การบันทึกการสอนและสร้าง clip video

Synchronous Learning

การเรียนรู้แบบกลุ่มของผู้เรียนและผู้สอน โดยมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในเวลาเดียวกัน

โปรแกรม Zoom, True Vroom, Google Meet, Microsoft Team, Cisco Webex, Line, Facebook

Asynchronous Learning

การเรียนรู้ที่ไม่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันหรือในเวลาเดียวกัน โดยใช้ทรัพยากรที่อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล

Youtube, Loom, Google form, Google Classroom, Google site, Quizizz

#Workshop การบันทึกการสอนและสร้างคลิปวีดีโอ

1. การใช้ MS Powerpoint บันทึกการสอน

2. การใช้ oCAM บันทึกการสอน

3. การใช้ Loom บันทึกการสอน

4. การอัพโหลดวีดีโอขึ้น Youtube channel ของตนเอง

1. ขั้นตอนการใช้ MS Powerpoint บันทึกการสอน

รูปที่ 1.1 หน้าต่างโปรแกรม MS powerpoint

1. โปรแกรม MS Powerpoint

1. เปิดโปรแกรม MS powerpoint

2. เปิดไฟล์ที่เราต้องการจะนำเสนอ

*หมายเหตุ: แนะนำให้ใช้โปรแกรม MS Powerpoint เวอร์ชั่น 2013 หรือ เวอร์ชั่น 365

รูปที่ 1.2 การเลือกใช้การบันทึกวีดีโอแบบสไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 1.3 หน้าต่างของการบันทึกวีดีโอแบบสไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 1.4 หน้าต่างของการบันทึกวีดีโอ ในขณะที่มีการเขียนอธิบายบนสไลด์ที่กำลังบรรยาย

รูปที่ 1.5 หน้าต่างของโปรแกรมหลังจากการบันทึกวีดีโอการสอน

รูปที่ 1.6 แสดงการปรับแต่งส่วนวีดีโอการบรรยายของผู้สอน

รูปที่ 1.7 ตัวอย่าง สไลด์และเห็นหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 1.8 การสร้างวีดีโอ

รูปที่ 1.9 การเลือกขนาดความคมชัดของวีดีโอที่ต้องการสร้าง

รูปที่ 1.10 การ Save ไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึก

1.1 การบรรยายสไลด์ + เห็นหน้าผู้บรรยาย

1. จากรูปที่ 1.2 คลิกหน้าต่าง Slide Show

2. คลิกปุ่ม Record Slide Show

3. เลือก Record from Beginning ... โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสำหรับการบันทึกวีดีโอการสอน พร้อมทั้งเห็นหน้าผู้บรรยาย ดังแสดงในรูปที่ 1.3

* สำหรับในขั้นตอนที่ 3 ผู้สอนจะเป็นจะต้องตรวจสอบความพร้อมของกล้องเวปแคม และไมโครโฟนให้เรียบร้อย ก่อนเริ่มการบรรยาย

4. คลิกปุ่ม Record (ปุ่มสีแดงกลม) และรอให้เลขนับถอยหลัง 3 2 1 จบ จึงเริ่มต้นการบรรยาย

5. ผู้บรรยายสามารถเปลี่ยนหน้าสไลด์ได้ โดยการคลิกที่ตำแหน่งใดๆของสไลด์ หรือปุ่มรูปสามเหลี่ยมทางขวามือ เพื่อเปลี่ยนสไลด์

6. หลังจากเปลี่ยนหน้าสไลด์ ผู้บรรยายจะต้องเงียบเสียงรอเป็นเวลา 1-2 วินาที ก่อนเริ่มบรรยายในสไลด์ใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้โปรแกรมสามารถอัดเสียงการบรรยายได้สมบูรณ์ (ขณะเปลี่ยนสไลด์ พยายามอย่าพูด เงียบก่อนซักครู่แล้วจึงเริ่มพูด)

7. ผู้บรรยายสามารถเลือกปากกาสำหรับเขียนข้อความอธิบาย ในขณะบรรยายได้ดังแสดงในรูปที่ 1.4 (ในตัวอย่างเขียนคำว่า "test")

