Course Outline ม.6

Hu

เอกสารปฐมนิเทศ

รายวิชาศิลปะพื้นฐาน ศ33102 สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

***************************

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อวิชา ศิลปะพื้นฐาน

1.2 รหัสวิชา ศ32102

1.3 ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

1.4 ประเภทวิชา บังคับพื้นฐาน

1.5 หน่วยกิต / ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

1.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

1.7 ครูผู้สอน ครูบุญรัตน์ แจ่มกระจ่าง

2. ความสำคัญของวิชาศิลปะพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพได้

วิชาศิลปะพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 สาระสำคัญคือ ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ซึ่งมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่างๆ

3. สาระสำคัญของสาระนาฏศิลป์

นาฏศิลป์

มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

4. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมาของละครสร้างสรรค์ องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์ พื้นฐานการแสดงละครสร้างสรรค์ แนวทางการแสดงละครสร้างสรรค์ ละครพูด เทคนิคที่ใช้ในการจัดการแสดง การประเมินคุณภาพของการแสดง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดง การจัดการแสดงในวันสำคัญของโรงเรียน ประดิษฐ์ชุดการแสดงประจำโรงเรียน การแสดงนาฏศิลป์ในโอกาสต่างๆ การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การอภิปราย การวิพากษ์วิจารณ์ การสรุปความรู้ มาจัดกิจกรรมการแสดงอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มีจิตสำนึกรักความเป็นไทย สามารถสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถนำเสนอผลงานด้านนาฏศิลป์และการละคร การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เห็นคุณค่าและความสำคัญของนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

6. กิจกรรมการเรียนการสอน

6.1 บรรยาย

6.2 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

6.3 การอภิปรายในชั้นเรียน

6.4 การนำเสนอผลงานการแสดง

7. เกณฑ์การให้คะแนน

7.1 คะแนนระหว่างภาค 60 คะแนน

7.2 คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน

7.3 คะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน

รวม 100 คะแนน

8. การตัดสินผลการเรียน

ช่วงคะแนน ระดับผลการเรียน ช่วงคะแนน ระดับผลการเรียน

0-49 0 65-69 2.5

50-54 1 70-74 3

55-59 1.5 75-79 3.5

60-64 2 80-100 4

งาน/กิจกรรม/ใบงาน

วิชาศิลปะพื้นฐาน ศ31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2/2558

*******************************

คะแนนก่อนสอบกลางภาค 30 คะแนน

1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 10 คน ตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้ชื่อนักแสดงที่นักเรียนชื่นชอบ เลือกชมการแสดงละครโทรทัศน์ตอนใดตอนหนึ่ง อภิปรายการแสดงตามหัวข้อที่ครูกำหนด ข้อคิดที่ได้จากการชม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน (10 คะแนน)

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 10 คน ตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้ชื่อของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เลือกชมการแสดงโขนพระราชทานตอนใดตอนหนึ่งในเว็บไซด์ natasintk หรือ YouTube ประเมินคุณภาพการแสดง ตามหัวข้อที่ครูกำหนดแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน (10 คะแนน)

3. ใบงานเรื่องละครสร้างสรรค์ (10 คะแนน)

คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน (สอบนอกตาราง)

เรื่องที่สอบ แสดงละครหุ่น

สิ่งที่ปฏิบัติ 1. ให้นักเรียนเขียนบทละครที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมเพื่อฝึกซ้อมละครหุ่น

2. แบ่งกลุ่ม 10 คน จัดทำหุ่นมือตามตัวละครที่กำหนด ฝึกซ้อมการแสดงละครหุ่น

**** ม. 6/13 จัดทำฉากละครหุ่น

คะแนนหลังสอบกลางภาค 30 คะแนน

เขียนบทละครสร้างสรรค์ (10 คะแนน)

การแสดงละครในรูปแบบที่ชื่นชอบตามแผนการเรียน (20 คะแนน) เช็คคะแนนจากความร่วมมือของนักเรียนในห้อง และภาพรวมของการจัดการแสดงละคร

คะแนนสมุด คำถามพัฒนากระบวนการคิดท้ายหน่วยที่ 3,6,7 โดยหาคำตอบจากในหนังสือ (คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์)

*** ท่องความสำคัญของวิชาศิลปะ (5 คะแนน)

คะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน (สอบในตาราง)

เรื่องที่สอบ หน่วยที่ 3 ละครสร้างสรรค์ และหน่วยที่ 6 เทคนิคการจัดการแสดง

ลักษณะข้อสอบ ข้อสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ข้อสอบอัตนัยจำนวน 5 ข้อ

ความสำคัญของวิชาศิลปะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้