ประวัติความเป็นมา

ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งน้ำ


1. ป่าไม้ จังหวัดชัยนาทมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 2 ป่า คือ

1.1 ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดชัยนาทมีป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 2 ป่า คือ

      • ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาช่องลม และป่าเขาหลัก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 188 (พ.ศ.2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ.2481 เนื้อที่ประมาณ 54.99 ตารางกิโลเมตร หรือ 34,368.75 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลวังตะเคียน ตำบลหนองมะโมง และตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนลูกน้อย-ใหญ่ สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรัง มีไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลางพรรณไม้เด่นที่พบ ได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียน ประดู่ แดง เขว้า สวอง เสลา เต็ง รัง รกฟ้า สะเดา พฤกษ์ มะค่าแต้ มะกอกป่า โมกมัน เพกา เสี้ยว และกระถินยักษ์ โดยมีจันทร์ผาขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณหน้าผา

      • ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาราวเทียน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 406 (พ.ศ.2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เนื้อที่ประมาณ 70.34 ตารางกิโลเมตร หรือ 43,962 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลไพรนกยูง และตำบลเด่นใหญ่ อำเภอหันคา ตำบลเนินขาม ตำบลสุขเดือนห้า และตำบลกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท มีลักษณะเป็นเทือกเขาลูกยาวต่อเนื่องกัน สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และบางส่วนเป็นป่าเต็งรังพรรณไม้เด่นที่พบ ได้แก่ ประดู่ ชิงชัน มะค่าแต้ เต็ง รัง ตะแบก แดง สวอง มะกา มะม่วงหัวแมงวัน กระพี้จั่น กระโดน มะขามป้อม เปล้า โมกมัน และชงโค โดยมีไม้ไผ่รวกขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป

โดยป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 2 ป่า มีการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินป่าไม้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 และกรมป่าไม้ได้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม ทั้ง 2 ป่า ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้

ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปรายปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปรายปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยนาท ได้รับมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมจากกรมป่าไม้ จำนวน 41,354 ไร่ โดยในปี 2532 ได้กันคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพป่า และมีภาระผูกพันไม่เหมาะสมต่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกลับคืนให้กรมป่าไม้ ประมาณ 1,000 ไร่ ปัจจุบัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยนาทดำเนินการออก ส.ป.ก. 4-01 เต็มพื้นที่แล้ว คงเหลือพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ และไม่มีการบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. แต่อย่างใด (ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559)

1.2 ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ครอบคลุมเกือบทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอสรรคบุรี ดังนี้


ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปรายปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปรายปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559

1.3 ป่าชุมชน
จังหวัดชัยนาท มีพื้นป่าชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งจากกรมป่าไม้ จำนวน 54 หมู่บ้าน 50 โครงการเนื้อที่ 18,480-2-21 ไร่ โดยมีป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง หมู่ที่ 10 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาทได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย เมือวันที่ 21 ธันวาคม 2542 และป่าชุมชนแห่งนี้ ได้รับพระราชทานธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยนางสายชล พวงพิกุล ประธานเครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทองรับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งป่าชุมชนในจังหวัดชัยนาท มีกระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ (ที่มา : รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดชัยนาท (คปป.จ.) ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559) ดังนี้


ที่มา : กรมป่าไม้ ; ปี 2559

2. แหล่งน้ำธรรมชาติ

2.1 แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอสรรพยา ความยาวของแม่น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท ประมาณ 50 กิโลเมตร

2.2 แม่น้ำท่าจีน แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาที่ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ ไหลไปทางทิศตะวันตก แล้วจึงหักไหลลงไปทางใต้ เรียกว่า แม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านอำเภอวัดสิงห์ และอำเภอหันคา เข้าเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า แม่น้ำสุพรรณบุรี

2.3 แม่น้ำน้อน แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาที่ปากแพรก เหนือวัดพระบรมธาตุ ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านอำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอสรรคบุรี

2.4 บึงและหนองน้ำธรรมชาติ มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป รวมทั้งสิ้น 720 แห่ง ซึ่งแบ่งเป็นประเภท ดังนี้