* ในขั้นตอนการเขียนข้อความอธิบาย สามารถหาอุปกรณ์เสริมมาช่วยให้การเขียนดีขึ้นได้ เช่น เมาส์ปากกา สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะใช้ NotePad, iPad ช่วยในการเขียนอธิบายได้

8. เมื่อต้องการหยุดการบรรยาย ให้คลิกปุ่ม STOP (ปุ่มรูปสี่เหลี่ยม ถัดจากปุ่ม Record) เพื่อหยุดการบรรยาย

9. ผู้บรรยายสามารถทำการแก้ไขบันทึกวีดีโอแต่ละหน้าของสไลด์ได้ โดยคลิกที่ปุ่ม X (Clear Recordings) และเลือกว่าจะลบการบันทึกวีดีโอในสไลด์ปัจจุบัน (Current Slide) หรือการบันทึกวีดีโอทุกสไลด์ (All Slides)

10. ต่อมาทำการปิดหน้าต่างการบันทึก โดยกดปุ่ม esc ที่คีย์บอร์ด จะได้หน้าต่างของโปรแกรมหลังจากการบันทึกวีดีโอการสอนดังรูปที่ 1.5

* จะเห็นได้ว่าวีดีโอการบรรยาย รวมถึงข้อความที่เขียนอธิบาย จะถูกแสดงขึ้นที่สไลด์ของหน้านั้นๆ

11. ผู้บรรยายสามารถปรับแก้ไขหน้าต่างของวีดีโอผู้บรรยายได้ โดยการคลิกขวาของเมาส์ที่รูปหน้าผู้บรรยายดังแสดงในรูปที่ 1.6 จะขึ้นตัวเลือกที่สำคัญดังนี้ (ที่ใช้บ่อย)

      • Style: ในส่วนนี้สามารถปรับกรอบให้กับวีดีโอผู้บรรยายได้
      • Trim: ในส่วนนี้สามารถเลือกตัดต่อวีดีโอการบรรยายส่วนหัว และส่วนท้ายของวีดีโอได้
      • สามารถเลื่อน หมุน หรือปรับขนาดของวีดีโอได้อย่างอิสระ

12. สามารถทดสอบเล่นวีดีโอการบรรยายได้โดยการคลิกปุ่ม Slide Show (เป็นปุ่มข้างล่างขวามือของหน้าต่างโปรแกรม) โปรแกรมจะแสดงตัวอย่างวีดีโอการบรรยายดังแสดงในรูปที่ 1.7

13. ผู้บรรยายสามารถทำการสร้างวีดีโอที่บันทึกไว้ได้ โดย >> คลิกที่ File >> คลิก Export ก็จะขึ้นหน้าต่าง Export ดังแสดงในรูปที่ 1.8

14. คลิกเลือก Create a Video เพื่อเข้าสู่ขั้นนตอนการสร้างวีดีโอ

15. คลิกเลือกขนาดและคุณภาพของวีดีโอที่เราต้องการสร้าง ดังแสดงในรูปที่ 1.9 โดยในที่นี้ เพื่อให้การทดสอบการสร้างวีดีโอใช้เวลาไม่นาน จึงแนะนำให้เลือกขนาดของวีดีโอที่ความสร้างเป็นแบบ Standard (480p) โดยความคมชัดจะน้อยที่สุด แต่โปรแกรมจะสามารถ render (คือการประมวลผลคำสั่งต่างๆที่เราใส่เข้าไปในวีดีโอของเรา) เพื่อสร้างวีดีโอได้รวดเร็วที่สุด

16. คลิกปุ่ม Create Video เพื่อทำการสร้างวีดีโอ จะขึ้นหน้าต่างสำหรับเลือกตำแหน่งในการ Save ไฟล์วีดีโอที่เราต้องการสร้างดังรูปที่ 1.10 โดยไฟล์วีดีโอที่จะสร้างจะเป็นแบบ MPEG-4 Video

17. รอจนกว่าโปรแกรม MS Powerpoint จะทำการ render และสร้างไฟล์วีดีโอเสร็จ ซึ่งผู้บรรยายสามารถทำการทดสอบเปิดไฟล์วีดีโอได้

รูปที่ 1.11 หน้าต่างของปุ่ม Screen Recording

รูปที่ 1.12 หน้าต่างสำหรับการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

รูปที่ 1.13 แสดงการนับถอยหลังก่อนเริ่มบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

