื่นๆ. (2544). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: แม็ค.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2547). การค้นคว้าและ

การเขียนรายงาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทาง

วิชาการคณะอักษรศาสตร์.

ธนกร ช่อไม้ทอง. (2551). IS 101 สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2553, จาก http://human.lib.ru.ac.th/index.php?option=com_content content&task=category&sectionid=7&id=38&Itemid=82

ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2534). ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2545). E-Library: ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักหอสมุด. (2544). ห้องสมุดและสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. เชียงใหม่: สิรินาฏการพิมพ์.

อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย. (2538). ห้องสมุดและการค้นคว้า. นนทบุรี: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.


ความหมายของแหล่งสารสนเทศ

คำว่า “แหล่งสารสนเทศ” (Information Resources) ประกอบด้วยคำสองคำคือ แหล่ง และสารสนเทศ

แหล่ง หมายถึง ถิ่น ที่อยู่ บริเวณ ศูนย์รวม บ่อเกิด แห่งที่ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546, น. 1312)

สารสนเทศ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติมาจากคำว่า information (ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ, 2524, น. 168) ประกอบด้วยคำสองคำ คือ สาร และสนเทศ

สาร หรือ สาระ หมายถึง แก่น เนื้อแท้ เช่น แก่นสาร ส่วนสำคัญ ข้อความสำคัญ

สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก เมื่อรวมกันเป็นสารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร การแสดง หรือ ชี้แจง ข่าวสารข้อมูลต่างๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546, น. 1119)

แหล่งสารสนเทศ หมายถึง ศูนย์รวม บ่อเกิด ที่เก็บหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ทั่วไป ความรู้ทางวิชาการ ความคิด และความรู้สึกต่างๆ เข้าไว้ (พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 18)

แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่เกิด แหล่งผลิต หรือแหล่งที่เป็นศูนย์รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายไว้ให้บริการค้นคว้าสำหรับผู้ต้องการสารสนเทศ (ชญาภรณ์ กุลนิติ, 2553, น. 9)

ประเภทของแหล่งสารสนเทศ

แหล่งสารสนเทศแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ (พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 19)

1. ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นแหล่งบันทึกสารสนเทศทุกรูปแบบ

2. แหล่งบุคคล (Personal resources) เป็นแหล่งก่อเกิดสารสนเทศทั้งหลายทั้งปวง

3. แหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เป็นผู้จัดทำ ผลิตสารสนเทศออกมาในรูปแบบต่าง ๆ

4. แหล่งบริการสารสนเทศ เป็นผู้รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศ

1. ทรัพยากรสารสนเทศ

ทรัพยากรสารสนเทศ (Information resources) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เช่น แผ่นกระดาษ แผ่นฟิล์ม วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ที่ได้รับการบันทึกสารสนเทศลงไว้ โดยใช้ภาษาหรือตัวอักษร ภาพ รหัส หรือเสียง ตัวอย่างเช่น หนังสือ วารสารวีดิทัศน์ ซีดีรอม เป็นต้น วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้นี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัสดุสารสนเทศ (Information materials)

2. แหล่งบุคคล (personal resources)

เป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญมาก เพราะเป็นแหล่งที่เกิดข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้นกำเนิด ผู้คิดค้น ผู้ค้นพบ ผู้รวบรวม ผู้วิจัย และผู้เผยแพร่สารสนเทศในสาขาต่างๆ ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ จนรอบรู้เชี่ยวชาญงานนั้น และสามารถให้สารสนเทศแก่ผู้ต้องการได้อย่างถูกต้อง เช่น นักวิจัย ครู อาจารย์ นักเขียน นักประดิษฐ์ ผู้บริหาร ผู้นำองค์กร เจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ในหน่วยงานหรือองค์กรทั้งของรัฐบาลและของเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน

ในการค้นคว้าทำรายงาน ข้อมูลบางอย่างอาจจะต้องสอบถามจากแหล่งบุคคลโดยวิธีต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์ การสอบถาม การขอความร่วมมือในการฝึกปฏิบัติหรือทดลอง ฯลฯ แหล่งบุคคลจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง

3. แหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ

คือ หน่วยงานหรือองค์การที่ทำการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ โดยการพิจารณาจัดทำ พิมพ์ รวบรวม และเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ แหล่งผลิต จึงเป็นแหล่งที่สำคัญมาก เป็นแหล่งที่นักเรียนอาจต้องใช้ในการค้นหาข้อมูลบางประการที่ต้องการ องค์กรที่ผลิตและเผยแพร่สารสนเทศมีทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรเอกชน ได้แก่

