การบันทึกการสอนและสร้าง clip video

(รอบที่ 2)

Synchronous Learning

การเรียนรู้แบบกลุ่มของผู้เรียนและผู้สอน โดยมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในเวลาเดียวกัน

โปรแกรม Zoom, True Vroom, Google Meet, Microsoft Team, Cisco Webex, Line, Facebook

Asynchronous Learning

การเรียนรู้ที่ไม่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันหรือในเวลาเดียวกัน โดยใช้ทรัพยากรที่อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล

Youtube, Loom, Google form, Google Classroom, Google site, Quizizz

#Workshop การบันทึกการสอนและสร้างคลิปวีดีโอ

1. การบันทึกการสอนโดยใช้โปรแกรม FreeCam + CamDesk + และ MS Powerpoint (สอน)

2. การใช้ MS Powerpoint บันทึกการสอน (ศึกษาด้วยตนเอง)

3. การอัพโหลดวีดีโอขึ้น Youtube channel ของตนเอง (สอน)

1. ขั้นตอนการบันทึกการสอนโดยใช้โปรแกรม FreeCam + CamDesk + และ MS Powerpoint

การบันทึกการสอนวิธีนี้จะใช้ 3 โปรแกรมด้วยกันในการบันทึกการสอน

1. โปรแกรม Free Cam สำหรับบันทึกหน้าจอและเสียงเป็นไฟล์วีดีโอ

2. โปรแกรม CamDesk สำหรับแสดงหน้าผู้บรรยาย

3. โปรแกรม MS powerpoint สำหรับเปิดสไลด์การสอน

รูปที่ 1.1 การติดตั้งแอป CamDesk บน Chrome

รูปที่ 1.2 แสดงแอป CamDesk ที่ได้รับการติดตั้งแล้วบน Chrome

รูปที่ 1.3 แสดงหน้าต่างของแอป CamDesk ที่มีการแสดงข้อความคำสั่ง

รูปที่ 1.4 หน้าต่างของแอป CamDesk ที่เห็นภาพเคลื่อนไหว หน้าผู้บรรยายชัดเจน

1.1 การติดตั้งและใช้งานโปรแกรม CamDesk

1. Search คำว่า CamDesk Chrome extension หรือคลิกลิ้งค์นี้ https://chrome.google.com/webstore/detail/camdesk/jmjgcfadcmkpmkfhecfcoghmaloblkod จะขึ้นหน้าต่างเว็ปไซต์สำหรับติดตั้งโปรแกรมหรือแอป บน chrome ดังแสดงในรูปที่ 1.1

2. คลิกปุ่ม "Add to Chrome" หรือ ปุ่ม "เพิ่มใน Chrome" แล้วรอจนกว่าโปรแกรมจะถูกติดตั้งบน chrome สำเร็จ

3. คลิกปุ่ม Apps ทางซ้ายมือของ Chrome จะขึ้นหน้าต่างดังแสดงในรูปที่ 1.2

4. คลิกปุ่มแอป CamDesk ตรงบริเวณหมายเลข 2 ของรูปที่ 1.2

5. เมื่อเปิดแอป CamDesk จะได้หน้าต่างที่มีภาพจากกล้องเว็ปแคมซึ่งเห็นหน้าของผู้บรรยาย เป็นหน้าต่างเล็กๆ ดังแสดงในรูปที่ 1.3

*โดยในหน้าต่างจะขึ้นข้อความให้เลือกคำสั่งในการใช้งาน คือ 1. กดปุ่ม Space bar หมายถึง ถ่ายภาพนิ่ง, 2. กดปุ่ม Esc หมายถึง ปิดโปรแกรม และ 3. กดปุ่ม Tab หมายถึง นำข้อความออก ซึ่งจะทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหวจากกล้องเว็ปแคมชัดดังแสดงในรูปที่ 1.4