รูปที่ 1.14 ตัวอย่างวีดีโอบันทึกหน้าจอที่ปรากฎขึ้นบนหน้าสไลด์

รูปที่ 1.15 การบันทึกไฟล์วีดีโอ

รูปที่ 1.16 การ Save ไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึก

1.2 การบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ

1. จากรูปที่ 1.11 ผู้บรรยายสามารถทำการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอได้ โดยเริ่มจาก >> คลิก Insert >> คลิก Media

2. คลิกเลือกปุ่ม Screen Recording ก็จะขึ้นหน้าต่างสำหรับการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอดังแสดงในรูปที่ 1.12

3. จากรูปที่ 1.12 ทำการคลิกเลือกปุ่ม Select Area จากนั้นทำการลากเมาส์ เพื่อเลือกพื้นที่ที่ใช้ในการบันทึกหน้าจอ ซึ่งสำหรับการทดลองในครั้งนี้จะให้ลากหน้าจอทั้งหน้าจอจากมุมบนซ้ายมือสุด ลากลงมาถึงมุมล่างขวามือสุด จนพื้นที่เส้นประคลุมทั้งหน้าจอ

4. ทำการเปิดหน้าต่างของสไลด์ที่เราต้องการบรรยาย และคลิก Slide Show

5. จากนั้นทำการคลิกปุ่ม Record (ปุ่มกลมสีแดง) เพื่อเริ่มการบันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอ โดยในที่นี้คือหน้าของสไลด์ที่ผู้บรรยายกำลังบรรยาย

6. หลังจากโปรแกรมเริ่มทำการอัดวีดีโอ โปรแกรมจะทำการนับถอยหลัง 3 2 1 ดังแสดงในรูปที่ 1.13 และเริ่มอัดเสียงผู้บรรยาย พร้อมกับสไลด์ โดยผู้บรรยายสามารถที่จะเปลี่ยนหน้าต่างใช้งานโปรแกรมอื่นๆได้อย่างอิสระ

7. ทำการคลิกปุ่ม Stop (ปุ่มสี่เหลี่ยม) เพื่อหยุดบันทึกวีดีโอหน้าจอ โดยโปรแกรมจะแสดงตัวอย่างวีดีโอที่หน้าสไลด์ที่เราเริ่มการบรรยาย ดังแสดงในรูปที่ 1.14

8. ผู้บรรยายสามารถทำการเปิดหรือลองเล่นตัวอย่างวีดีโอได้โดยกดปุ่ม Play (รูปสามเหลี่ยม)

9. เมื่อตัวอย่างวีดีโอเป็นไปตามที่ต้องการแล้ว ผู้บรรยายสามารถบันทึกวีดีโอเป็นไฟล์วีดีโอได้ (Save) ดังแสดงในรูปที่ 1.15 โดยการคลิกขวาของเมาส์ในพื้นที่ของวีดีโอ จากนั้นคลิกที่ Save Media as ..

10. เลือกตำแหน่งในการ Save ไฟล์วีดีโอที่เราต้องการสร้างดังรูปที่ 1.16

11. รอจนกว่าโปรแกรม MS Powerpoint จะทำการ render และสร้างไฟล์วีดีโอเสร็จ ซึ่งผู้บรรยายสามารถทำการทดสอบเปิดไฟล์วีดีโอได้

* สำหรับการ render ไฟล์วีดีโอในกรณีที่บันทึกหน้าจอทั้งหน้าจอแบบนี้ จะใช้เวลาในการ render เร็วกว่าแบบที่บันทึกหน้าผู้สอนด้วย

2. ขั้นตอนการใช้โปรแกรม oCAM บันทึกการสอน

รูปที่ 2.1 หน้าต่างเว็ปไวต์ https://ohsoft.net/

รูปที่ 2.2 หน้าต่างของโปรแกรม oCAM

รูปที่ 2.3 การตั้งค่าสไลด์ของโปนแกรม MS powerpoint เพื่อใช้งานบันทึกหน้าจอร่วมกับโปรแกรม oCAM

รูปที่ 2.4 การตั้งค่าขนาดของโปรแกรม oCAM

รูปที่ 2.5 หน้าต่างการทำงานของโปรแกรม oCAM ขณะที่เริ่มการบันทึก

รูปที่ 2.6 การเปิดไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึก

2.1 การดาว์นโหลดโปรแกรม oCAM

1. Search คำว่า Ohsoft.net หรือคลิกลิ้งค์นี้ https://ohsoft.net/ จะขึ้นหน้าต่างเว็ปไซต์สำหรับดาว์นโหลดโปรแกรม oCAM

2. คลิกปุ่ม EXE OhSoft Download เพื่อเริ่มต้นดาว์นโหลด (ถ้าโหลดด้วย Chrome อาจจะมีปัญหา ให้ทดลองดาว์นโหลดด้วย Internet Explorer หรือ web browser อื่นๆแทน)

3. ทำการรันไฟล์ เพื่อลงโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

2.2 การใช้งานโปรแกรม oCAM

1. หน้าต่างโปรแกรม oCAM จะแสดงดังรูปที่ 2.2 หลังจากที่เปิดโปรแกรม โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ 1. หน้าต่างคำสั่งของโปรแกรม และ 2. พื้นที่สำหรับการบันทึกวีดีโอ (กรอบเส้นสีเขียว)

2. ก่อนที่จะเริ่มการบรรยายทุกครั้ง ผู้บรรยายจะต้องจัดวางตำแหน่งของกรอบพื้นที่ของการบันทึก และสไลด์ที่เราต้องการจะบรรยายเสมอ โดยจะต้องตั้งค่าของสไลด์ในโปรแกรม MS powerpoint ดังนี้

    • คลิกที่ Slide Show
    • คลิกเลือกปุ่ม Set Up Slide Show
    • จากนั้นเลือกตัวเลือกที่สอง ของ Show type คือเลือก Browsed by an individual (window)
    • คลิกปุ่ม OK
    • จากนั้นกดปุ่ม Slide Show ที่มุมล่างขวามือของโปรแกรม MS powerpoint

3. สำหรับการตั้งค่ากรอบพื้นที่ในการบันทึกวีดีโอนั้น เราสามารถทำได้อย่างอิสระ โดยสามารถใช้การลากกรอบบันทึกด้วยการลากเมาส์ที่กรอบเส้นสีเขียว หรือจะใช้คำสั่งที่มีของโปรแกรม oCAM ดังแสดงในรูปที่ 2.4 โดยการเลือกคำสั่งดังนี้

    • คลิกที่ Resize บนหน้าต่างคำสั่งของโปรแกรม oCAM
    • จากนั้นเลือก Youtube เนื่องจากเป้าหมายของการสร้างวีดีโอเพื่ออัพโหลดสื่อขึ้น Youtube
    • คลิกเลือก 1280x720 (HD)

4. ทำการปรับขนาดของหน้าต่างสไลด์ของโปรแกรม MS Powerpoint ให้อยู่ภายในพื้นที่ของกรอบพื้นที่การบันทึกวีดีโอ (สีเขียว) ดังแสดงในรูปที่ 2.4

5. เมื่อการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อย สามารถกดปุ่ม Record (ปุ่มกลมสีแดง) เพื่อเริ่มการบันทึกวีดีโอ หลังจากกดปุ่มจะต้องรอจนกว่าวีดีโอเริ่มนับเวลาในการบันทึกวีดีโอ ดังแสดงในรูปที่ 2.5

6. ผู้บรรยายสามารถกดค้าง (Pause) หรือสั่งให้หยุดการบันทึกวีดีโอ (Stop) ได้ ตามหน้าคำสั่งในรูปที่ 2.5

7. เมื่อผู้บรรยายได้ทำการหยุดการบรรยายด้วยการคลิปปุ่ม Stop โปรแกรม oCAM จะทำการบันทึกไฟล์ (Save) ลงในโฟลเดอร์ของโปรแกรม oCam โดยอัตโนมัติ โดยผู้บรรยายสามารถค้นหาได้จากคำสั่ง Open เพื่อค้นหาไฟล์วีดีโอที่ได้ทำการบันทึกไว้ ดังแสดงในรูปที่ 2.6

3. ขั้นตอนการใช้โปรแกรม Loom บันทึกการสอน

รูปที่ 3.1 หน้าต่างของเว็ปไซต์ loom.com

รูปที่ 3.2 หน้าต่างคำสั่งควบคุมสำหรับการอัดวีดีโอในเว็ปไซต์ Loom

รูปที่ 3.3 ตั้งค่าหน้าสไลด์ในโปรแกรม MS powerpoint

รูปที่ 3.4 หน้าต่างสำหรับเลือกแสดงการบันทึกหน้าจอ

รูปที่ 3.5 หน้าต่างสำหรับเลือกแสดงเฉพาะหน้าต่างของโปรแกรมที่ต้องการ

รูปที่ 3.6 การจัดวางตำแหน่งของสไลด์และวีดีโอหน้าผู้บรรยาย

รูปที่ 3.7 วีดีโอการบรรยายที่ได้ทำการบันทึกไว้ในเว็ปไซค์ Loom.com ทันที

รูปที่ 3.8 หน้าต่างของโปรแกรม Loom ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์

รูปที่ 3.9 วีดีโอการบรรยายที่ถูกอัพโหลดไว้ในเว็ปไซค์ Loom.com

3.1 การใช้งานโปรแกรม Loom

1. Search คำว่า loom.com หรือคลิกลิ้งค์นี้ https://www.loom.com/my-videos จะขึ้นหน้าต่างเว็ปไซต์สำหรับโปรแกรม Loom หรือสำหรับดาว์นโหลดโปรแกรม Loom

2. ทำการสมัครโปรแกรม Loom ด้วยอีเมล vecmail.org หรือ gmail.com เพื่อสร้าง Account ในเว็ปไซต์ของโปรแกรม Loom โดยตอนสมัครให้เลือก >> Get loom for free >> As a teacher

3. เนื่องจากโปรแกรม Loom สามารถทำการอัดวีดีโอการสอนได้สองแบบ คือ

1. อัดวีดีโอบน Chrome หรือเว็ปไซต์ของ Loom.com โดยตรง ซึ่งจะต้องติดตั้ง chrome extension ใน Web browser chrome

2. อัดวีดีโอโดยการติดตั้งโปรแกรม Loom บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องดาว์นโหลด desktop app มาติดตั้งบนเครื่อง

* ในที่นี้จะสาธิตการอัดวีดีโอด้วยโปรแกรม Loom ทั้งสองกรณี

กรณีที่ 1 การอัดวีดีโอบน Chrome หรือเว็ปไซต์ของ Loom.com โดยตรง

1. หลังจากที่เราได้สร้าง Account ในเว็ปไซต์ของ Loom แล้ว จะได้หน้าต่างของเว็ปไซต์ที่เป็น Account ของเรา ดังแสดงในรูปที่ 3.1

2. คลิกปุ่ม New Video เพื่อทำการเริ่มอัดวีดีโอหน้าจอ ซึ่งจะขึ้นหน้าต่างคำสั่งใหม่ทางขวามือบนเว็ปไซต์ Loom.com ดังแสดงในรูปที่ 3.2 และจะปรากฎหน้าของผู้บรรยายในกรอบวงกลม

3. สำหรับหน้าต่างคำสั่งในการอัดวีดีโอนั้นจะสามารถทำได้ 3 โหมดการทำงานดังนี้

    • 1. โหมด Screen + Cam: คือ โหมดที่สามารถบันทึกหน้าจอและเห็นหน้าผู้บรรยายด้วย
    • 2. โหมด Screen Only: คือ โหมดสำหรับบันทึกหน้าจอเพียงอย่างเดียว
    • 3. โหมด Cam Only : คือ โหมดที่บันทึกเฉพาะหน้าผู้บรรยาย

4. ก่อนที่จะเลือกโหมดในการอัดวีดีโอ ผู้บรรยายจะต้องตั้งค่าหน้าสไลด์ในโปรแกรม MS powerpoint ก่อน ดังแสดงในรูปที่ 3.3

    • เปิดสไลด์ในโปรแกรม MS powerpoint ที่จะใช้บรรยาย
    • คลิกที่ Slide Show
    • คลิกเลือกปุ่ม Set Up Slide Show
    • จากนั้นเลือกตัวเลือกที่สอง ของ Show type คือเลือก Browsed by an individual (window)
    • คลิกปุ่ม OK
    • จากนั้นกดปุ่ม Slide Show ที่มุมล่างขวามือของโปรแกรม MS powerpoint

5. ในที่นี้จะเลือกใช้โหมด Screen + Cam ในการบันทึกวีดีโอ และคลิกปุ่ม Start Recording

6. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสำหรับเลือกว่าจะบันทึกทั้งหน้าจอดังแสดงในรูปที่ 3.4 หรือจะเปิดเฉพาะหน้าต่างของโปรแกรมดังแสดงในรูปที่ 3.5 โดยในที่นี้จะเลือกแบบบันทึกทั้งหน้าจอ (Your Entire Screen)

7. คลิกเลือก Your Entire Screen จากนั้น คลิกปุ่ม Share

8. ทำการปรับตำแหน่งของสไลด์ และวีดีโอหน้าผู้บรรยายให้เหมาะสม ดังแสดงในรูปที่ 3.6 จากนั้นเริ่มทำการบรรยาย

9. คลิกปุ่ม Stop เมื่อต้องการจบการบรรยาย

10. โปรแกรม Loom จะทำการบันทึกวีดีโอ และอัพโหลดขึ้นเว็ปไซต์ของ Loom ทันที ดังแสดงในรูปที่ 3.7 ซึ่งผู้บรรยายสามารถ copy link สำหรับแชร์วีดีโอได้ทันที

กรณีที่ 2 การอัดวีดีโอโดยการติดตั้งโปรแกรม Loom บนเครื่องคอมพิวเตอร์

11. ติดตั้งโปรแกรม Loom บนเครื่องคอมพิวเตอร์ (Destop App)

12. เปิดโปรแกรม Loom บนเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งเปิดหน้าต่างสไลด์ MS powerpoint ดังแสดงในรูปที่ 3.8

13. สำหรับหน้าต่างคำสั่งในการอัดวีดีโอนั้นสามารถทำได้ 3 โหมดการทำงานเช่นกัน ดังนี้

    • 1. โหมด Screen + Cam: คือ โหมดที่สามารถบันทึกหน้าจอและเห็นหน้าผู้บรรยายด้วย
    • 2. โหมด Screen Only: คือ โหมดสำหรับบันทึกหน้าจอเพียงอย่างเดียว
    • 3. โหมด Cam Only : คือ โหมดที่บันทึกเฉพาะหน้าผู้บรรยาย

14. หน้าต่างควบคุมของโปรแกรม Loom ได้แสดงสถานะการทำงานของกล้องและไมโครโฟน พร้อมทั้งสถานะของความเร็วอินเตอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้บรรยายว่ามีความพร้อมในการอัดวีดีโอหรือไม่ ดังแสดงในรูปที่ 3.8

15. หลังจากตั้งค่าในโปรแกรม Loom และหน้าสไลด์ที่ต้องการบรรยายแล้ว ให้คลิกปุ่ม Start Recording เพื่อเริ่มการบรรยาย

16. คลิกปุ่ม Stop เมื่อต้องการจบการบรรยาย

17. โปรแกรม Loom จะทำการบันทึกวีดีโอ และอัพโหลดขึ้นเว็ปไซต์ของ Loom ทันที ดังแสดงในรูปที่ 3.9 ซึ่งผู้บรรยายสามารถ copy link สำหรับแชร์วีดีโอได้ทันที

* สำหรับในกรณีที่อัดวีดีโอโดยการติดตั้งโปรแกรม Loom บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อทำการหยุดการบรรยายด้วยปุ่ม Stop วีดีโอจะถูกอัพโหลดขึ้นเว็ปไซต์ Loom.com ทันที แต่การ render ไฟล์วีดีโอเพื่ออัพโหลดขึ้นเว็ปไซต์นั้นจะใช้เวลานานกว่ากรณีแรกที่อัดวีดีโอบนเว็ปไซต์โดยตรง

4. การอัพโหลดวีดีโอขึ้น Youtube channel ของตนเอง

รูปที่ 4.1 หน้าต่างเว็ปไซต์ Youtube

รูปที่ 4.2 ขั้นตอนการสร้างช่องบนเว็ปไซต์ Youtube

รูปที่ 4.3 หน้าต่างของ Youtube channel ที่ได้สร้างขึ้น

4.1 การสร้างช่อง Youtube ของตนเอง

1. เปิดเว็ปไซต์ Youtube.com หรือกดลิ้งค์นี้ https://www.youtube.com/

2. คลิกปุ่มลงชื่อเข้าใช้ หรือปุ่มสมัคร ดังแสดงในรูปที่ 4.1 โดยใช้อีเมล vecmail.org

3. เมื่อสมัครเสร็จแล้ว ให้คลิกรูปวงกลมที่มุมขวามือของเว็ปไซต์ Youtube จะได้ดังแสดงในรูปที่ 4.2 ให้คลิกเลือกปุ่ม "สร้างช่อง" เพื่อเริ่มสร้างช่อง Youtube ของตนเอง

4. คลิกปุ่ม "เริ่มต้นใช้งาน" จากนั้นตั้งชื่อช่อง Youtube และอัพโหลดรูปสำหรับช่อง Youtube ส่วนตัวของเรา

5. ใส่ข้อมูลเท่าที่จำเป็นสำหรับช่อง Youtube จากนั้นคลิกปุ่ม Save and Continue

6. รูปที่ 4.3 แสดงหน้าต่างของช่อง Youtube ที่ได้สร้างขึ้น ซึ่งเป็น Account ของเราเองที่สมัครโดย vecmail.org

รูปที่ 4.4 หน้าต่างสำหรับอัพโหลดวีดีโอ

รูปที่ 4.5 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_1

รูปที่ 4.6 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_2

รูปที่ 4.7 หน้าต่างสำหรับใส่รายละเอียดของวีดีโอที่ทำการอัพโหลด_3

รูปที่ 4.8 หน้าต่างแสดงการเผยแพร่วีดีโอ

รูปที่ 4.9 วีดีโอที่ถูกอัพโหลดขึ้นช่อง Youtube ของตนเองเรียบร้อย

รูปที่ 4.10 การทดสอบเปิดวีดีโอที่เราได้อัพโหลดวีดีโอบน Youtube channel

4.2 การอัพโหลดวีดีโอลงบน Youtube chennel ของตนเอง

1. จากรูปที่ 4.3 คลิกปุ่ม "อัพโหลดวีดีโอ" ที่อยู่มุมบนขวามือของเว็ปไซต์ Youtube หรือที่ตรงกลางของช่อง Youtube ของเรา

2. คลิกปุ่ม "เลือกไฟล์" เพื่อทำการอัพโหลดวีดีโอ ดังแสดงในรูปที่ 4.4

3. จะขึ้นหน้าต่างรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 4.5 เพื่อทำการใส่รายละเอียดที่จำเป็นสำหรับวีดีโอที่เราต้องการอัพโหลด เช่น ชื่อ, คำอธิบาย ฯลฯ

4. ทำการกรอกรายละเอียดลงมาเรื่อยๆจนกระทั่งพบข้อความที่ถามว่า "วีดีโอนี้สร้างมาเพื่อเด็กหรือไม่" ให้คลิกเลือก "ไม่ วีดีโอนี้ไม่ได้สร้างมาเพื่อเด็ก" ดังแสดงในรูปที่ 4.6 เพื่อให้วีดีโอที่เราอัพโหลดนั้น สามารถให้ผู้ชมเข้ามาคอมเมนต์ หรือกดไลค์ หรือกดแชร์ได้อย่างอิสระ

5. คลิกที่ปุ่ม "ถัดไป" สองครั้ง จนถึงหน้าต่างที่ 3 คือ ระดับการแชร์ ดังแสดงในรูปที่ 4.7 .ให้คลิกเลือก "สาธารณะ"

6. คลิกปุ่ม "เผยแพร่" เว็ปไซต์ Youtube จะแสดงหน้าต่างของวีดีโอที่เผยแพร่ดังแสดงในรูปที่ 4.8 ซึ่งในหน้าต่างนี้เราสามารถคลิกคัดลอก (copy) ลิ้งค์วีดีโอ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ หรือส่งให้กับผู้ชมได้

7. เมื่อคลิกปิดหน้าต่าง จะแสดงช่อง Youtube ของเราที่มีวีดีโออัพโหลดเสร็จแล้ว ดังแสดงในรูปที่ 4.9

8. ทำการทดสอบวีดีโอว่าอัพโหลดสำเร็จหรือไม่ โดยการคลิกที่วีดีโอ เพื่อเปิดเล่นวีดีโอการบรรยายบนเว็ปไซต์ Youtube ดังแสดงในรูปที่ 4.10