3.1 สถาบันการศึกษา เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในระดับต่างๆ เป็นแหล่งผลิตบัณฑิต ผลิตตำรา งานวิจัย และวารสารวิชาการ ผลิตบุคลากรในทุกสาขาวิชาชีพ เป็นศูนย์รวมของผู้มีความรู้ นักวิชาการ และนักวิจัย เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้และสารสนเทศอย่างกว้างขวางได้แก่ มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ

3.2 หน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญที่สุดในการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น หนังสือ ตำรา วารสาร โสตทัศนวัสดุ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความรู้และสารสนเทศในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้นๆ สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานรัฐบาลจัดทำจัดเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงข้อมูลได้เป็นอย่างดี

3.3 องค์กรเอกชน เป็นองค์กรที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน มีการผลิตเผยแพร่และให้บริการความรู้ ความคิดเห็นในรูปแบบต่าง ๆ องค์กรเอกชนเป็นแหล่งสารสนเทศที่ดีสำหรับการค้นคว้าเพื่อการทำรายงานและภาคนิพนธ์เช่นกัน

4. แหล่งบริการสารสนเทศ

หมายถึง สถาบันซึ่งทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศรูปแบบอื่น และแหล่งบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

4.1 ห้องสมุด (Library) คือ แหล่งสะสมบันทึกความรู้ความคิดอันมีค่าของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร จดหมายเหตุ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสืบทอด ความรู้ของมนุษย์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมทางบรรณารักษศาสตร์เป็นผู้บริหารและดำเนินการ

ความหมายของห้องสมุด

ห้องสมุด คือ แหล่งรวบรวมวัสดุเพื่อการศึกษาค้นคว้าทุกชนิด ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุบางอย่าง เช่น แผนที่ รูปภาพ ลูกโลก แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง สไลด์ เป็นต้น

ความสำคัญของห้องสมุด

1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมวิทยาการทุกสาขา

2. สนองความต้องการของผู้ใช้ ในการที่จะเลือกค้นคว้าหาความรู้ได้ตามความพอใจ

3. ช่วยฝึกฝนให้ผู้ใช้รู้จักรักหนังสือ รักการอ่าน และรู้จักค้นคว้าได้ถูกวิธี

4. ช่วยให้ผู้ใช้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ

5. ช่วยปลูกฝังนิสัยให้ผู้ใช้รู้จักรับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติของชาติและผู้อื่น

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

1. เพื่อการศึกษา (Education) มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมอย่างกว้างขวาง

2. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร (Information) โดยห้องสมุดเป็นแหล่งกลางที่สามารถติดตามข่าวสาร เพื่อให้ผู้ใช้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

3. เพื่อการค้นคว้าและวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมสรรพวิทยาการสาขา

ต่าง ๆ ไว้สำหรับให้บริการแก่ผู้ที่จะศึกษาคนคว้าในวิทยาการให้กว้างขวาง

4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) เช่น การอ่านหนังสือวรรณคดีจะช่วยทำให้เกิดความคิดที่ดีงาม เกิดความชื่นชม ซาบซึ้งประทับใจ ได้คติชีวิต

5. เพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) การอ่านหนังสือเป็น

การพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินและพึงพอใจ

ประเภทของห้องสมุด

จำแนกตามประเภทลักษณะการจัดตั้งและประเภทของผู้ใช้ดังต่อไปนี้

1. ห้องสมุดประชาชน (Public Library)

เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการหนังสือและทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ แก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเข้าไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัด เพศ วัย อาชีพหรือระดับการศึกษา ขนาดของห้องสมุดจะขึ้นอยู่กับปริมาณของผู้มาใช้บริการในแต่ละชุมชน สถานที่จัดตั้ง

ห้องสมุดขึ้นอยู่กับความสะดวกของชุมชนที่จะสามารถใช้เป็นห้องสมุดได้ เช่น วัด ศาลาประชาคม สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น

2. ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)

เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยราชการ องค์การ สถาบัน สมาคม บริษัท หรือโรงงาน รวบรวมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน หรือที่เกี่ยวข้องกับองค์การ โดยเน้นการให้บริการเพื่อความรู้ และการวิจัยเด่นชัดกว่าห้องสมุดประเภทอื่น ให้บริการเฉพาะสมาชิก หรือบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น ห้องสมุดธนาคาร ห้องสมุดของหน่วยงานรัฐบาล เป็นต้น

3. ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)

เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในสถานศึกษาระดับโรงเรียน เช่น ห้องสมุดโรงเรียนระดับอนุบาล ห้องสมุดโรงเรียนระดับประถม ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยม เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโรงเรียน รวบรวมทรัพยากรสารนิเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร และนอกหลักสูตร เพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้เป็นแหล่งหาความรู้

4. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Library)

เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ปัจจุบันส่วนมากใช้ คำว่า สถาบันวิทยบริการ หรือ สำนักหอสมุด มีทรัพยากรสารนิเทศ ทุกประเภทให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริมการเรียนการสอน การค้นคว้าและวิจัย ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมแก่อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเหล่านั้น

5. หอสมุดแห่งชาติ (National Library)

เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นและดำเนินการโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ เป็นที่เก็บสะสม รวบรวม เก็บรักษาเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศ ไม่ว่าจะผลิตขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะฉะนั้นหอสมุดแห่งชาติจึงเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและรักษามรดกทางความรู้ ความคิด วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละประเทศเอาไว้ เพื่อให้บริการศึกษาค้นคว้าภายใน ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ ออกจากห้องมุด นอกจากนี้หอสมุดแห่งชาติยัง ทำหน้าที่จัดพิมพ์บรรณานุกรมแห่งชาติ และดำเนินการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ข่าวสารระหว่างประเทศด้วย

บริการของห้องสมุด

ความหมายของงานบริการ

งานบริการ ได้แก่ งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด อย่างมีระบบ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการมากที่สุด และอย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งจำแนกได้เป็นบริการพื้นฐาน และบริการเฉพาะ ดังนี้

1. บริการพื้นฐาน เป็นบริการที่ห้องสมุดเกือบทุกประเภทจัดให้แก่ผู้ใช้ ได้แก่

1.1 บริการจ่าย - รับหนังสือ หรือบริการยืม - คืน (Circulation Service) คือบริการให้ยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง

1.2 บริการเอกสารสนเทศ หรือบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Information Service) คือบริการที่ห้องสมุด จัดบรรณารักษ์ให้บริการตอบคำถามทั่วไป และคำถามเฉพาะเจาะจงที่ต้องค้นหาคำตอบจากหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ

1.3 บริการหนังสือจอง หรือบริการหนังสือสงวน (Reserve Book Service) คือบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่างๆ ที่อาจารย์กำหนดให้อ่านประกอบ บริการให้แก่ผู้เรียนในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

1.4 บริการสอนหรือแนะนำการใช้ห้องสมุด คือบริการที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด ได้แก่ การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด

2. บริการเฉพาะ เป็นบริการที่จัดให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุดนั้นๆ

2.1 บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan) คือบริการที่ห้องสมุดจัดยืมหนังสือ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดไม่มีมาจากห้องสมุดอื่นให้ตามความต้องการของผู้ใช้ เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประเภทต่างๆ

2.2 บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service) คือบริการที่ช่วยเสริมให้ผู้ใช้ได้ติดตามความก้าวหน้าใหม่ๆ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

2.3 บริการดรรชนีวารสารและสาระสังเขป คือบริการที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวย

ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการค้นหาบทความเรื่องต่างๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารในรูปของบัตรรายการ

ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรม สำหรับบริการสาระสังเขป จะมีเรื่องย่อเพิ่มเติมด้วย

2.4 บริการรวบรวมบรรณานุกรม คือบริการจัดทำรายชื่อหนังสือ เอกสาร วารสาร สำหรับใช้ประกอบกาค้นคว้าวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.5 บริการฐานข้อมูล คือบริการที่ห้องสมุดจัดให้มีฐานข้อมูลในเรื่องต่างๆ ไว้บริการแก่ผู้ใช้ ทั้งฐานข้อมูลที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น และฐานข้อมูลที่จัดซื้อ

2.6 บริการเลือกสรรสารสนเทศเพื่อเผยแพร่เฉพาะบุคคล (Selective Dissemination of Information) คือบริการคัดเลือกสารสนเทศเฉพาะเรื่องให้แก่ผู้ใช้ที่แสดงความจำนงไว้

