บันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement :PA)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565

Signed มณฑาทิพย์_แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1ส ปีงบ 65 ฉบับปรับปรุง 1.pdf

ประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนมักขาดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ตีความ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กล่าวคือ นักเรียนจะสามารถอ่านจับใจความได้ แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์แนวคิด คุณค่าด้านต่าง ๆ ผู้เรียนมักจะไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือยังไม่มีวิธีคิดที่เป็นระบบ ไม่มีทิศทางการคิดเป็นขั้นตอน

ครูผู้สอนตระหนักในความสำคัญของทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกและพัฒนา เนื่องจากเป็นทักษะเบื้องต้นที่จะส่งผลในการเรียนรู้ระดับต่อไป คือพูดหรือเขียนสื่อความคิดที่ได้รับจากสารต่าง ๆ อีกทั้งทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณยังเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งใน การดำรงชีวิตอยู่ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีการแพร่ข่าวสารบนสื่อออนไลน์ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อมูลข่าวสารอย่างชาญฉลาดเท่าทัน

จากสภาพปัญหาและความสำคัญของทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่กล่าวข้างต้น ทำให้ครูผู้สอนจึงพยายามศึกษา หาวิธีการ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมความรู้ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณให้สูงขึ้น ซึ่งครูผู้สอนได้เลือกการจัดการเรียนรู้ด้วย วิธี QUEST ซึ่งเป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ แต่มีความยืดหยุ่นสลับหัวข้อในการคิดได้ตามบริบทของบทความที่อ่าน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด

2.2 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์แบบ QUEST

2.3 พัฒนาและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยออกแบบกิจกรรมและใบงานให้สอดคล้องกับวิธีการคิดวิเคราะห์แบบ QUEST

2.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจำนวน 3 คน ตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา ความเหมาะสมของคำถามในใบงาน พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไข

2.5 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2.6 นำแผนการจัดการเรียน เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งอาจปรับรูปแบบการสอนในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE ให้เหมาะสมตามสถานการณ์

2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน วัดและประเมินผล วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จสิ้น

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้อง ทั้งหมด 160 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST มีผลคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องเรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST สรุปภาพรวมในระดับ มาก ขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้อง ทั้งหมด 160 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี QUEST มีความรู้และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