ประวัติความเป็นมา

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


สวนนกชัยนาท

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์พันธุ์นกที่ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2526 ก่อสร้างขึ้น ด้วยเนื้อที่ 50 ไร่ โดยนายกุศล ศาสนติธรรม และ ดร.ไพรัตน เตชะรินทร์ อดีตผู้วาราชการจังหวัดชัยนาทบนบริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์เชิงเขาพลอง หมู่ที่ 4 ตําบลเขาท่าพระอําเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันสวนนกชัยนาทได้มีการพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวตาง ๆ จนถึงขณะนี้ มีพื้นที่ถึง 248 ไร่เศษ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้และชื่อเสียงแก่จังหวัดชัยนาทเป็นอย่างมาก โดยมีองค์ประกอบที่ได้สร้างขึ้นให้มีสภาพเป็นธรรมชาติและองค์ประกอบทางด้านสิ่งก่อสร้าง เช่น กรงนกใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจําลองฯ พิพิธภัณฑ์ไข่นก (Egg Museum) ฯลฯ อัตราการเขาชมสวนนกชัยนาทนักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ : 30 บาท เด็ก : 15 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ : 100 บาท เด็ก 50 : บาท

กรงนกใหญ่ที่สุดในเอเชีย

เริ่มก่อสร้างขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2529 โดยแนวคิดของนายไพรัตน์ เตชะรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทในขณะนั้น โดยมีนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ซึ่งดำรงปลัดกระทรวงมหาดไทยอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์และสร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็นกรงนกเปิดขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียสำหรับการส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์นก เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์นกนานาชนิด ให้มีที่อยู่อาศัยอย่างอิสระ ในพื้นที่ลักษณะตาข่ายที่ครอบคลุมจากเชิงเขาพลองมาถึงที่ราบ ขนาดพื้นที่ 26 ไร่เศษ มีความสูง 26 เมตร กว้าง 180 เมตร ยาว 240 เมตร นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดของสวนนกชัยนาทและยังไม่ปรากฎว่าจะมีกรงนกที่มีขนาดและโครงสร้างที่ใหญ่โตขนาดนี้มาก่อนในทวีปเอเชีย

ปัจจุบัน ภายในกรงนกใหญ่ สวนนกชัยนาทแห่งนี้ ได้มีการปลูกสวนต้นไม้เพื่อสร้างเป็นป่าเพิ่มขึ้น โดยมีการจัดเป็นสวนหย่อมให้มีความสวยงามร่มรื่น ทั้งยังสร้างทางเดินทั่วกรงนกใหญ่เพื่อให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินชมนกได้อย่างใกล้ชิดและยังเพื่อเป็นการศึกษาธรรมชาติที่เป็นที่อยู่อาศัยของนก ในการนี้ สวนนกชัยนาทยังได้เพิ่มกิจกรรมการตกปลาช่อนยักษ์อะเมซอน เพื่อเป็นการสร้างความสนุกสนานและความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมสวนนกชัยนาท ให้เกิดความหลากหลายในรูปแบบของการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง ภายในกรงนกใหญ่ ทางสวนนกชัยนาทได้ปล่อยนกจำนวนมากภายในกรงนกใหญ่ อาทิ นกยูง นกเอี้ยง นกกาบบัว นกอีโก้ง ไก่ฟ้า ฯลฯ

อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้วยความตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของประชากร การปล่อยน้ำเสีย และสารเคมีเป็นพิษลงในแม่น้ำเจ้าพระยาล้วนส่งผลให้ปริมาณปลาตามธรรมชาติลดลงอย่างมากจนอาจทำให้ปลาหลายชนิดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงเริ่มก่อสร้างอาคารสถานแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2537 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และอนุรักษ์พันธุ์ปลาหายากใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์ปลาไว้รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด เขื่อนเจ้าพระยาจำลอง วิถีชีวิตคนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เรือจำลองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ฯลฯ ให้ทันสมัยและสวยงามมากขึ้น นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อันน่าภาคภูมิใจของชาวชัยนาททุกคน

