Inductor

เนื้อหาสาระ

ตัวเหนี่ยวนำ  หรือขดลวดเหนี่ยวนำ  เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียกตัวเหนี่ยวนำว่า คอยล์ (COIL) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นลวดทองแดง มาพันเป็นขดมีจำนวนรอบน้อยรอบหรือมากรอบลงบนแกน ซึ่งอาจจะเป็นแกนเหล็ก แกนผงเหล็กอัด หรือไม่มีแกนก็ได้

ชนิดของตัวเหนี่ยวนำ  ตัวเหนี่ยวนำที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 6.2 แสดงสัญลักษณ์ของตัวเหนี่ยวนำ

การทำงานของตัวเหนี่ยวนำ

                               

 

 

ตัวต้านทานจะต้านทาน                          ตัวเหนี่ยวนำจะต่อต้าน

การไหลของกระแสไฟฟ้า                      การไหลของกระแสเฉพาะ

                                                                                                                    

ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

การทำงานและการใช้งานของตัวเหนี่ยวนำ จะเกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก คือ  เมื่อจ่าย   แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าให้กับตัวเหนี่ยวนำแล้วจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นที่ตัวเหนี่ยวนำ ผลของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางไฟฟ้ามากมาย  เช่น โซลีนอยส์ กระดิ่งไฟฟ้า เซอร์กิตเบรคเกอร์ และยังใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วงจรกำเนิดความถี่ (OSCILLATOR) วงจรกรองความถี่ (FILTER) อาร์เอฟโช้ก (RF CHOKE) ฯลฯ

การเกิดแรงดันไฟชักนำในตัวเอง

                 เมื่อต่อแรงดันไฟฟ้าเข้ากับขดลวดจะมีกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดและเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ ขดลวดตามรูป สนามแม่เหล็กจะสร้างเส้นของตัวประสานรอบ ๆ ขดลวด เมื่อกระแสไฟในขดลวดเกิดการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด ความเข้มของสนามแม่เหล็กจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากผลอันนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนของตัวประสานผ่านจำนวนรอบของขดลวด จะมีแรงดันไฟเกิดขึ้นในขดลวด และแรงดันไฟที่เกิดขึ้นจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟที่เกิดขึ้นในขดลวดตามกฎของเลนซ์

 

 

 

 

 

ภาพที่ 6.3 แสดงการเกิดแรงดันไฟชักนำในตัวเอง

           ค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด   ค่าความเหนี่ยวนำของขดลวดขึ้นอยู่กับ

            ค่าความเหนี่ยวนำ นอกจากเกิดจากขดลวดแล้ว ตัวต้านทานแบบทำด้วยขดลวดก็มีค่าความเหนี่ยวนำเช่นกัน เนื่องจากมีลักษณะเป็นขดลวด   เมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบเส้นลวด และตัดกับสนามแม่เหล็ก แต่เป็นค่าความเหนี่ยวนำที่เป็นเส้นลวดสั้นและตรงจึงต่ำมาก อาจเป็นเศษส่วนของไมโครเฮนรี ถ้าใช้กับวงจรที่มีความถี่สูงก็มีผลต่อวงจรเพราะจะแสดงคุณสมบัติเป็นขดลวดที่มีค่าความหน่วงเหนี่ยวได้

            ขดลวดทองแดงที่นำมาทำเป็นตัวเหนี่ยวนำ มีคุณสมบัติคือ จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน คุณสมบัตินี้เรียกว่า ค่าความเหนี่ยวนำ (INDUCTANGE) มีหน่วยวัดเป็นเฮนรี่ (HENRY) ใช้อักษรตัวย่อ H

1 เฮนรี (H)      = 1000 มิลลิเฮนรี (mH)

1 มิลลิเฮนรี        = 1000 ไมโครเฮนรี (mH)

ค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ (INDUCTIVE REACTANCE) อธิบายได้ดังนี้   ถ้าต่อตัวเหนี่ยวนำเข้ากับแบตเตอรี่ ตามรูป

 

 

 

ภาพที่ 6.4 แสดงการต่อแบตเตอรี่เข้ากับตัวเหนี่ยวนำ           

แรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากการลดลงหรือการยุบตัวของสนามแม่เหล็กเรียกว่า แรงดันต่อต้าน (COUNTER ELECTROMOTIVE FORCE) แรงดันไฟฟ้านี้จะมีผลต่อแรงดันที่ป้อนเข้าไปในขดลวด ส่วนที่สวนทางกันเรียกว่า รีแอคแตนซ์ (REACTANCE) ซึ่งเกิดจากขดลวด จึงเรียกว่าค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ

ใช้อักษรตัวแอล (L) เป็นตัวแทนค่าความเหนี่ยวนำ

ใช้อักษรตัวเอฟ (F) เป็นตัวแทนค่าความถี่

ใช้อักษรตัวเอกซ์ (X) เป็นตัวแทนรีแอคแตนซ์

            เมื่อต้องการหาค่ารีแอคแตนซ์ ที่เป็นความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ ให้ใช้ ตัวอักษร L กับตัวอักษร X คือ XL ตามสูตรของการหาค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ คือ

XL = 2pFL

            

จากสูตรนี้จะเห็นว่า ค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับจะเปลี่ยนแปลงโดยตรงกับความถี่ หรือจะพูดอย่างหนึ่งคือ ถ้าเพิ่มความถี่ของกระแสสลับเป็น 2 เท่าป้อนเข้าขดลวดค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับก็จะเป็น2 เท่าด้วยในทำนองเดียวกันค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับจะเป็นสัดส่วนโดยตรงตามค่าอินดัคแตนซ์ของขดลวด

 :   อักษรกรีกเรียกว่า พาย (p) เป็นเครื่องหมายหาค่าพื้นที่ของวงกลม ค่าพายจะมีค่าเท่ากับ 3.14 ดังนั้น 2 p จะมีค่าเท่ากับ 6.28 สูตรการหาค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับจึงเป็นดังนี้

XL = 6.28FL

เมื่อเราทราบว่า ค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับเป็นตัวจำกัดกระแสที่ไหลผ่านขดลวด ขดลวดมีค่า 1 เฮนรี อาจะมีค่าความต้านทานทางกระแสตรง 25 หรือ 30 โอห์ม ถ้าต่อขดลวดกับแรงดันไฟตรง 120 โวลต์ กระแส 4 แอมแปร์จะไหลผ่านขดลวด ถ้าใช้สูตรของการหาค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ ในขดลวดเดียวกันนี้ต่อความถี่ 50 Hz  ค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับจะได้ดังนี้

XL = 6.28 X 50 X 1 โอห์ม

ค่าความเหนี่ยวนำร่วม  เมื่อขดลวดสองขดวางไว้ใกล้กัน สนามแม่เหล็กของขดหนึ่งจะตัดกับขดลวดอีกขดหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กของขดหนึ่ง จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในอีกขดหนึ่ง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ความเหนี่ยวนำร่วม แทนด้วยอักษรตัว (M)  ความเหนี่ยวนำร่วมจะช่วยเสริมหรือหักล้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะของขดลวดทั้งสอง และจะเสริมหรือหักล้างกับตัวอื่นได้ด้วย

           ถ้าขดลวดทั้งสองวางห่างกันสนามแม่เหล็กจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อกันค่าความเหนี่ยวนำรวมจะเท่ากับผลรวมของความเหนี่ยวนำทั้งสองคือ 

                                                            LT = L1 + L2

            ถ้าขดลวดทั้งสองวางไว้ให้สนามแม่เหล็กทำปฏิกิริยาต่อกันและต่อแบบอนุกรม ค่าความเหนี่ยวนำร่วมระหว่างขดลวดจะเป็นค่ารวมทั้งหมดเท่ากับ

                                                            LT = L1 + L2 + 2M

 

 

 

ภาพที่ 6.5 การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบอนุกรม

           และถ้าต่อแล้ว สนามแม่เหล็กเกิดตรงข้ามกัน ค่าความเหนี่ยวนำร่วมจะเท่ากับ

LT = L1 + L2 - 2M

            เมื่อขดลวดต่อแบบขนานจะมีผลเช่นเดียวกับการต่อตัวต้านทานแบบขนาน เพื่อความเข้าใจให้ดูรูป

                                                                                

 

 

 

 

ภาพที่ 6.6 การต่อตัวนำแบบขนาน

            

                ขดลวด L1 และขดลวด L2 ต่อกันแบบขนาน และต่อเข้ากับไฟ 220 โวลต์ สมมติว่า ขดลวดแต่ละขดมีค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับ 220 โวลต์ หมายความว่ามีกระแส 1 แอมแปร์ ไหลผ่าน L1 และขดลวด L2 หรืออีกทางหนึ่งกระแสรวม 2 แอมแปร์ เมื่อกระแสเป็นสองเท่า ค่าความต้านทานของขดลวดต่อกระแสสลับเป็นครึ่งหนึ่ง หมายความว่า ค่าความเหนี่ยวนำร่วมในวงจรจะเป็นครึ่งหนึ่งของขดลวดแต่ละขด