  • ห้วย จำนวน 96 แห่ง

  • หนอง จำนวน 153 แห่ง

  • คลอง จำนวน 215 แห่ง

  • บึง จำนวน 64 แห่ง

  • สระ จำนวน 160 แห่ง

  • อื่น ๆ จำนวน 32 แห่ง

3. แหล่งน้ำชลประทาน

จังหวัดชัยนาทมีคลองชลประทาน ซึ่งมีหลายสายไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ คลองอนุศาสนนันท์ คลองมหาราช คลองบรมธาตุ คลองพลเทพ เป็นต้น ล้วนเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรตามพื้นที่ต่าง ๆ และมีโครงการของกรมชลประทานเข้ามาดำเนินการทั้งโครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70% ของพื้นที่การเกษตร มีโครงการชลประทานรวมทั้งสิ้น 8 โครงการ มีพื้นที่โครงการ 776,208 ไร่ ประกอบด้วย


ที่มา : สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ปี 2561 / ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2561

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก จำนวน 4 โครงการ คือ

  1. โครงการชลประทานท่าฉนวน - วัดโคก ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอมโนรมย์ จำนวน 20,188 ไร่ เป็นลักษณะการชลประทานส่งน้ำด้วยไฟฟ้า

  2. โครงการชลประทานทุ่งวัดสิงห์ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอวัดสิงห์ และอำเภอหันคาบางส่วน จำนวน 67,744 ไร่ เป็นลักษณะการชลประทานส่งน้ำด้วยไฟฟ้า

  3. โครงการเขาแก้ว ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอมโนรมย์ จำนวน 8,600 ไร่

  4. โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าของการพลังงานแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง ส่งน้ำให้พื้นที่อำเภอวัดสิงห์ หมู่ 1,2 ตำบลมะขามเฒ่า จำนวน 2,300 ไร่

ตารางข้อมูลพื้นที่ในเขต/นอกเขตโครงการชลประทานของอำเภอต่าง ๆ

ที่มา : สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ปี 2561 / ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2561

4. แหล่งน้ำใต้ดิน

จังหวัดชัยนาทมีบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1,724 บ่อ แบ่งเป็นบ่อสาธารณะ จำนวน 1,593 บ่อ และบ่อเอกชน จำนวน 131 บ่อ เฉลี่ยความลึกของน้ำบาดาลอยู่ที่ประมาณ 60 - 80 เมตร จากรายงานและแผนที่อุทกธรณีวิทยาของจังหวัดชัยนาท แสดงให้เห็นถึงปริมาณและคุณภาพของน้ำบาดาลในท้องที่ต่าง ๆ ของจังหวัด สำหรับชั้นน้ำบาดาลในจังหวัดชัยนาท สามารถสรุปได้ดังนี้

4.1 น้ำบาดาลบ่อน้ำตื้น (Qcp) เป็นชั้นบาดาลที่อยู่ระดับความลึกตั้งแต่ 15 - 20 เมตร บางแหล่งลึกถึง 30 เมตร ปริมาณน้ำอยู่ในอัตรา 200 - 300 ลิตรต่อนาที พบในบริเวณที่ลุ่มน้ำหลากทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอสรรคบุรี

4.2 น้ำบาดาลระดับลึกปานกลาง (Qcr) ชั้นน้ำบาดาลอยู่ที่ระดับลึก 45 - 100 เมตร ปริมาณน้ำบาดาล อยู่ในอัตรา 100 - 200 ลิตรต่อนาที พบส่วนใหญ่ทางตอนกลางของจังหวัด

4.3 ชั้นน้ำบาดาลในหินแข็ง (Pcms,D-Emm,Gr&Vc) จัดเป็นประเภทไม่เหมาะสมเป็นแหล่งน้ำบาดาลที่ดีเนื่องจากโอกาสเก็บน้ำจะได้ในช่องว่างที่เกิดรอยหินแตกเท่านั้น ปริมาณน้ำอัตราไม่เกิน 40 ลิตรต่อนาที