ภายในอาคารสถานแสดงพันธุ์ปลาฯ ประกอบด้วยตู้ปลาเล็กจำนวน 75 ตู้ และอุโมงค์แก้ว 1 อุโมงค์ มีพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวน 102 ชนิด ประกอบด้วย ปลากินพืช จำนวน 40 ชนิด ปลากินเนื้อ จำนวน 62 ชนิด มีพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ จำนวน 12 ชนิด ได้แก่ กดดำ ตองลาย หมูอารีย์ บึก เทพา กระโห้ เสือตอ หางไหม้ ยี่สกไทย เค้าดำ นวลจันทร์ กระเบนราหู ฯลฯ เพื่อรวบรวมปลาและสัตว์น้ำจืดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อเป็นแนวทางในการปลุกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม โดยปรับปรุงจากอาคารเดิมซึ่งมีขนาดเล็กปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร
และเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี โปรดเกล้าพระราชทานนาม "อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ทางสวนนกชัยนาทเป็นอย่างมาก

ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

ได้ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2551 เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนนำมาสู่แนวคิดการจัดทำศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง สวนนกชัยนาทขึ้น โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse"

ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง สวนนกชัยนาท เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ วันที่ 10 กันยายน 2552 ภายในระยะเวลา 300 วัน ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 24,250,000 บาท มีขนาดพื้นที่อาคารกว้างโดยรวม 330 ตารางเมตร และความสูงของตัวอาคารกว่า 8 เมตร
ตัวอาคารสะดุดตาไปกับนาฬิกาแดดแบบอีควอเทอเรียลที่สามารถอ่านค่าเวลาจากเงาที่เกิดจากแสงอาทิตย์

พิพิธภัณฑ์ไข่นก (Egg Museum)

อาคารพื้นที่จัดแสดงไข่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมไข่นกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่หายากใกล้สูญพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านวงจรชีวิตของนกและสัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ อย่างครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 8,000,000 บาท เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวและเป็นการสร้างมิติแห่งการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ให้กับสวนนกชัยนาท

ภายในอาคารนี้ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงจำนวน 6 โซน ได้แก่

  1. โซนนิทรรศการประวัติไข่ เป็นพื้นที่แสดงประวัติไข่ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ รวมทั้งวิวัฒนาการของไข่ในเชิงชีววิทยาว่าก่อนจะเกิดเป็นไข่นั้น มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และในไข่มีอะไร ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร

  2. โซนนิทรรศการของดีเมืองชัยนาท เป็นการนำคำขวัญของจังหวัดชัยนาทมาเพนท์สีลงในเปลือกไข่

  3. โซนนิทรรศการเพื่อการศึกษา จัดแสดงโดยการสร้างบรรยากาศจำลองของห้องแลปวิทยาศาสตร์และห้องที่เป็นลักษณะของป่า โดยมีสัตวแพทย์เข้ามาศึกษาเรื่องราวของนก เพื่อสร้างบรรยากาศและเพิ่มความสนุกสนาน

  4. โซนนิทรรศการเพื่อความสนุกสนาน เป็นจุดแห่งการเรียนรู้โดยแฝงความบันเทิง การแสดงไข่ในรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง อาทิ ไข่ที่จับต้องได้ กล้องจุลทรรศน์ สไลด์ต่าง ๆ วิดีทัศน์ หรือตู้ฟักไข่ต่าง ๆ ฯลฯ รวมไปถึงส่วนนิทรรศการเพื่อความสนุกสนาน การแสดงไข่ในรูปแบบประติมากรรมให้ความรู้ มีที่นั่งสำหรับชมบรรยากาศรอบ ๆ พร้อมกล่องส่องทางไกล เพื่อดูนกและข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบโถงใหญ่

  5. โซนนิมรรศการแสดงไข่นานาชนิด เป็นการจัดแสดงไข่นกตั้งแต่ใบเล็กสุดที่ต้องใช้กล้องส่องจึงจะมองเห็นไปจนถึงไข่ใบใหญ่ที่สุดมาจัดแสดงไว้ในอาคาร

  6. โซนนิทรรศการวิชาการ เป็นการแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ของไข่มากมายในเชิงวิชาการ พร้อมทั้งยังมี Big Book หรือเมนูไข่หลายร้อยชนิดและประโยชน์ต่าง ๆ ของไข่ โดยเฉพาะเมนูไข่พระอาทิตย์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประกอบถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สวนน้ำอวกาศ (Space Water Park)

ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ มีสระน้ำสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ มีหุ่นยนต์ NAKA ROBOT เป็นสัญลักษณ์ของสวนน้ำ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเล่นสไลด์เดอร์ จำนวน 3 ราง และมีความสูงประมาณตึก 3 ชั้น บรรยากาศโดยรอบจำลองให้เหมือนการเดินทางอยู่ในยานอวกาศจำลอง สวนน้ำแห่งนี้ นับเป็นไฮไลท์ที่ดึงดูดให้ครอบครัวพาเด็ก ๆ มาเที่ยว จากเดิมมีเพียง สวนนก หุ่นฟางนก และสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงการจัดสวนที่สวยงาม เมื่อมีสวนน้ำเพิ่มเข้ามา เป็นการสร้างสีสันให้กับสวนนกชัยนาทอย่างมาก อัตราค่าเข้าใช้บริการ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็กที่สูงไม่เกิน 130 เซนติเมตร ราคา 15 บาท หากเด็กสูงเกิน 130 เซนติเมตร ราคา 30 บาท

หุ่นฟางนกในงานมหกรรมหุ่นฟางนกจังหวัดชัยนาท ซึ่งจังหวัดชัยนาทจะจัดงานมหกรรมหุ่นฟางนกประมาณเดิอนกุมภาพันธ์ของทุกปี

เขื่อนเจ้าพระยา

ขื่อนเจ้าพระยาเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นเขื่อนแรกของประเทศไทย ลักษณะเขื่อนมีความยาว 237.50 เมตร มีช่องระบายน้ำ 16 ช่อง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังมีทิวทัศน์สวยงามมาก เป็นเขื่อนที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ที่เขื่อนเจ้าพระยา ยังมีตลาดเจ้าพระยาแลนด์ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าปลา ของที่ระลึก ของฝาก และร้านอาหารให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเขื่อนเจ้าพระยา

เขื่อนเรียงหินกันน้ำเซาะหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท

ป็นเขื่อนกันน้ำเซาะที่ทางจังหวัดชัยนาท โดยเทศบาลเมืองชัยนาทเป็น
ผู้ดำเนินการสร้างให้มีขึ้นเพื่อป้องกันการเซาะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวชัยนาท และนักท่องเที่ยวทั่วไป มีความยาวประมาณครึ่งกิโลเมตรมีบริเวณที่สวยงามมากเพราะอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้างใหญ่ บริเวณสันเขื่อนปูหญ้า และปลูกต้นไม้อย่างเหมาะสม
โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ออกแบบให้
และทุกปีช่วงเดือนกรกฎาคม มีการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานฯ

วัดธรรมามูลวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากจังหวัดชัยนาทขึ้นไป 8 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาธรรมามูล อำเภอเมืองชัยนาท เป็นวัดเก่าที่ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดชัยนาท มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าวัดนี้สร้างในสมัยพญาลิไท
กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย) ในสมัยก่อนตรงบริเวณหน้าวัดจะเป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือของชาวชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครสวรรค์ ซึ่งเป็นงานใหญ่มากในสมัยนั้น ในพระวิหารมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ
"หลวงพ่อธรรมจักร" เป็นพระพุทธรูปยืน ในฝ่าพระหัตถ์ที่ยกขึ้น ลักษณะปางห้ามญาติ มีรูปธรรมจักรติดอยู่
แปลกกว่าพระพุทธรูปปางห้ามญาติทั่ว ๆ ไป จึงได้นามว่า "หลวงพ่อธรรมจักร" ลักษณะพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบอยุธยาผสมสุโขทัย และสิ่งที่น่าสนใจ คือ ใบเสมา ซึ่งตั้งรายล้อมรอบพระอุโบสถเป็นศิลปะทวายสีแดงสลักลวดลายต่าง ๆ เป็นศิลาแบบสมัยอยุธยา

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

ตั้งอยู่ที่บ้านท้ายเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา จากหลักฐานตามศิลปวัตถุที่ค้นพบพอสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีตำนานพื้นบ้านเล่ากันว่ามีพระภิกษุรูปหนึ่งลงไปสรงน้ำที่หน้าวัดในเวลาจวนจะพลบค่ำได้ยินเสียงวัตถุกระทบขันตักน้ำและเห็นแสงเป็นประกายจึงหยิบมาดูก็แน่ใจว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุ จึงอัญเชิญบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ยังเป็นปัญหาของนักโบราณคดีอยู่จนทุกวันนี้ บางท่านก็ว่าเป็นศิลปะแบบอู่ทอง บ้างก็ว่าเป็นศิลปะสุโขทัยที่มีอิทธิพลศิลปะศรีวิชัยผสมองค์พระเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขึ้นไปรองรับซุ้มจรนำทั้งสี่ด้าน ซุ้มนำมีลักษณะใกล้เคียงกับซุ้มจรนำที่เจดีย์วัดภูเขาทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาก นอกจากนั้นยังมีจารึกยืนยันการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ปรากฏอยู่ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหารนี้ด้วย

วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางพระเครื่อง คือ หลวงปู่ศุข ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำหรับนามมะขามเฒ่านี้มีตำนวนเล่าว่าแต่ก่อนมีต้นมะขามอายุนับร้อยปีอยู่ตรงหน้าวัดริมฝั่งตลิ่งพังต้นมะขามจึงจมหายไป
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้ก็คือ มณฑปวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นมณฑปแห่งเดียวที่มีวิธีการสร้างแปลก กล่าวคือ หลวงปู่ศุขได้ใช้วิชาอาคมขลังสร้างขึ้นอย่างถูกต้องตามวิธีการ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซม
สักการะแก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไป

ประวัติหลวงปู่ศุข

หลวงปู่ศุข นามเดิมท่านชื่อ ศุข นามสกุล เกษเวช ต่อมาลูกหลานได้ใช้เกษเวชสุริยาก็มี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า
(เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียกบ้านปากคลอง) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยมีบิดาชื่อน่วม โยมมารดาชื่อทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลนี้ มีบุตรและธิดาด้วยกัน 9 คน 1) หลวงปู่ศุข 2) นางอ่ำ
3) นายรุ่ง 4) นางไข่ 5) นายสิน 6) นายมี 7) นางขำ 8) นายพลอย 9) หลวงพ่อปลื้ม หลวงพ่อปลื้ม หลวงปู่นั้นท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร (ในสมัยนั้น) มีอาชีพทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน จึงได้มาขอหลานจากโยมหลวงปู่ศุขไปเลี้ยงสักคน โยมหลวงปู่ศุขอนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือเรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปู่ศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ 10 ขวบ เมื่ออายุได้ 25 ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระถมยาเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วยเพราะการเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลา
อย่างน้อย 2 ถึง 3 วัน จึงจะถึง เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับมาบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกวัดปากคลองชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงได้นิมนต์ให้
ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนี้ท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัดร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ยังมีพระอุโบสถและมณฑปปรากฎให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก

อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทมนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากจนถึงกับสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ในราชวงศ์จักรีได้มาทดลองดู เห็นจริงจึงได้ยอมตนมอบตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา และได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุขท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมศักดิ์เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 ไม่ปรากฏที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ 76 ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ 7 วัน 7 คืน จึงประชุมเพลิง

ปัจจุบันชาวจังหวัดชัยนาทผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อจะได้ทำการสักการะบูชาโดยทั่วกัน กรมทหารเรือเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมณฑปเมื่อ พ.ศ.2545 ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างจังหวัด หลั่งไหลมาสักการะบูชาทุก ๆ วันมิได้ขาด วัดปากคลองมะขามเฒ่าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาทต่อไป

วัดพระแก้ว

เป็นวัดโบราณสถานที่สำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี มีองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่มีความงดงาม ลักษณะเป็นเจดีย์แบบละโว้ทรงสูงผสมกับเจดีย์ทราวดี ตอนปลายฐานเรือนธาตุแบบลด ทองไม้เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยกับสมัยศรีวิชัยผสมผสาน บริเวณหน้าเจดีย์มีวิหารหลวงพ่อฉายมี "ทับหลัง" แกะสลักติดอยู่ ลักษณะเป็นภาพหงายเป็นรูปช้างมอบหงายอยู่บนแท่น ส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์ หรือพระศิวะกำลังหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ไหลถึงตัวช้างเดิมเพราะสมุทรโปร่งเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ได้พบหลวงพ่อฉาย ในสภาพชำรุดหักเป็นสามท่อนอยู่ในป่าแฝก จึงจัดทำฐานไว้ชั่วคราว และต่อมา พ.ศ.2498 ได้บูรณะซ่อมแซมให้สมบูรณ์ดังเช่นในปัจจุบันและประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าเจดีย์วัดพระแก้วเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