6. กดปุ่ม Tab บนแป้นพิมพ์ จะทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว หรือหน้าผู้บรรยายจากกล้องเว็ปแคมชัดเจนดังแสดงในรูปที่ 1.4

รูปที่ 1.5 การตั้งค่าสไลด์ในการบรรยาย

รูปที่ 1.6 การตั้งค่าสไลด์ในการบรรยาย

1.2 การตั้งค่าสไลด์สำหรับบรรยาย

7. เปิดสไลด์โปรแกรม MS Powerpoint ที่ใช้ในการบรรยาย

8. คลิปที่คำว่า Slide Show จากนั้นคลิกปุ่ม Set Up Slide Show จะขึ้นหน้าต่าง Set Up Show ดังแสดงในรูปที่ 1.5

9. ในส่วนของ Show type ให้เลือกตัวเลือก "Browsed by an individual (window)" จากนั้นคลิกปุ่ม OK

10. หลังจากตั้งค่าสไลด์ที่ใช้บรรยายเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Slide Show พร้อมทั้งจัดหน้าต่างของแอป CamDesk ที่เป็นหน้าผู้บรรยายในตำแหน่งที่เหมาะสม ดังแสดงในรูปที่ 1.6

รูปที่ 1.7 หน้าต่างแรกของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.8 หน้าต่างแรกของโปรแกรม Free Cam กรณีที่เปิดสไลด์และโปรแกรม CamDesk ไปพร้อมๆกัน

รูปที่ 1.9 กรอบหน้าต่างเส้นประ และหน้าต่างคำสั่งของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.10 การตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.11 การนับถอยหลังเมื่อกดปุ่ม Record เพื่อเริ่มการบันทึกวีดีโอการสอน

รูปที่ 1.12 หน้าต่างโปรแกรม Free Cam หลังจากกดปุ่ม esc เพื่อหยุดการบันทึกวีดีโอ

รูปที่ 1.13 ปุ่มคำสั่งต่างๆของโปรแกรม Free Cam หลังจากกดปุ่ม esc เพื่อหยุดการบันทึกวีดีโอ

รูปที่ 1.14 หน้าต่าง Video Editor หลังจากกดคำสั่ง Edit ของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.15 ปุ่มคำสั่งต่างๆของหน้าต่าง Video Editor ของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.16 หน้าต่าง Save As หลังจากกดคำสั่ง Save as Video ของโปรแกรม Free Cam

รูปที่ 1.17 วีดีโอที่ได้จากการบันทึกการสอน เป็นไฟล์ .wmv

1.3 การติดตั้งและใช้งานโปรแกรม Free Cam

11. Search คำว่า Free Cam หรือคลิกลิ้งค์นี้ https://www.freescreenrecording.com/ จากนั้นใส่อีเมลและคลิก Download

12. ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา คือ free_cam_8_7_0.msi เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Free Cam

13.ทำการเปิดโปรแกรม Free Cam จะได้แสดงดังในรูปที่ 1.7 หรือในรูปที่ 1.8 (กรณีที่เราได้เปิดสไลด์และโปรแกรม CamDesk ไปพร้อมๆกัน)

14. คลิกที่คำว่า New Recording เพื่อเตรียมพร้อมในการบันทึกวีดีโอการสอน จะได้หน้าต่างใหม่ของโปรแกรม Free Cam ดังแสดงในรูปที่ 1.9

*ประกอบไปด้วย กรอบหน้าต่างเส้นประ และหน้าต่างคำสั่งที่มุมซ้ายล่าง

15. ทำการคลิกลากเมาส์ที่กรอบเส้นประให้มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณของสไลด์ทั้งหมดดังแสดงในรูปที่ 1.9

16. คลิกปุ่ม Setting (รูปฟันเฟือง) ที่หน้าต่างคำสั่ง จะขึ้นหน้าต่างสำหรับการตั้งค่าต่างๆดังแสดงในรูปที่ 1.10

