การพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท. ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.2 วิเคราะห์กรอบการประเมินความฉลาดรู้วิทยาศาสตร์ จาก PISA 2018 Assessment and Analytical Framework

2.3 ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท.

2.4 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนาชุดการเรียนรู้

2.5 จากการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต และ ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท. ผู้รายงานได้กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละเนื้อหาในชุดกิจกรรมเพื่อกำหนดขอบเขตของแต่ละเนื้อหาแต่ละตอนในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

2.6 สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2.7 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2.8 สร้างแบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท. ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2.9 นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบ และ แบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ให้ครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้ตรวจสอบความถูกต้อง และพิจารณาความเหมาะสมด้านเนื้อหา และการนำไปใช้

2.10 นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบ และ แบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้ปรับปรุงจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้จัดการเรียนรู้กับผู้เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ทั้งในรูปแบบ Online หรือ Onsite โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.11 บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการสะท้อนผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ทราบเป็นระยะ หากมีผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะดำเนินการแก้ปัญหา โดยการกำกับ ติดตาม เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนดังกล่าวได้มาดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุง พัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเองให้ผ่านเกณฑ์