วัดป่าเจ้าพระยา (โคกขาม)

ดิมชื่อวัดป่า (โคกขาม) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองชัยนาท วัดป่า (โคกขาม) ประกาศตั้งวัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ปัจจุบันมีพระอธิการ ชูเกียรติ โฆสธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสวัด โดยมีหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปคู่วัดขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานบนเศียรหลวงพ่อใหญ่ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 5884 มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีฯ ฝ่ายฆราวาส และมีหลวงพ่อโสภณ โอภาโส เจ้าอาวาสวัดบึงลัฏฐิวัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

วัดป่าเจ้าพระยา มีทัศนียภาพที่สวยงาม เนื่องจากตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดกว้างขวาง บรรยากาศร่มรื่น มีแพสำหรับให้อาหารปลา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการปฏิบัติธรรม หรือพักผ่อนหย่อนใจ และมาสักการะหลวงพ่อใหญ่

วัดปทุมธาราม (หนองบัว)

วัดปทุมธาราม (หนองบัว) ตั้งอยู่ที่ 116 ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ ได้สร้างเป็นวัดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะมีหลักฐาน คือก่อน พ.ศ.2365 หลัง พ.ศ.2365 จึงมีหลักฐานอ้างอิงถึงได้ เดิมชื่อวัดหนองบัว เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีหนองน้ำและบัวหลวงอยู่มากมาย ผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมา คือ สมเด็จเจ้าเถื่อน สมเด็จเจ้าพร กับเจ้าเกิดขรัว ยายไข่ ภายหลังทาง วัดหนองบัวได้เปลี่ยนนามวัดใหม่ เพื่อให้สะดวกในการปกครองของคณะสงฆ์เป็นวัดปทุมธาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีใหม่ (เนื่องจากอุโบสถที่สร้างไว้เดิมไม่สามารถซ่อมแซมได้) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521 เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูประทุมชัยกิจ (นะ ฐิตปัญโญ) หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่าหลวงปู่นะ

หลวงปู่นะท่านได้อุทิศร่างกายและจิตใจให้กับพระพุทธศาสนาตั้งแต่
อายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หลวงปู่นะท่านได้สร้างคุณงามความดี มาตลอดตั้งแต่เป็นพระภิกษุสงฆ์ จนได้เลื่อนเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมธาราม หลวงปู่ท่านได้สร้างโรงเรียนให้กับชุมชนหนองบัว และได้สร้างพระมหาธาตุ เจดีย์เฉลิมพระเกียรติไว้ในแผ่นดินไทย เพื่อประดิษฐ์สถานเป็นที่ตั้งของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกะพุทธเจ้า และพระอรหัน เพื่อเป็นที่กราบสักการะของคนไทยและคนต่างประเทศ ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติของพระบรมสารีริกธาตุต่าง ๆ แก่ผู้ที่สนใจในการต่อไป

วัดมหาธาตุ (วัดหัวเมือง)

ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี เป็นศาสนสถานสำคัญของเมืองโบราณแพรกศรีราชา ซึ่งเป็นเมืองโบราณริมฝั่งแม่น้ำน้อย ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เจริญสูงสุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และคงอยู่ ต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน วัดมหาธาตุ เดิมเรียกว่า วัดหัวเมือง หรือวัดศรีษะเมือง สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1897 รัชสมัยพระเจ้าธรรมราชาลิไท (พระญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย แต่มาเจริญรุ่งเรืองสมัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยตอนหักโค้งไปทางทิศตะวันออก มีบริเวณพื้นที่ด้านหน้าเรียกว่า "หน้าพระลาน" เช่นเดียวกับบริเวณศูนย์กลางของเมืองใหญ่ทั้งอยุธยา และกรุงเทพมหานคร จึงน่าจะเป็นศูนย์กลางของเมืองแพรกศรีราชามาแต่โบราณ

วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 19-20) เป็นอย่างน้อย ประกอบด้วย พระอุโบสถ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพระเจดีย์ ซึ่งปรากฏเหลือเพียงส่วนฐานรูปสี่เหลี่ยมสูงซ้อนกันหลายชั้น เป็นประธานของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออกล้อมรอบด้วยระเบียงคด ซึ่งมีร่องรอยการก่อสร้างขยายออกไปล้อม พระวิหารเก่าทางด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นอาคารขนาดเก้าห้อง เหลือเพียงฐานเสาแปดเหลี่ยมยอดบัวจงกลม และผนังบางส่วนภายในโดยรอบ ระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูป ที่กึ่งกลางระเบียงคดด้านทิศตะวันตดประดิษฐาน หลวงพ่อหมอ หรือหลวงพ่อหลักเมือง เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างเมืองสรรค์ที่สมบูรณ์องค์หนึ่ง ได้รับการบูรณะเมื่อปีพุทธศักราช 2471 ขนาดพระเพลา 2.20 เมตร จากพระเพลาถึงพระเกตุมาลา 2.30 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหาร หันพระพัตรสู่ทิศตะวันตก ที่เรียกหลวงพ่อหลักเมือง หรือหลวงพ่อหมอ นั้นเป็นเนมิตกนาม คือพระนามที่เกิดขึ้นตามเหตุที่ประชาชนเรียกกันมาแต่โบราณ เพราะเหตุประชาชนในถิ่นนั้น เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาด้วยเหตุใดก็ตาม จะพากันขอน้ำมนต์ไปรักษา ทั้งคนและสัตว์ หรือบางทีก็บนบานศาลกล่าว เมื่อมีเหตุขัดข้องนา ๆ ประการตามความเชื่อ

นอกจากนี้ยังมี เจดีย์รายรูปทรงต่าง ๆ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือนอกระเบียงคด ที่สำคัญ คือ เจดีย์กลีบมะเฟืองประดับรูปเทพพนม มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง สี่ทิศ รูปแบบอิทธพลปรางค์กลีบมะเฟืองที่เมืองลพบุรี กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง สิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชัยนาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2530 สมัยที่ ดร.ไพรัตน์ เตชะรินทร์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 1,704,880 บาท โดยมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมมือร่วมใจในการรณรงค์เพิ่มเติม ได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2538

และในปี พ.ศ.2550 ดร.ประภากร สมิติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทได้มีพิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองชัยนาท เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2550 เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี พิธีเปิดศาลหลักเมืองชัยนาท และเป็นปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา

ศาลหลักเมืองเป็นสถาปัตยกรรมที่กรมศิลปากร ได้ออกแบบเป็นแบบยอดปราสาทมีความสูงจากพื้นดินถึงยอดพุ่มทองแดง 21.38 เมตร ขนาดของตัวศาล 9.90/9.90 เมตร และมีขนาดครอบรั้วศาล 18/20 เมตร เสาหลักเมืองทำด้วยได้ชัยพฤกษ์ตั้งอย่างงามสง่า บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุนี

เป็นพิพิธภัณฑ์สถานประจำจังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมืองชัยนาท พระชัยนาทมุนี (นวม) อดีตเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท ได้รวบรวมโบราณวัตถุศิลปวัตถุในท้องที่จังหวัดชัยนาทไว้เป็นอันมาก ต่อมาได้มอบสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดแก่กรมศิลปากร กรมศิลปากร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นโดยให้นามว่า "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุนี"

เขาสรรพยา

เขาสรรพยามีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เรื่องรามเกียรติ สภาพการณ์เป็นเขาลูกเล็ก ๆ อยู่ทางด้านทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอสรรพยา อยู่ห่างจากตำบลสรรพยาเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดชัยนาทขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางตอนหนึ่งว่า
เมื่อพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ ของกุมภกรรณหนุมาน ซึ่งเป็นทหารเอกได้ขันอาสามาเอาตัวยาชื่อ "สังกรณี" และ "ตรีชวา" ณ เขาสรรพยาแห่งนี้เพื่อนำไปบดเป็นกษัยผสมกับน้ำในแม่น้ำปัญจมหานทีเพื่อใช้เป็นยาพอก ซึ่งจะทำให้หอกโมกขศักดิ์หลุดจากตัวพระลักษณ์

ลักษณะความสวยงามและทิวทัศน์ของเขาสรรพยา ขึ้นไปตามบันไดขึ้นเขาราว 200 ขั้น จะพบกับรูปหนุมานซึ่งเป็นรูปปั้นแกะสลักจากหินขนาดใหญ่ และมีถ้ำน้ำมนต์ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อขึ้นไปบนเขามองลงมาจากข้างบน จะเห็นทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของท้องทุ่ง และบริเวณรอบ ๆ มีต้นไม้โดยเฉพาะต้นตาลขึ้นเรียงรายดูสวยงาม