2.7 บริการถ่ายสำเนาสิ่งพิมพ์ คือบริการที่ห้องสมุดจัดให้เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการคัดลอก ผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการตามที่ห้องสมุดกำหนดไว้

2.8 บริการความรู้แก่ชุมชน คือบริการที่ห้องสมุดจัดให้แก่บุคคลทั่วไป เช่น ปาฐกถา อภิปราย เป็นต้น

ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศ มีหน้าที่สำคัญในการให้บริการแก่ผู้ใช้ ปัจจุบัน เมื่อห้องสมุดต่าง ๆ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ส่งผลให้ห้องสมุดบางแห่งมีการปรับเปลี่ยนบริการบางอย่าง หรือมีบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและ ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีทั้งในห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และได้รับสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

4.2 ศูนย์สารสนเทศ (Information center) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะสาขาวิชาแก่ผู้สนใจเฉพาะกลุ่ม บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วย นักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม จะเน้นรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นเอกสารการวิจัย รายงานการประชุม และวารสารวิชาการ มากกว่าหนังสือเล่ม มีการจัดเก็บและบริการที่เฉพาะเจาะลึก สนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่องอย่างจริงจัง

ศูนย์สารสนเทศแตกต่างจากห้องสมุดดังนี้ (พรประภา จุลพุ์ปสาสน์, 2543, น.7)

1. ศูนย์สารสนเทศรวบรวมสารนิเทศในขอบเขตที่แคบเฉพาะเจาะจงกว่าห้องสมุด

2. ศูนย์สารสนเทศเน้นการเก็บสะสมและบริการสิ่งพิมพ์ประเภทรายงานการวิจัย รายงานการประชุมสัมมนา สิ่งพิมพ์ทางการค้า สิงพิมพ์ที่เผยแพร่ในวงจำกัด แต่ห้องสมุดเน้น

การเก็บสะสมและบริการสิ่งพิมพ์เป็นรูปเล่ม เช่น หนังสือ วารสาร เป็นต้น

3. ศูนย์สารสนเทศมีบริการกว้างขวางและเฉพาะเจาะจงถึงตัวผู้ใช้มากกว่าห้องสมุด

4. บุคลากรศูนย์สารสนเทศมักเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชา มีความรู้ในในเนื้อหาวิชานั้นๆ เรียกว่า นักเอกสารสนเทศ (information specialist) ส่วนห้องสมุดเรียกว่า บรรณารักษ์ (Librarian)

5. ศูนย์สารสนเทศใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บ สร้างฐานข้อมูล และสืบค้นสารสนเทศ จึงสามารถให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า

4.3 แหล่งบริการสารสนเทศรูปแบบอื่น คือ สถาบันบริการสารสนเทศที่มีจุดมุ่งหมาย รูปแบบ และการบริการที่แตกต่างไปจากห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น

4.3.1 ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คือ แหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลข หรือข้อมูลดิบ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อเผยแพร่และให้บริการอย่างมีระบบ มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

4.3.2 ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) คือ หน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่มีข้อมูลที่เขาต้องการ เช่น สิ่งพิมพ์ของสถาบันบริการสารสนเทศต่างๆ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญใน

สาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้า อ้างอิง โดยตรงต่อไป โดยศูนย์จะมีนามานุกรมและรายชื่อแหล่งสารสนเทศต่างๆ ซึ่งจัดทำขึ้นเองและปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอ

4.3.3 หอจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึง หน่วยงานราชการหรือเอกชน ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุไว้ ได้แก่ เอกสารทางราชการ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับ หนังสือโต้ตอบ บันทึก แผนที่ แผนผัง ภาพถ่าย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวัติ พัฒนาการ นโยบาย และการดำเนินงานของรัฐหรือเอกชน เพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหลักฐานสำหรับค้นคว้าวิจัยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

หอจดหมายเหตุจำแนกได้ 5 ประเภท (พรประภา จุลพุ์ปสาสน์, 2543, น. 9)

1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

2. หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

3. หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย

4. หอจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา

5. หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม

4.3.4 พิพิธภัณฑ์ (Museum) คือ สถานที่สะสมรวบรวมวัตถุต่างๆตามธรรมชาติหรือศิลปวัตถุ สิ่งแปลกประหลาด หรือสิ่งที่หายาก มีการจัดเก็บอย่างมีระเบียบ และเป็นแหล่งรวมสารสนเทศอันมีค่า

4.4 แหล่งบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ คือ สถาบันที่ดำเนินธุรกิจการค้าสารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท (ชุติมา สัจจานันท์, 2532 อ้างถึงใน พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 43)

4.4.1 บริษัทค้าสารสนเทศ (Information Company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดดำเนินการวิเคราะห์ สื่อสาร และจัดส่งสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่ลูกค้าต้องการ เช่น รวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง เป็นที่ปรึกษาด้านจัดหาเอกสาร จัดทำรายงาน จัดประชุมสัมมนา ฝึกอบรมบุคลากรให้หน่วยงานต่างๆ

4.4.2 นายหน้าค้าสารสนเทศ หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่าและเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ การจัดส่งเอกสาร การค้นข้อมูลสารสนเทศ บริการเขียนโครงการวิจัย เขียนรายงาน ทำวิจัย การวิเคราะห์ตลาด งานบรรณาธิการ การแปล การจัดทำโฆษณา เป็นต้น

4.4.3 ผู้ผลิตและจำหน่ายฐานข้อมูล ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ องค์กรทางการค้า และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ในประเทศไทย หน่วยงานที่ ทำหน้าที่ผู้ผลิตและจำหน่ายฐานข้อมูลคือคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (Science and Technology Development Board / STDB)

หน้าที่ของแหล่งบริการสารสนเทศ

สถาบันบริการสารสนเทศทุกประเภทมีหน้าที่ดังนี้ (พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 44-45)

1. รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีคุณภาพ ทันสมัย มีประโยชน์ และตรงกับ

ความต้องการของผู้ใช้สาขาวิชาที่สถาบันบริการนั้น ๆ รับผิดชอบ

2. จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ ต้องมีการจัดเก็บอย่างมีระบบตามหลักสากลเพื่อ

ความรวดเร็วในการจัดเก็บ การสืบค้น และการให้บริการ

3. ผลิตทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่สารสนเทศออกไปให้แพร่หลายเพื่อให้บริการ จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยนกับสถาบันอื่นๆ และเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร จุลสาร จดหมายข่าว ฯลฯ

4. จัดให้มีศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ เพื่อแนะให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น จัดทำสหบัตรทรัพยากรสารสนเทศ (union catalog) รวบรวมรายชื่อแหล่งสารสนเทศหรือสถาบันบริการสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวมบรรณานุกรมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ บอกสถานที่จำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายและราคา

5. จัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและจำหน่ายจ่ายแจกข้อมูลและทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ และสถาบันในเครือข่าย ตลอดจนสำหรับผู้ใช้ที่สนใจขอใช้บริการ มีรายชื่อศูนย์แลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศไว้บริการ

6. จัดสถานที่สำหรับผู้ใช้บริการ มีบริเวณที่นั่งอ่านและศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นสัดส่วน ครุภัณฑ์อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทันสมัยเหมาะสมเพียงพอ มีอุณหภูมิ แสงสว่าง และบรรยากาศที่

เชิญชวนให้ผู้ใช้เข้าไปใช้บริการ

7. บริการอย่างมีประสิทธิภาพ จัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพ กว้างขวาง สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย หลากหลาย สนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

บรรณานุกรม

ชญาภรณ์ กุลนิติ. (2553). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชุติมา สัจจานันท์. (2532). สถาบันบริการสารนิเทศ. ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา สารนิเทศเบื้องต้น หน่วยที่ 1-7. (น.118-154). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนกร ช่อไม้ทอง. (2551). IS 101 สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2553 จาก http://human.lib.ru.ac.th/ index.php?option=com_contentcontent&task=category&sectionid=7&id=38&Itemid=82

ปราณี วงศ์จำรัส. (2551). เอกสารคำสอนกระบวนวิชา 009105 สารสนเทศศึกษา. เชียงใหม่:

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

พรประภา จุลพุ์ปสาสน์. (2543). สถาบันบริการสารสนเทศ. ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะมนุษยศาสตร์. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและ

การเขียนรายงาน. (น. 1-10). เชียงใหม่: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พูลสุข เอกไทยเจริญ. (2551). การเขียนรายงานการค้นคว้า. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศัพท์บัญญัติ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ. (2542). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.