*สามารถตั้งค่าไมโครโฟน คำสั่ง Shortcuts ต่างๆได้

17. เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม OK

18. กดปุ่ม Record (ปุ่มสีแดง) เพื่อเริ่มการบันทึกวีดีโอ โปรแกรมจะทำการนับถอบหลัง 3 2 1 ดังแสดงในรูปที่ 1.11 แล้วเริ่มบรรยาย หรือทำการสอน

19. หลังจากบรรยายเสร็จแล้ว เมื่อต้องการหยุดการบันทึกวีดีโอ ให้กดปุ่ม esc ที่แป้นพิมพ์ เพื่อหยุดการบันทึกวีดีโอ โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างใหม่ที่เป็นการแสดงผลของวีดีโอที่ผู้บรรยายได้ทำการบันทึกดังแสดงในรูปที่ 1.12

*ช่วงระหว่างในหยุดการบันทึกวีดีโอและการแสดงผลการบันทึกของวีดีโอ โปรแกรม Free Cam จะใช้เวลาในการประมวลผลประมาณ 1-5 นาที ขึ้นกับช่วงเวลาในการบันทึก

20. รูปที่ 1.13 แสดงปุ่มคำสั่งของโปรแกรม ซึ่งประกอบไปด้วย

    • 1. New recording: เพื่อทำการบันทึกใหม่ (โดยไม่ต้อง Save วีดีโอในครั้งนี้)
    • 2. Edit: เพื่อเข้าไปตัดต่อวีดีโอการสอนที่ได้ทำการบันทึก
    • 3. Save as Video: ทำการบันทึกวีดีโอเป็นไฟล์วีดีโอ
    • 4. Upload to Youtube: ทำการอัพโหลดไฟล์วีดีโอขึ้น Youtube channel

21. คลิกปุ่ม Edit เพื่อเข้าไปตัดต่อวีดีโอการสอนที่ได้ทำการบันทึก จะแสดงหน้าต่างใหม่ดังแสดงในรูปที่ 1.14 คือหน้าต่าง Video Editor

22. รูปที่ 1.15 แสดงปุ่มคำสั่งต่างๆของหน้าต่าง Video Editor ของโปรแกรม Free Cam ซึ่งประกอบไปด้วย

    • Save and Close: เพื่อทำการ Save และปิดหน้าต่าง Video Editor
    • Delete: เพื่อทำการลบวีดีโอในช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Silence: เพื่อทำในเสียงเงียบในช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Trim: เพื่อตัดวีดีโอให้เหลือเฉพาะช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Remove Noise: เพื่อกำจัดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในวีดีโอ โดยอ้างอิงสัญญาณรบกวนจากช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Adjust Volume: ปรับระดับเสียงของวีดีโอในช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Fade in/Fade out: ปรับระดับเสียงให้เป็นแบบค่อยๆดัง/ค่อยๆเบา ในช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Zoom Selection: ทำการขยายวีดีโอและเสียงในช่วงเวลาที่เราเลือก
    • Show All: แสดงภาพรวมของวีดีโอและเสียงทั้งหมด

23. หลังจากการปรับแต่ง หรือตัดต่อวีดีโอตามความต้องการแล้ว ให้คลิกปุ่ม Save and Close เพื่อปิดหน้าต่าง Video Editor

24. คลิกปุ่ม Save as Video เพื่อทำการบันทึกไฟล์วีดีโอทั้งหมด จะขึ้นหน้าต่าง Save As ดังแสดงในรูปที่ 1.16

25. ทำการตั้งชื่อไฟล์วีดีโอ และเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการบันทึกไฟล์ จากนั้นกดปุ่ม Save ก็จะได้ไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึกการสอนดังแสดงในรูปที่ 1.17 เป็นไฟล์ .wmv