วัดเทพหิรัณย์ (วัดหนองทาระภู)

ตั้งอยู่เลขที่ 999 บ้านหนองทาระภู หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 44 ไร่ งาน 68 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 3 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2537 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 29 เมตร ยาว 79 เมตร
วัดเทพหิรัณย์ เดิมชื่อว่า วัดหนองทาระภู เริ่มก่อสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2509 ใช้ชื่อว่าสำนักสงฆ์หนองทาระกูตามชื่อหมู่บ้าน ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2521 และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดในปีเดียวกัน ขอตั้งวัดจากชื่อหนองทาระกู เป็นหนองทาระภู

เจ้าอาวาสวัดรูปแรก พระสุนทร สิริจันโท ต่อมา พ.ศ.2533 ชาวบ้านได้อาราธนาพระชวลิต ชวโร ซึ่งปัจจุบันเป็น ดร.พระครูไพศาลชัยกิจ (เทพหิรัณย์ มหามงคลรัฐ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพหิรัณย์ และเจ้าคณะตำบลบ้านเชี่ยน เหตุที่เรียก "หลวงปู่ฤๅษีตาไฟ" เนื่องจากท่านเป็นพระที่เคยเป็นร่างทรงของฤๅษีตาไฟแล้วป่วยมาตลอด จึงได้อธิษฐานจิตบวชเรียนในพุทธศาสนาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ภายในบริเวณวัดมีความร่มรื่น สะอาด มีเรือนเทวดาไว้ให้ผู้เลื่อมใสมากราบไหว้ และว่ากันว่าใครมาจุดธูปขออะไรที่องค์ฤๅษีตาไฟจะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งความเชื่อในเรื่องนี้ ทำให้หลวงปู่เป็นที่เคารพ ศรัทธา และมีลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศในทุกวงการ

วัดวิจิตรังสิตาราม (วัดห้วยซุง)

ตั้งอยู่ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมานานคู่กับบ้านห้วยซุง จึงได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน จากนั้นมรการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดวิจิตรังสิตาราม ไม่มีหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน มีเพียงคำบอกเล่าจากปู่ย่าตายาย ที่เล่าต่อกันมาว่า วัดห้วยซุงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.25481 ขึ้นทะเบียนวัดเมื่อปี พ.ศ.2484 สร้างโดยพระครูประดิษฐ์ ไชยการ (หลวงพ่อพุก) และเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก จากนั้นก็มีเจ้าอาวาสครองวัดต่อมาอีกหลายองค์จนถึงปัจจุบัน
การสร้างโบสถ์และถาวรวัตถุต่าง ๆ เกิดขึ้นในสมัยหลวงปู่เทียบ เดิมทีกลางวัดมีแอ่งน้ำขัง หลวงปู่เทียบจึงได้ริเริ่มสร้างศาลายกใต้ถุนสูงโดยให้มีพื้นด้านล่างขุดเป็นสระน้ำ คนที่ออกแบบศาลาได้ออกแบบให้
มี 3 ชั้น เพื่อเพิ่มประโยชน์ในการใช้สอย โดยเป็นทั้งศาลาและโบสถ์ในหลังเดียวกัน แบ่งเป็นโบสถ์และศาลาคนละชั้น ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างศาลากับโบสถ์แบบแยกกัน สระน้ำขนาดใหญ่เป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ ทางวัดห้ามนำปลาหรือสัตว์น้ำมาปล่อยเพราะเป็นบริเวณน้ำขังไม่อยากให้น้ำเน่าเสีย
ที่มาของอุโบสถมหัศจรรย์ของโลก เกิดจากดำริของพระครูโสภณสีลวัตร หรือหลวงปู่เทียบ ที่จะสร้างอุโบสถเพื่อใช้ประดิษฐานหน้าบันอุโบสถด้านหน้าและหลัง นำรายละเอียดของดวงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน มาประดิษฐานไว้บนผนังด้านหลังอุโบสถเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อุโบสถหลังนี้ได้ตั้งอยู่กึ่งกลางเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุรายล้อมด้วยต้นไม้ประจำทวีปทั้ง 4 ตามหลักพุทธศาสนา อนึ่ง วันที่ 13 ธันวาคม 2542 องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก