ประวัติความเป็นมา

ข้อมูลด้านสาธารณสุข

ปัญหาสุขภาพประชาชน

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ระบบทุนนิยมที่ให้ความสาคัญกับการพัฒนาทางวัตถุ ก่อให้เกิดความห่างกันของบุคคลในครอบครัว สถาบันทางสังคม การดำเนินธุรกิจ ที่ขาดความรับผิดชอบ เกิดค่านิยม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอและขาดความสมดุล สภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ขาดการใส่ใจดูแลควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย เกิดความเครียด หาทางออกโดยการกินอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทำให้มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน เป็นสาเหตุหลักสำคัญทำให้เกิดโรคติดต่อเรื้อรัง แพร่ระบาดและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อันส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต มีภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล ซึ่งประเทศไทยและจังหวัดชัยนาทก็กำลังเผชิญกับปัญหาที่วิกฤติเช่นกัน ต้องประสบกับแนวโน้มปัญหาที่เพิ่มขึ้นจากโรคที่ป้องกันได้ ที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง

ข้อมูลสถานะสุขภาพ จังหวัดชัยนาทมีอัตราเกิด ในปี ๒๕๕4 มีอัตราเกิด 8.77 ต่อประชากรพันคน ในปี 2555 มีอัตราเกิดเพิ่มขึ้น 8.80 ต่อประชากรพันคน ในปี 2556 มีอัตราเกิดลดลง 7.47 ในปี 2557 มีอัตราเกิดเพิ่มขึ้น 7.82 ต่อประชากรพันคน และในปี 2558 มีอัตราเกิดลดลง 7.18 ต่อประชากรพันคน ในปี 2559 มีอัตราเกิดลดลง 6.83 ต่อประชากรพันคน ทั้งนี้พบว่า จังหวัดชัยนาท มีอัตราเกิดต่ำกว่าระดับประเทศในปี ๒๕๕4 จังหวัดชัยนาท มีอัตราตาย 8.64 ต่อประชากรพันคน และมีอัตราตายเพิ่มขึ้นในปี 2555 มีอัตราตาย 9.52 ต่อประชากรพันคน ในปี 2556 มีอัตราตาย ลดลง 9.42 ในปี 2557 มีอัตราตายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 9.47 ต่อประชากรพันคน ในปี 2558 มีอัตราตายเพิ่มขึ้น 9.54 ต่อประชากรพันคน และในปี 2559 มีอัตราตายเพิ่มขึ้น 10.33 ต่อประชากรพันคน อัตราเพิ่มตามธรรมชาติในปี 2554 จังหวัดชัยนาทมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ 0.03 ต่อมาอัตราเพิ่มตามธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2555 ซึ่งมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ -0.07 ในปี 2556 มีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ 0.20 ในปี 2557 มีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ 0.17 ในปี 2558 มีอัตราเพิ่มธรรมชาติ 0.24 และในปี 2559 มีอัตราเพิ่มธรรมชาติ 0.35 เมื่อเปรียบเทียบกับระดับประเทศ พบว่าจังหวัดชัยนาทมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติต่ำกว่า

อัตรามารดาตายจากการคลอด จังหวัดชัยนาท ปี 2552 - 2558 พบว่ามีมารดาตายจากการคลอด ในปี 2553 มีมารดาตาย จำนวน 2 รายคิดเป็นอัตรา 59.58 ต่อพันการเกิดมีชีพและในปี 2556 มีมารดาตายจากการคลอด 1 ราย คิดเป็นอัตรา 40.23 ต่อพันการเกิดมีชีพ

อัตราทารกตาย ในปี 2554 จังหวัดชัยนาทมีอัตราทารกตาย 5.11 ต่อพันการเกิดมีชีพ ต่อมาอัตราทารกตายลดลงในปี 2555 มีอัตราทารกตาย 7.51 ต่อพันการเกิดมีชีพ ในปี 2556 อัตราทารกตายเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราทารกตาย 9.25 ต่อพันการเกิดมีชีพ ในปี 2557 อัตราทารกตายลดลง 5.39 ต่อพันการเกิด มีชีพ ในปี 2558 อัตราทารกตายเพิ่มขึ้น 6.30 และในปี 2559 อัตราทารกตายเพิ่มขึ้น 6.64 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพบว่าจังหวัดชัยนาท มีอัตราทารกตายต่ำกว่า

อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชากรจังหวัดชัยนาทในปี 2548 เพศชายมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเท่ากับ 68.85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของเพศชายเพิ่มสูงขึ้นเป็น 71.53 ในปี 2558 สำหรับเพศหญิงมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในปี 2548 เท่ากับ 76.24 ปี และอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของเพศหญิงเพิ่มสูงขึ้นเป็น 77.80 ในปี 2558 พบว่า เพศหญิงมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดสูงกว่าเพศชาย ซึ่งต่ำกว่าระดับประเทศเล็กน้อย

2. แนวโน้มของสถานการณ์

2.1 โครงสร้างประชากรของจังหวัดชัยนาทมีประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 20.76 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

2.2 กระแสการเปลี่ยนแปลงและระบบทุนนิยม ส่งผลทให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต มีภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ แนวโน้มปัญหาที่เพิ่มขึ้นจากโรคที่ป้องกันได้ และพฤติกรรม ที่สคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง

2.3 ข้อมูลสถานะสุขภาพ จังหวัดชัยนาทมีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง ในปี 2559 มีอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ 0.35 ซึ่งต่ำกว่าระดับประเทศ

2.4 อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของจังหวัดชัยนาท ในปี 2558 เพศชายมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเท่ากับ 71.53 ปี เพศหญิงมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด เท่ากับ 77.80 ปี ซึ่งสูงกว่าเพศชาย อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของจังหวัดชัยนาทต่ำกว่าระดับประเทศเล็กน้อย

2.5 สาเหตุการตายของประชาชนของจังหวัดชัยนาทที่สำคัญ ในปี 2559 ได้แก่ มะเร็งทุกชนิด โดยมีอัตราตาย 124.56 ต่อประชากรแสนคน (สูงสุดได้แก่ มะเร็งตับ รองลงมามะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ และมะเร็งมดลูก) รองลงมาได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง, ปอดบวม, โรคติดเชื้อและปรสิต, และโรคหัวใจขาดเลือดฯ คิดเป็นอัตรา 87.68, 81.33, 70.14 และ 47.16 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ

3. ประเด็นปัญหาตามลำดับความสำคัญ

จังหวัดชัยนาทได้ระดมความคิดจากผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคีเครือข่ายร่วมประชุมสะท้อนข้อมูลปัญหา วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา จากการวิเคราะห์ข้อมูลตาม 4 H ได้แก่ ความรุนแรงของโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุด (High risk), การป่วยด้วยโรคที่มีผู้เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเป็นจำนวนมาก (High Volume), การเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (High cost) และความสอดคล้องของโรคที่เป็นปัญหากับนโยบายในแต่ละระดับ ได้แก่ ระดับกระทรวงสาธารณสุข ระดับเขต และระดับจังหวัด (High policy) เมื่อมีการถ่วงน้ำหนักคะแนน ในแต่ละโรค และนำมาจัดลำดับความสำำคัญของปัญหา (Priority setting) พบว่าโรคและภาวะที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สาคัญของจังหวัดชัยนาท 10 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งทุกชนิด,หลอดเลือดสมอง (Stroke) ,หลอดเลือดสมอง (Stroke) หัวใจขาดเลือด (STEMI) ,ความดันโลหิตสูง ,เบาหวาน ,วัณโรค ,อุบัติเหตุจากการขนส่ง, ไข้เลือดออก, ปอดบวม และไตวายเรื้อรัง ตามลำดับ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555-2559) ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
(กยผ.) กระทรวงสาธารณสุข อัตราการตายด้วยโรคและภาวะที่เป็นปัญหาสำคัญของประชาชนในจังหวัดต่อประชากรแสนคน ของ 10 อันดับดังกล่าวมีแนวโน้ม ดังนี้

โรคมะเร็งทุกชนิด

หลอดเลือดสมอง (Stroke)

หัวใจขาดเลือด (STEMI)

ความดันโลหิตสูง

เบาหวาน

วัณโรค

อุบัติเหตุจากการขนส่ง

ไข้เลือดออก

ปอดบวม

ไตวายเรื้อรัง