2. ขั้นตอนการใช้ MS Powerpoint บันทึกการสอน

รูปที่ 2.1 หน้าต่างโปรแกรม MS powerpoint

2. โปรแกรม MS Powerpoint

1. เปิดโปรแกรม MS powerpoint

2. เปิดไฟล์ที่เราต้องการจะนำเสนอ

*หมายเหตุ: แนะนำให้ใช้โปรแกรม MS Powerpoint เวอร์ชั่น 2013 หรือ เวอร์ชั่น 365

รูปที่ 2.2 การเลือกใช้การบันทึกวีดีโอแบบสไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 2.3 หน้าต่างของการบันทึกวีดีโอแบบสไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 2.4 หน้าต่างของการบันทึกวีดีโอ ในขณะที่มีการเขียนอธิบายบนสไลด์ที่กำลังบรรยาย

รูปที่ 2.5 หน้าต่างของโปรแกรมหลังจากการบันทึกวีดีโอการสอน

รูปที่ 2.6 แสดงการปรับแต่งส่วนวีดีโอการบรรยายของผู้สอน

รูปที่ 2.7 ตัวอย่าง สไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 2.8 การสร้างวีดีโอ

รูปที่ 2.9 การเลือกขนาดความคมชัดของวีดีโอที่ต้องการสร้าง

รูปที่ 2.10 การ Save ไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึก

2.1 การบรรยายสไลด์ + เห็นหน้าผู้บรรยาย

1. จากรูปที่ 2.2 คลิกหน้าต่าง Slide Show

2. คลิกปุ่ม Record Slide Show

3. เลือก Record from Beginning ... โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสำหรับการบันทึกวีดีโอการสอน พร้อมทั้งเห็นหน้าผู้บรรยาย ดังแสดงในรูปที่ 2.3

* สำหรับในขั้นตอนที่ 3 ผู้สอนจะเป็นจะต้องตรวจสอบความพร้อมของกล้องเวปแคม และไมโครโฟนให้เรียบร้อย ก่อนเริ่มการบรรยาย

4. คลิกปุ่ม Record (ปุ่มสีแดงกลม) และรอให้เลขนับถอยหลัง 3 2 1 จบ จึงเริ่มต้นการบรรยาย

5. ผู้บรรยายสามารถเปลี่ยนหน้าสไลด์ได้ โดยการคลิกที่ตำแหน่งใดๆของสไลด์ หรือปุ่มรูปสามเหลี่ยมทางขวามือ เพื่อเปลี่ยนสไลด์

6. หลังจากเปลี่ยนหน้าสไลด์ ผู้บรรยายจะต้องเงียบเสียงรอเป็นเวลา 1-2 วินาที ก่อนเริ่มบรรยายในสไลด์ใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้โปรแกรมสามารถอัดเสียงการบรรยายได้สมบูรณ์ (ขณะเปลี่ยนสไลด์ พยายามอย่าพูด เงียบก่อนซักครู่แล้วจึงเริ่มพูด)

7. ผู้บรรยายสามารถเลือกปากกาสำหรับเขียนข้อความอธิบาย ในขณะบรรยายได้ดังแสดงในรูปที่ 2.4 (ในตัวอย่างเขียนคำว่า "test")

* ในขั้นตอนการเขียนข้อความอธิบาย สามารถหาอุปกรณ์เสริมมาช่วยให้การเขียนดีขึ้นได้ เช่น เมาส์ปากกา สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะใช้ NotePad, iPad ช่วยในการเขียนอธิบายได้

8. เมื่อต้องการหยุดการบรรยาย ให้คลิกปุ่ม STOP (ปุ่มรูปสี่เหลี่ยม ถัดจากปุ่ม Record) เพื่อหยุดการบรรยาย

9. ผู้บรรยายสามารถทำการแก้ไขบันทึกวีดีโอแต่ละหน้าของสไลด์ได้ โดยคลิกที่ปุ่ม X (Clear Recordings) และเลือกว่าจะลบการบันทึกวีดีโอในสไลด์ปัจจุบัน (Current Slide) หรือการบันทึกวีดีโอทุกสไลด์ (All Slides)

10. ต่อมาทำการปิดหน้าต่างการบันทึก โดยกดปุ่ม esc ที่คีย์บอร์ด จะได้หน้าต่างของโปรแกรมหลังจากการบันทึกวีดีโอการสอนดังรูปที่ 2.5

* จะเห็นได้ว่าวีดีโอการบรรยาย รวมถึงข้อความที่เขียนอธิบาย จะถูกแสดงขึ้นที่สไลด์ของหน้านั้นๆ

11. ผู้บรรยายสามารถปรับแก้ไขหน้าต่างของวีดีโอผู้บรรยายได้ โดยการคลิกขวาของเมาส์ที่รูปหน้าผู้บรรยายดังแสดงในรูปที่ 2.6 จะขึ้นตัวเลือกที่สำคัญดังนี้ (ที่ใช้บ่อย)

      • Style: ในส่วนนี้สามารถปรับกรอบให้กับวีดีโอผู้บรรยายได้
      • Trim: ในส่วนนี้สามารถเลือกตัดต่อวีดีโอการบรรยายส่วนหัว และส่วนท้ายของวีดีโอได้
      • สามารถเลื่อน หมุน หรือปรับขนาดของวีดีโอได้อย่างอิสระ

12. สามารถทดสอบเล่นวีดีโอการบรรยายได้โดยการคลิกปุ่ม Slide Show (เป็นปุ่มข้างล่างขวามือของหน้าต่างโปรแกรม) โปรแกรมจะแสดงตัวอย่างวีดีโอการบรรยายดังแสดงในรูปที่ 2.7

13. ผู้บรรยายสามารถทำการสร้างวีดีโอที่บันทึกไว้ได้ โดย >> คลิกที่ File >> คลิก Export ก็จะขึ้นหน้าต่าง Export ดังแสดงในรูปที่ 2.8

14. คลิกเลือก Create a Video เพื่อเข้าสู่ขั้นนตอนการสร้างวีดีโอ

15. คลิกเลือกขนาดและคุณภาพของวีดีโอที่เราต้องการสร้าง ดังแสดงในรูปที่ 2.9 โดยในที่นี้ เพื่อให้การทดสอบการสร้างวีดีโอใช้เวลาไม่นาน จึงแนะนำให้เลือกขนาดของวีดีโอที่ความสร้างเป็นแบบ Standard (480p) โดยความคมชัดจะน้อยที่สุด แต่โปรแกรมจะสามารถ render (คือการประมวลผลคำสั่งต่างๆที่เราใส่เข้าไปในวีดีโอของเรา) เพื่อสร้างวีดีโอได้รวดเร็วที่สุด

16. คลิกปุ่ม Create Video เพื่อทำการสร้างวีดีโอ จะขึ้นหน้าต่างสำหรับเลือกตำแหน่งในการ Save ไฟล์วีดีโอที่เราต้องการสร้างดังรูปที่ 2.10 โดยไฟล์วีดีโอที่จะสร้างจะเป็นแบบ MPEG-4 Video

17. รอจนกว่าโปรแกรม MS Powerpoint จะทำการ render และสร้างไฟล์วีดีโอเสร็จ ซึ่งผู้บรรยายสามารถทำการทดสอบเปิดไฟล์วีดีโอได้

รูปที่ 2.11 หน้าต่างของปุ่ม Screen Recording

รูปที่ 2.12 หน้าต่างสำหรับการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

รูปที่ 2.13 แสดงการนับถอยหลังก่อนเริ่มบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

รูปที่ 2.14 ตัวอย่างวีดีโอบันทึกหน้าจอที่ปรากฎขึ้นบนหน้าสไลด์

รูปที่ 2.15 การบันทึกไฟล์วีดีโอ

รูปที่ 2.16 การ Save ไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึก

2.2 การบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

1. จากรูปที่ 2.11 ผู้บรรยายสามารถทำการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอได้ โดยเริ่มจาก >> คลิก Insert >> คลิก Media

2. คลิกเลือกปุ่ม Screen Recording ก็จะขึ้นหน้าต่างสำหรับการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอดังแสดงในรูปที่ 2.12

3. จากรูปที่ 2.12 ทำการคลิกเลือกปุ่ม Select Area จากนั้นทำการลากเมาส์ เพื่อเลือกพื้นที่ที่ใช้ในการบันทึกหน้าจอ ซึ่งสำหรับการทดลองในครั้งนี้จะให้ลากหน้าจอทั้งหน้าจอจากมุมบนซ้ายมือสุด ลากลงมาถึงมุมล่างขวามือสุด จนพื้นที่เส้นประคลุมทั้งหน้าจอ

4. ทำการเปิดหน้าต่างของสไลด์ที่เราต้องการบรรยาย และคลิก Slide Show

5. จากนั้นทำการคลิกปุ่ม Record (ปุ่มกลมสีแดง) เพื่อเริ่มการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ โดยในที่นี้คือหน้าของสไลด์ที่ผู้บรรยายกำลังบรรยาย

6. หลังจากโปรแกรมเริ่มทำการอัดวีดีโอ โปรแกรมจะทำการนับถอยหลัง 3 2 1 ดังแสดงในรูปที่ 2.13 และเริ่มอัดเสียงผู้บรรยาย พร้อมกับสไลด์ โดยผู้บรรยายสามารถที่จะเปลี่ยนหน้าต่างใช้งานโปรแกรมอื่นๆได้อย่างอิสระ

7. ทำการคลิกปุ่ม Stop (ปุ่มสี่เหลี่ยม) เพื่อหยุดบันทึกวีดีโอหน้าจอ โดยโปรแกรมจะแสดงตัวอย่างวีดีโอที่หน้าสไลด์ที่เราเริ่มการบรรยาย ดังแสดงในรูปที่ 2.14

8. ผู้บรรยายสามารถทำการเปิดหรือลองเล่นตัวอย่างวีดีโอได้โดยกดปุ่ม Play (รูปสามเหลี่ยม)

9. เมื่อตัวอย่างวีดีโอเป็นไปตามที่ต้องการแล้ว ผู้บรรยายสามารถบันทึกวีดีโอเป็นไฟล์วีดีโอได้ (Save) ดังแสดงในรูปที่ 2.15 โดยการคลิกขวาของเมาส์ในพื้นที่ของวีดีโอ จากนั้นคลิกที่ Save Media as ..

10. เลือกตำแหน่งในการ Save ไฟล์วีดีโอที่เราต้องการสร้างดังรูปที่ 2.16

11. รอจนกว่าโปรแกรม MS Powerpoint จะทำการ render และสร้างไฟล์วีดีโอเสร็จ ซึ่งผู้บรรยายสามารถทำการทดสอบเปิดไฟล์วีดีโอได้

* สำหรับการ render ไฟล์วีดีโอในกรณีที่บันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอแบบนี้ จะใช้เวลาในการ render เร็วกว่าแบบที่บันทึกหน้าผู้สอนด้วย

3. การอัพโหลดวีดีโอขึ้น Youtube channel ของตนเอง

รูปที่ 3.1 หน้าต่างเว็ปไซต์ Youtube

รูปที่ 3.2 ขั้นตอนการสร้างช่องบนเว็ปไซต์ Youtube

รูปที่ 3.3 หน้าต่างของ Youtube channel ที่ได้สร้างขึ้น

3.1 การสร้างช่อง Youtube ของตนเอง

1. เปิดเว็ปไซต์ Youtube.com หรือกดลิ้งค์นี้ https://www.youtube.com/

2. คลิกปุ่มลงชื่อเข้าใช้ หรือปุ่มสมัคร ดังแสดงในรูปที่ 3.1 โดยใช้อีเมล vecmail.org

3. เมื่อสมัครเสร็จแล้ว ให้คลิกรูปวงกลมที่มุมขวามือของเว็ปไซต์ Youtube จะได้ดังแสดงในรูปที่ 3.2 ให้คลิกเลือกปุ่ม "สร้างช่อง" เพื่อเริ่มสร้างช่อง Youtube ของตนเอง

4. คลิกปุ่ม "เริ่มต้นใช้งาน" จากนั้นตั้งชื่อช่อง Youtube และอัพโหลดรูปสำหรับช่อง Youtube ส่วนตัวของเรา

5. ใส่ข้อมูลเท่าที่จำเป็นสำหรับช่อง Youtube จากนั้นคลิกปุ่ม Save and Continue

6. รูปที่ 3.3 แสดงหน้าต่างของช่อง Youtube ที่ได้สร้างขึ้น ซึ่งเป็น Account ของเราเองที่สมัครโดย vecmail.org

รูปที่ 3.4 หน้าต่างสำหรับอัพโหลดวีดีโอ

รูปที่ 3.5 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_1

รูปที่ 3.6 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_2

รูปที่ 3.7 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_3

รูปที่ 3.8 หน้าต่างแสดงการเผยแพร่วีดีโอ

รูปที่ 3.9 วีดีโอที่ถูกอัพโหลดขึ้นช่อง Youtube ของตนเองเรียบร้อย

รูปที่ 3.10 การทดสอบเปิดวีดีโอที่เราได้อัพโหลดวีดีโอบน Youtube channel

3.2 การอัพโหลดวีดีโอลงบน Youtube chennel ของตนเอง

1. จากรูปที่ 3.3 คลิกปุ่ม "อัพโหลดวีดีโอ" ที่อยู่มุมบนขวามือของเว็ปไซต์ Youtube หรือที่ตรงกลางของช่อง Youtube ของเรา

2. คลิกปุ่ม "เลือกไฟล์" เพื่อทำการอัพโหลดวีดีโอ ดังแสดงในรูปที่ 3.4

3. จะขึ้นหน้าต่างรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 3.5 เพื่อทำการใส่รายละเอียดที่จำเป็นสำหรับวีดีโอที่เราต้องการอัพโหลด เช่น ชื่อ, คำอธิบาย ฯลฯ

4. ทำการกรอกรายละเอียดลงมาเรื่อยๆจนกระทั่งพบข้อความที่ถามว่า "วีดีโอนี้สร้างมาเพื่อเด็กหรือไม่" ให้คลิกเลือก "ไม่ วีดีโอนี้ไม่ได้สร้างมาเพื่อเด็ก" ดังแสดงในรูปที่ 3.6 เพื่อให้วีดีโอที่เราอัพโหลดนั้น สามารถให้ผู้ชมเข้ามาคอมเมนต์ หรือกดไลค์ หรือกดแชร์ได้อย่างอิสระ

5. คลิกที่ปุ่ม "ถัดไป" สองครั้ง จนถึงหน้าต่างที่ 3 คือ ระดับการแชร์ ดังแสดงในรูปที่ 3.7 .ให้คลิกเลือก "สาธารณะ"

6. คลิกปุ่ม "เผยแพร่" เว็ปไซต์ Youtube จะแสดงหน้าต่างของวีดีโอที่เผยแพร่ดังแสดงในรูปที่ 3.8 ซึ่งในหน้าต่างนี้เราสามารถคลิกคัดลอก (copy) ลิ้งค์วีดีโอ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ หรือส่งให้กับผู้ชมได้

7. เมื่อคลิกปิดหน้าต่าง จะแสดงช่อง Youtube ของเราที่มีวีดีโออัพโหลดเสร็จแล้ว ดังแสดงในรูปที่ 3.9

8. ทำการทดสอบวีดีโอว่าอัพโหลดสำเร็จหรือไม่ โดยการคลิกที่วีดีโอ เพื่อเปิดเล่นวีดีโอการบรรยายบนเว็ปไซต์ Youtube ดังแสดงในรูปที่ 3.10