กิจกรรมค่าย SALESIAN CANSAT-ROCKET 2020

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อแนะนำให้รู้จักการออกแบบและสร้างจรวดประดิษฐ์ ร่มชูชีพ และดาวเทียม CANSAT เข้าใจการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และวิธีการแบบบูรณาการกับ STEM

ตารางค่ายกิจกรรม

กติกาการแข่งขัน

(1) ทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขันแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียน 7 คน/กลุ่ม (ตั้งชื่อกลุ่ม และแบ่งหน้าที่)

(2) วัสดุสำหรับการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 โครงสร้างของตัวจรวดประดิษฐ์ ต้องประดิษฐ์จากแกนกระดาษ และสร้างครีบของจรวดด้วยกระดาษแข็ง (มีวัสดุ อุปกรณ์ ให้)

2.2 โครงสร้างของร่มชูชีพ ตัวร่มประดิษฐ์จากผ้าร่ม โดยจะใช้ไข่ไก่ใส่ในถุงร้อน เป็นตัวถ่วงของร่ม (มีวัสดุ อุปกรณ์ ให้)

(3) เงื่อนไขในการสร้าง

จะมีการอบรมและแนะนำในการออกแบบการสร้างก่อนลงมือปฎิบัติจริง

(4) กติกาสำหรับการแข่งขันกิจกรรมเหวี่ยงจรวด

4.1 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องประดิษฐ์จรวดประดิษฐ์ จากวัสดุที่คณะกรรมการเตรียมไว้ให้

4.2 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกแบบและสร้างครีบจรวด หัวจรวด เชือกสำหรับเชื่อมข้อต่อทุกส่วน

4.3 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอธิบายการออกแบบโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยจะต้องคำนวณหาตำแหน่งจุดศูนย์กลางแรงดัน (Center of Pressure: CP) จากโปรแกรม และทดสอบจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity: CG) ของจรวดประดิษฐ์

4.4 ผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าทดสอบการเหวี่ยง (Swing test) เพื่อประเมินคะแนนได้เพียง 2 ครั้ง โดยจะนับครั้งที่ได้คะแนนสูงสุด

(5) กติกาสำหรับการแข่งขันกิจกรรมไข่โดดร่ม

5.1 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องประดิษฐ์ร่มชูชีพ ไม่จำกัดรูปแบบ และขนาด จากวัสดุที่คณะกรรมการเตรียมไว้ให้

5.2 ใช้ไข่ไก่เบอร์ 1 ในถุงร้อนเป็นสัมภาระในการปล่อยร่ม โดยคณะกรรมการจะเตรียมไว้ให้

5.3 ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ปล่อยร่มด้วยตัวเอง โดยให้ตัวแทนทีมละ 1 คนเท่านั้น

5.4 แต่ละทีมสามารถโยนไข่ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยคณะกรรมการจะนับครั้งที่ได้คะแนนสูงที่สุด

5.5 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำให้การลงจอดของไข่ไก่และร่มชูชีพลงสู่พื้นที่เป้าหมายให้ได้มากที่สุด

5.6 กำหนดความสูงในการปล่อยร่มที่ระดับความสูง 15 เมตร (ตึก 6 ชั้น)

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนนทั้งหมด 100% แบ่งดังนี้

(1) ส่วนประกอบและความสมบูรณ์ของจรวดประดิษฐ์ 15%

(2) หาจุดศูนย์กลางแรงดัน (Center of Pressure: CP) จากโปรแกรม, ทดสอบจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity: CG) และการทดสอบเหวี่ยง (Swing test) ของจรวดประดิษฐ์ 20%

(3) การกางของร่มชูชีพ เวลาที่ใช้ในการปล่อยจนกระทั่งตกลงสู่พื้น และความสมบูรณ์ของไข่ไก่ โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการตกลงสู่พื้นโดยที่ไข่ไม่แตก จะได้รับคะแนนสูงสุด 20%

(4) ความแม่นยำในการลงจอดของร่มชูชีพสู่พื้นที่เป้าหมาย โดยวัดระยะห่างจากตำแหน่งเป้าหมาย 15%

(5) นำเสนอผลงานโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการออกแบบและสร้างผลงาน 20%

(6) ผลงานมีความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ 10%

คณะกรรมการ

1. อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. ผู้ทรงคุณวุฒิ

กิจกรรมไข่โดดร่ม

เป้าหมายในการตกของกิจกรรมไข่โดดร่ม

1. วงในสุด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เมตร 20 คะแนน

2. วงที่สองจากด้านใน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร 17.5 คะแนน

3. วงที่สามจากด้านใน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร 15 คะแนน

4. วงที่สี่จากด้านใน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร 12.5 คะแนน

5. วงที่ห้าจากด้านใน เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร 10 คะแนน

6. นอกขอบวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร 5 คะแนน

** ทั้งนี้หากตำแหน่งของร่มอยู่ระหว่างวงกลมสองวงจะนับวงด้านนอก

กิจกรรมเหวี่ยงจรวด

การเหวี่ยงจรวด (Swing test)

ภาพบรรยากาศกิจกรรมค่าย SALESIAN CANSAT-ROCKET 2020