การอ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ  ค่าความเหนี่ยวนำจะพิมพ์บอกไว้ 2 ลักษณะ คือ

 

 

 

 

 

ภาพที่ 6.7 แสดงรหัสสีบนตัวเหนี่ยวนำ

A = เลขตัวแรก ดูช่องแถบสีที่ 1

B = เลขตัวที่สอง ดูช่องแถบสีที่ 2

C = ตัวคูณ ดูช่องแถบสีที่ 3

ตาราง 6.1 แสดงการอ่านค่าสีของตัวเหนี่ยวนำ

 

การทดสอบตัวเหนี่ยวนำ  ขดลวดเหนี่ยวนำ โดยทั่วไปจะมีอาการเสีย อยู่ 3 ลักษณะ คือ

 

 

 

ภาพที่ 6.8 แสดงการทดสอบขดลวดเหนี่ยวนำ

 

 

 

ภาพที่ 6.9 แสดงการทดสอบการช็อตระหว่างขดลวดกับโครง

การใช้งานของตัวเหนี่ยวนำ   

           ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีตัวเหนี่ยวนำและ ค่าความเหนี่ยวนำอยู่แทบทุกวงจร เพื่อคอยชี้ทางให้สัญญาณผ่านไปตามการออกแบบของวงจรตัวเหนี่ยวนำบางตัวทำงานร่วมกับตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่รับความถี่วิทยุเข้ามาในวงจรและกันความถี่อื่นไม่ให้เข้ามาในวงจร เช่น วงจรจูน (TUNE) บางวงจรใช้ตัวเหนี่ยวนำแบบแกนเหล็ก ทำหน้าที่เป็นตัวกรองกระแสจ่ายกำลัง ซึ่งวงจรนี้จะต่อสู้อยู่ระหว่างทางออกของวงจรเรียงกระแสกับโหลดซึ่งมี 2 แบบ คือ

   

      

 

 

  

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังมีวงจรที่ใช้ตัวเหนี่ยวนำต่ออนุกรมเพื่อกันความถี่สูงเรียกว่า โลพาสฟิลเตอร์ (LOW PASS FILTER) และวงจรใช้ตัวเหนี่ยวนำต่อขนานกับโหลด เพื่อกันความถี่ต่ำและให้ความถี่สูงผ่านวงจรไปสู่วงจรอื่น เรียกว่า ไฮพาสฟิลเตอร์ (HIGH PASS FILTER)

  

 

 

 

 

 

 

บทสรุป

            ขดลวดเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง บางครั้งเรียกขดลวดเหนี่ยวนำว่า คอยล์ ขดลวดเหนี่ยวนำมี 3 แบบ คือ

          หลักการทำงานของขดลวดตัวนำก็คือ เมื่อต่อแรงดันไฟให้กับขดลวด จะเกิดกระแสไหลในขดลวดและเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ ขดลวดนั้น ขณะกระแสไฟไหลผ่านขดลวดตัวนำจะ   มีค่าความต้านทานของขดลวดตัวนำ เป็นตัวต้านทานการไหลของกระแสไฟเมื่อมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นลวดจะมีค่าความต้านทานอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าค่าความต้านทานแม่เหล็ก

                            การใช้ขดลวดตัวนำสร้างแรงดันไฟฟ้าจะต้องศึกษาและเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

            หน้าที่และคุณสมบัติของขดลวดเหนี่ยวนำ  หน้าที่ของขดลวดเหนี่ยวนำมีหลายอย่างตามคุณสมบัติและการนำไปใช้งานดังต่อไปนี้

ค่าความเหนี่ยวนำมีหน่วยเรียกเป็นเฮนรี่ (HENRY) มีหน่วยเรียกย่อยดังนี้

1000 ไมโครเฮนรี           =          1 มิลลิเฮนรี

1000 มิลลิเฮนรี                  =          1 เฮนรี

            การทดสอบขดลวดตัวนำ เมื่อเกิดความสงสัยว่าขดลวดตัวนำจะขาด สามารถทดสอบได้ด้วยโอห์มมิเตอร์ โดยทดสอบที่ปลายสายของขดลวดทีละขด ถ้าเข็มของมิเตอร์กระดิกชี้บอกค่าความต้านทานของขดลวด แสดงว่าขดลวดดี ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่กระดิกแสดงว่าขดลวดขาด

http://www2.tatc.ac.th/e-learning/story6.html