ประวัติความเป็นมา

ลักษณะดิน


จังหวัดชัยนาทมีกลุ่มชุดดินทั้งหมด 18 กลุ่ม สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 5 กลุ่ม ตามความเหมาะสมสำหรับการเกษตร ดังนี้

  1. กลุ่มดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4 และ 7 มีเนื้อที่ประมาณ 869,624 หรือประมาณร้อยละ 56.34 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนกลาง ตอนใต้และตะวันออกของจังหวัดมีลักษณะเป็นดินละเอียดเหนียว

  2. กลุ่มดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ (สับปะรด ข้าวฟ่าง อ้อย ถั่วลิสง มันสำปะหลัง และละหุ่ง) ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36,38 และ 40 และหน่วยแผนที่ 56B มีพื้นที่ประมาณ 326,587 ไร่ หรือร้อยละ 21.14 ของพื้นที่จังหวัด กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด

  3. กลุ่มดินที่เหมาะสมสำหรับพืชผักและไม้ผลไม้ยืนต้น ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36 และ 56 มีพื้นที่ประมาณ 174,142 ไร่ หรือร้อยละ 11.28 ของพื้นที่จังหวัด ดินกลุ่มนี้มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ

  4. กลุ่มดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกหญ้าหรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36,38,40,48 และ 56 มีพื้นที่ประมาณ 339,800 ไร่ หรือร้อยละ 22.00 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นพื้นที่คลื่นลอนลาดกึ่งเนินเขา

  5. กลุ่มดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเกษตร ลักษณะเป็นภูเขาและเทือกเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า ร้อยละ 35 จึงควรรักษาสภาพตามธรรมชาติไว้ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 29,455 ไร่หรือร้อยละ 1.91 ของพื้นที่จังหวัด

นอกจากลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบแล้ว ยังมีเนินเขาเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1-3 กิโลเมตร กระจายอยู่ทั่วไปที่สำคัญ ได้แก่ เขาธรรมามูล เขาพลอง เขาท่าพระ เขากระดี่ เขาไก่ห้อย เขาสารพัดดี เขาราวเทียน เขาแก้ว และเขาสรรพยา เป็นต้น