Course Outline ม.5

เอกสารปฐมนิเทศ

รายวิชาศิลปะพื้นฐาน (นาฏศิลป์) ศ32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

***************************

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อวิชา ศิลปะพื้นฐาน

1.2 รหัสวิชา ศ32101

1.3 ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1.4 ประเภท วิชา บังคับพื้นฐาน

1.5 หน่วยกิต / ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

1.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

1.7 ครูผู้สอน ครูบุญรัตน์ แจ่มกระจ่าง

2. ความสำคัญของวิชาศิลปะพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพได้

วิชาศิลปะพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 สาระสำคัญคือ ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ ซึ่งมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่างๆ

3. สาระสำคัญของสาระนาฏศิลป์

นาฏศิลป์

มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

4. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และการละครของไทย วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครของไทยความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์และการละครไทย การแสดงนาฏศิลป์ไทยและสากลประเภทระบำ รำ ฟ้อน การแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ การละครไทย การละครสากล การแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่ การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่ หลักการสร้างสรรค์และการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และการละคร หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร บุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์และการละครของไทยใ

ยุคสมัยต่างๆ บุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์และการละครของไทยที่ควรรู้จัก และวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โดยใช้ทักษะกระบวนการวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ การตั้งเกณฑ์ การประเมิน การเปรียบเทียบ การวิจารณ์ การจัดกลุ่ม การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปใช้

เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มีจิตสำนึกรักความเป็นไทยเห็นความสำคัญของนาฏศิลป์ไทยและสากล สามารถสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถนำเสนอผลงานด้านนาฏศิลป์ การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

5. กำหนดเนื้อหารายวิชา

6. กิจกรรมการเรียนการสอน

6.1 บรรยาย

6.2 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

6.3 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

6.4 การสาธิต และการปฏิบัติท่ารำ

7. เกณฑ์การให้คะแนน

8.1 คะแนนระหว่างภาค 60 คะแนน

8.2 คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน

8.3 คะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน

รวม 100 คะแนน

8. การตัดสินผลการเรียน

งาน/กิจกรรม/ใบงาน

วิชานาฏศิลป์ ศ32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1/2559

*******************************

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นาฏศิลป์และการละครของไทย (20 คะแนน)

1.1 ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และการละครของไทย

1.2 วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครของไทย

1.3 ความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์และการละครไทย

กิจกรรม

1. แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และการละครของไทยวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครของไทย ความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์และการละครไทยและนำเสนอทีละกลุ่ม (10 คะแนน)

2. ใบงานเรื่องนาฏศิลป์และการละครของไทย (10 คะแนน)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแสดงนาฏศิลป์ไทยและสากล (30 คะแนน)

2.1 ระบำ รำ ฟ้อน

2.2 การแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ

2.3 การละครสากล

กิจกรรม

1. ปฏิบัติท่ารำเพลงลาวกระทบไม้ (10 คะแนน)

2. ร้องเพลงเต้นกำรำเคียวพร้อมท่ารำ (10 คะแนน)

3. ประดิษฐ์เคียวเกี่ยวข้าวและรวงข้าว (10 คะแนน)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่ (20 คะแนน)

3.1 ประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่

3.2 การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่

3.3 หลักการสร้างสรรค์และการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และการละคร

3.4 หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร

กิจกรรม 1. ปฏิบัติท่ารำเพลงรำวงมาตรฐาน 2 เพลง (10 คะแนน)

2. วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และละคร (10 คะแนน)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บุคคลสำคัญและวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย (10 คะแนน)

4.1 บุคคลสำคัญและวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยในยุคสมัยต่างๆ

4.2 บุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์และการละครของไทยที่ควรรู้จัก

4.3 วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรม

1. นำเสนอบุคคลสำคัญของนาฏศิลป์และการละครของไทย

2. รายงานบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละคร (10 คะแนน)

สอบปลายภาคหน่วยที่ 1-2 (20 คะแนน)

******************************************************************************************