ประวัติความเป็นมา

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของจังหวัด และประชาชน


โครงสร้างเศรษฐกิจ

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยนาทเป็นที่ราบลุ่มแม่น้า มีแม่น้ำสาคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย จึงเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ดังนั้น ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จึงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการพาณิชย์ ประมาณร้อยละ 6 ด้านการอุตสาหกรรมและการหัตถกรรมประมาณร้อยละ 3 ในส่วนของการผลิตด้านการเกษตรนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของจังหวัดและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยนาท ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและยังทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าว ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ซึ่งจะพบว่าถ้าปีใดที่ผลผลิตทางการเกษตรดีเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดก็จะดีขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากปีใดผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาผลผลิตตกต่ำ ก็จะส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดชัยนาทซบเซาตามไปด้วย ทั้งนี้ จังหวัดชัยนาท มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) และรายได้เฉลี่ยต่อคน ดังนี้ (ที่มา : รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดชัยนาท ประจำปี 2562)

มูลค่าผลิตภัณฑ์หลักของจังหวัดชัยนาท

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชัยนาท ภาคการเกษตร โดยในปี 2558 ณ ราคาประจาปี มีมูลค่าเท่ากับ 6,004 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.82 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด โดยมีมูลค่าลดลงจากปี 2557 ร้อยละ 38.98 โดยในปี 2557 มีมูลค่า 9,839 ล้านบาท เนื่องจากภาคเกษตรประสบปัญหาภัยแล้ง ปริมาณน้ำ ไม่เพียงพอต่อการเกษตร ประกอบกับรัฐบาลรณรงค์ ให้งดทำนาปรังส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวลดลง ในส่วนของ นอกภาคการเกษตร ในปี 2558 ผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี มีมูลค่าเท่ากับ 19,337 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 67.06 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 1.79 เนื่องจากผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาอุตสาหกรรม ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่าเท่ากับ 4,248 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 4,123 ล้านบาท ร้อยละ 3.02 รองลงมาคือผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการขายส่งการขายปลีกฯ ซึ่ง ณ ราคาประจาปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่าเท่ากับ 3,260 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.31 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 3,029 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.63 เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นส่งผลให้การใช้จ่ายภายในจังหวัดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย (ที่มา : รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดชัยนาท ประจำปี 2562)

การเกษตรกรรม

การปลูกเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัดชัยนาท

ข้าว

จังหวัดชัยนาทเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สําคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทยและในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยามีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ปี 2562/63 จํานวน 848,728 ไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จํานวน 521,647 ไร่ เกษตรกรสามารถปลูกได้ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง การปลูกข้าวนาปี อาศัยน้ําฝนตามธรรมชาติและน้ําชลประทาน ส่วนนาปรังเกษตรกรจะอาศัยน้ําจากแหล่งน้ําชลประทานและแหล่งน้ําอื่น ๆ จึงทําให้เกษตรกรบางส่วนสามารถปลูกข้าวได้ 2 - 3 ครั้งต่อปี

ในการจัดเก็บข้อมูลจะจําแนกข้าวนาปี และข้าวนาปรัง จากวันปลูก โดยข้าวนาปีคือข้าวที่ปลูกในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม และข้าวนาปรังคือข้าวที่ปลูกในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 30 เมษายนของปีถัดไป เป็นผลทําให้สถิติการเก็บข้อมูลการปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรังมีพื้นที่ไม่แน่นอนอันเกิดจากการเหลื่อมระยะเวลาของการปลูกและการเก็บเกี่ยวข้าวในแต่ละเดือนที่มีตลอดทั้งปี

ประเภทการทำนา

เกษตรกรจังหวัดชัยนาททั้งหมดปลูกข้าวโดยการหว่าน ส่วนใหญ่หว่านน้ําตม มีบางส่วนหว่านแบบสํารวย หากแบ่งเป็นทําตามฤดูกาลแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

การทํานาปหรือนาน้ําฝน คือ การทํานาที่ตองอาศัยน้ําฝนจากธรรมชาติเปนหลัก โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแตเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน สําหรับในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานที่สามารถ รับน้ําไดจากแหลงน้ําธรรมชาติ จะใชพันธุาวไมมีความไวตอชวงแสง แตาเปนพื้นที่นอกเขตชลประทานสวนใหญจะเปนขาวหอมจังหวัด (ขาวขาวดอกมะลิ 105) และพันธุาวไมไวตอชวงแสงอื่น ๆ

การทํานาปรัง หรือนาครั้งที่สอง หรือนานอกฤดู หรือนาน้ําตม คือการทํานาที่ไมไดอาศัยน้ําฝนจากธรรมชาติเปนหลัก แตอาศัยน้ําจากลําหวย หนอง คลองบึง น้ําใตดิน หรือน้ําจากคลองชลประทาน พันธุาวที่ปลูกเปนพันธุาวอายุสั้นหรือเกษตรกรเรียกวา “พันธุาวเตี้ย” ไมมีความไวตอชวงแสง กลาวคือ ขาวจะออกดอกติดรวงขาวและเก็บเกี่ยวไดตามอายุ ระยะเวลาการเพาะปลูกและอายุการเก็บเกี่ยวนอยกวาขาวนาป การทํานาปรังจะใชวิธีหวานน้ําตมเปนสวนมาก

พืชไร่

จังหวัดชัยนาทนอกจากจะมีการปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักแล้วพื้นที่บางส่วนของจังหวัดซึ่งเป็นที่ดอนและอยู่นอกเขตชลประทาน เช่น พื้นที่ในเขตอําเภอหนองมะโมง อําเภอเนินขาม และพื้นที่บางส่วนของอําเภอหันคา อําเภอมโนรมย์ และอําเภอวัดสิงห์ โดยในพื้นที่ดอนเหล่านี้เกษตรกรนิยมปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยโรงงานมันสําปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวผิวมัน ฯลฯ รายละเอียดการปลูกพืชไร่ ดังนี้

อ้อยโรงงาน

จังหวัดชัยนาทปลูกมากในเขตพื้นที่ราบสูง ได้แก่ อําเภอหันคา อําเภอสรรคบุรี อําเภอวัดสิงห์อําเภอเนินขาม และอําเภอหนองมะโมง การตลาดอ1อยโรงงานเป็นสินค้าที่ต้องป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อแปรรูปเป็นน้ําตาลทราย เกษตรกรที่ปลูกอ้อยจึงต้องขายอ้อยให้กับโรงงานน้ําตาลทราย สําหรับในเขตจังหวัดชัยนาทเกษตรกรส่วนใหญ่จะขายผลผลิตให้กับโรงงานผลิตน้ําตาลทรายในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรีเนื่องจากในจังหวัดชัยนาทยังไม่มีโรงงานผลิตน้ําตาลทราย ส่วนราคาซื้อขายนั้นก่อนที่จะปลูกเกษตรกรจะต้องทําสัญญากับโรงงานน้ําตาล โดยกําหนดราคาขั้นต่ําเป็นการประกันให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ

มันสำปะหลัง

เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัดชัยนาทอีกชนิดหนึ่ง ปลูกมากในท้องที่อําเภอหันคา อําเภอเนินขาม อําเภอหนองมะโมง เนื่องจากเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับจังหวัดทางภาคตะวันออกและภาคะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งผลิตมันสําปะหลังอยู่แล้ว พื้นที่ปลูกของจังหวัดชัยนาทถือว่าอยู่ในระดับต่ํา โดยเฉลี่ยมีพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังประมาณแสนกว่าไร่ เกษตรกรจะเริ่มปลูกเมื่อมีฝนตกลงมาในช่วงเดือนเมษายนหรือต้นฝน ความคลาดเคลื่อนของพื้นที่ปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวอาจแตกต่างบ้าง โดยเกษตรกรมีการใช้พันธุ์มันสําปะหลังพันธุ์ส่งเสริมซึ่งสํานักงานเกษตรจังหวัดและสํานักงานเกษตรอําเภอได้จัดทําโครงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ใช้มันสําปะหลังพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร และมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อย

ผลผลิตมันสําปะหลังของจังหวัดชัยนาท ส(วนใหญ(จะถูกขายให1กับลานมันในจังหวัด เพื่อทําเปนมันเสน โดยขายในลักษณะหัวมันสําปะหลังสด ระดับราคาหัวมันสําปะหลังที่ลานมันรับซื้อจะขึ้นกับราคามันเสนที่ผูงออกรับซื้อเปนหลัก การซื้อขายหัวมันสดลานมันจะใชวิธีหักหัวมันและประมาณเอรเซ็นตแปงในหัวมันอยางไรก็ตาม โดยภาพรวมแลวราคาหัวมันสําปะหลังจะสูงหรือต่ําขึ้นอยูกับปริมาณความตองการของตลาดตางประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปเปนสําคัญ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลูกมากในเขตพื้นที่ราบสูงอาศัยน้ําฝนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อราคาดีเท่านั้น ดังนั้นพื้นที่ปลูกในแต่ละปีจึงมีจํานวนไม่แน่นอน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับราคาพืชไร่ชนิดอื่นประกอบด้วย พันธุ์ที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวโพดพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงและต้านทานโรคและแมลงได้ โดยจังหวัดชัยนาทมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอหนองมะโมง

ส้มโอขาวแตงกวา

ส้มโอขาวแตงกวาเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้แก่เกษตรกรจังหวัดชัยนาทมาเป็นเวลานาน ดังปรากฏในคําขวัญจังหวัดชัยนาทที่ว่า “หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา” เนื่องจากมีรสชาติอร่อย กุ้งโต เนื้อแห้งกรอบ รสหวานอมเปรี้ยว ส้มโอขาวแตงกวาปลูกในพื้นที่จังหวัดชัยนาท มีรสชาติอร่อยกว่าปลูกถิ่นอื่น อาจจะเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศและสภาพของดินในจังหวัดชัยนาทเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์และมีแร่ธาตุของดินที่เหมาะแก่การปลูก
ส้มโอขาวแตงกวา ความหวานประมาณ 10-12 บริกซ์ แต่เนื่องจากได้มีการปลูกส้มโอกันมานานแล้ว จึงประสบกับปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพผลผลิตลดลง สาเหตุที่สําคัญเกิดจากคุณภาพดินเสื่อมโทรมขาดการปรับปรุงบํารุงดิน มีแมลงศัตรูพืชระบาด

จจุบันพื้นที่ปลูกสมโอขาวแตงกวาของจังหวัดชัยนาท มีทั้งหมด 1,719.50 ไร จํานวนเกษตรกร 538 ราย ผลผลิตประมาณ 2,540.44 ตัน สมโอจะออกดอกติดผลตลอดทั้งป โดยทั่วไปแลวจะออกดอกและติดผลในปริมาณมากอยู 2 ชวง ไดแก ดอกที่ออกระหวางเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม จะเก็บเกี่ยวชวงเดือนสิงหาคมกันยายน เรียกวา “สมป” และดอกที่ออกระหวางเดือนสิงหาคม - กันยายน จะเก็บเกี่ยวในชวงระหวางเดือนมีนาคม - เมษายน เรียกวา “สมทวาย” ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 40 – 70 ผล/ตน/ป แลวแตอายุของสมโอ

การตลาดส้มโอขาวแตงกวาในจังหวัดชัยนาท ส่วนใหญ่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงสวน และนิยมรับประทานสดมากกว่าแปรรูป โดยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งในปัจจุบันส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) จึงทําให้เป็นที่เชื่อมั่น และได้รับการยอมรับในคุณภาพจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลายมากขึ้น

การปศุสัตว์

ในปี 2563 จังหวัดชัยนาท มีเกษตรกรประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์ จํานวน 18,768 ครัวเรือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่มากที่สุด รองลงมาได้แก่การเลี้ยงเป็ด โคเนื้อ และสุกร
ตามลําดับ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2563)

โคเนื้อ

การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กําไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จํานวนมาก เช่น แม่โคควรสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทํากําไรได1ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดูให้อาหารเหมาะสมกับความต1องการของโคระยะต่าง ๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

การเลี้ยงแมโคเนื้อที่จะใหผูเลี้ยงไดกําไรตอบแทนมากจะตองเริ่มตั้งแตการเลือกพันธุโคที่จะเลี้ยงใหเหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงคที่จะเลี้ยง เชน ลูกที่ผลิตไดจะสนองความตองการของตลาดประเภทใด

พันธุโค โคเนื้อมีหลายพันธุ ซึ่งพันธุที่มีอยูอนขางแพรหลายในประเทศไทยที่สามารถหาซื้อใชทําพันธุได ดังนี้ โคพื้นเมือง โคพันธุบราหมัน โคพันธุชารโรเล โคพันธุซิมเมนทัล โคพันธุตาก โคพันธุกําแพงแสน โคพันธุกบินทรบุรี โคพันธุเดรามาสเตอร และโคพันธุฮินดูบราซิล

ผลผลิตจากการเลี้ยงแมโคเนื้อคือลูกโค การที่จะจําหนายลูกโคไดขึ้นอยูาตลาดมีความตองการหรือไม พันธุโคที่เลี้ยงจะตองสนองวัตถุประสงคที่ตลาดตองการ วาเลี้ยงเพื่อผลิตโคพันธุแท เลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคขุนและเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงคอื่นๆ

กระบือ

กระบือนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อระดับเกษตรกรรายย่อยในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรตที่มีการเพาะปลูก

ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ จํานวน 1,033 ราย มีจํานวน 14,328 ตัว กระบือที่เลี้ยงส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์พื้นเมือง โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงกระบือมากที่สุดที่อําเภอหนองมะโมง จํานวน 6,660 ตัว (เกษตรกรจํานวน 524 ราย) รองลงมาได้แก่ อําเภอหันคา จํานวน 3,423 ตัว (เกษตรกร 185 ราย) และอําเภอวัดสิงห์จํานวน 3,090 ตัว (219 ราย) ซึ่งตามยุทธศาสตร์กระบือของกรมปศุสัตว์ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ได้สร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์และพัฒนาให้มีการเลี้ยงกระบือเพิ่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้เลี้ยงกระบือ และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกระบือของเกษตรกร โดยยกระดับการผลิตกระบือไทยสู่การค้าซึ่งราคาสําหรับกระบือเพศเมีย อายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 18 เดือน ราคาประมาณ 35,000 บาทต่อตัว อายุระหว่าง 2 - 3 ปี ราคาประมาณ 45,000 บาทต่อตัว และอายุตั้งแต่ 3 ปี จนถึงเป็นแม่พันธุ์ ราคา 50,000 - 60,000 บาทต่อตัวส่วนกระบือเพศผู้ ตั้งแต่เริ่มหย่านมจนถึงอายุ 18 เดือน ราคาประมาณ 30,000 - 35,000 บาทต่อตัว อายุระหว่าง 18 - 36 เดือน ราคาคิดตามน้ําหนัก กิโลกรัมละ 100 บาท และพ่อพันธุ์ อายุ 36 เดือน ถึง 6 ปี ราคาประมาณ 45,000 - 80,000 บาท (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2563)

สุกร

สุกรเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้จังหวัดชัยนาท จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงสุกร จำนวน 1,122 ราย มีจำนวนสุกร 155,815 ตัว ซึ่งเกษตรกรสามารถเลี้ยงสุกรได้ปีละ 2 รุ่น ราคากิโลกรัมเฉลี่ยประมาณ 70 บาทต่อกิโลกรัม อําเภอที่นิยมเลี้ยงสุกรมากที่สุดคือ อําเภอหันคา จํานวน 64,031 ตัว (เกษตรกร จํานวน 287 ราย) รองลงมา ได้แก่ อําเภอหนองมะโมง จํานวน 36,248 ตัว (เกษตรกร จํานวน 164 ราย) และอําเภอสรรคบุรี จํานวน 25,329 ตัว (เกษตรกร จํานวน 391 ราย) ซึ่งลักษณะการเลี้ยงจําแนกได้ดังนี้

  1. การเลี้ยงสุกรพันธุ์ จะมีการเลี้ยงแม่สุกรพันธุ์ สําหรับผลิตลูกสุกร เมื่อมีลูกสุกรก็จะขายลูกสุกรหรือขุนขายเอง

  2. ลักษณะการเลี้ยงแม่สุกรในครอบครัว ซึ่งจะมีการเลี้ยงแม่สุกรไม่เกิน 1-2 ตัว เพื่อผลิตลูก เมื่อมีลูกก็จะขายลูกให้ผู้เลี้ยงสุกรขุนรายย่อยต่อไป

  3. การเลี้ยงสุกรขุน จะมีการซื้อลูกสุกรจากฟาร3มและเกษตรกรผู้เลี้ยงแม่สุกร เพื่อผลิตลูกนํามาขุนจนได้ขนาด แล้วขายต่อไปให้พ่อค้า

  4. การเลี้ยงสุกรขุนในลักษณะรับจ้างเลี้ยง บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงแม่สุกรขุน โดยบริษัทจะส่งลูกสุกรหย่านมให้ และให้เกษตรกรเลี้ยงจนน้ําหนักได้ประมาณ 100 กิโลกรัม บริษัทก็จะมาจับสุกรโดยบริษัทจะออกค้าพันธุ์สุกร อาหารสัตว์ แล้วเกษตรกรจะได้ค่าจ้างเลี้ยง ซึ่งมีการเลี้ยงในหลายพื้นที่ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2563)

ไก่

เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดชัยนาท ปีละหลายล้านบาท โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ สามารถส่งไก่ขายตลาดภายในจังหวัดและส่งไปยังตลาดจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งไก่พื้นเมืองนั้น สามารถเลี้ยงได้ปีละ 3 รุ่น

สําหรับฟารมที่เลี้ยงไกเนื้อ เพื่อการสงออกตองผานการฝกอบรมและตรวจรับรองมาตรฐานฟารมจากกรมปศุสัตว ซึ่งในป 2563 มีจํานวนฟารมไกเนื้อ 88 ฟารม โดยแบงเปน อําเภอเมือง 13 ฟารม อําเภอมโนรมย 9 ฟารม อําเภอวัดสิงห 7 ฟารม อําเภอสรรพยา 3 ฟารม อําเภอสรรคบุรี 5 ฟารม อําเภอหันคา 36 ฟารม อําเภอหนองมะโมง 10 ฟารม และอําเภอเนินขาม 5 ฟารม ซึ่งสามารถสรางรายไดใหแกเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท เพราะไกเนื้อสามารถเลี้ยงได 4 รุนตอปี

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดชัยนาท มีจำนวนไก่ไข่ทั้งสิ้น 56,615 ตัว โดยไก่ไข่ 1 ตัวสามารถให้ไข่ได้ถึง 270 ฟองต่อปี นิยมเลี้ยงมากที่อำเภอเมืองชัยนาท จำนวน 16,767 ตัว รองมาอำเภอหันคา จำนวน 12,728 ตัว และอำเภอสรรพยา จำนวน 5,934 ตัว

เป็ด

เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากการเลี้ยงเป็ดได้เป็นจํานวนมาก และช่วยสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดชัยนาท ปีละหลายล้านบาท อําเภอที่เลี้ยงเป็ดเทศมากที่สุด คือ อําเภอหันคา
จํานวน 9,315 ตัว รองลงมาได้แก่ อําเภอเนินขาม จํานวน 5,611 ตัว และอําเภอเมืองชัยนาท
จํานวน 4,672 ตัว อําเภอที่เลี้ยงเป็ดเนื้อมากที่สุด คือ อําเภอสรรพยา จํานวน 12,670ตัว รองลงมา ได้แก่ อําเภอสรรคบุรี จํานวน 10,643 ตัว และอําเภอวัดสิงห์ จํานวน 6,252 ตัว อําเภอที่เลี้ยงเป็ดไข่มากที่สุด คือ อําเภอสรรพยา จํานวน 209,226 ตัว รองลงมา ได้แก่อําเภอวัดสิงห์
จํานวน 29,855 ตัว และอําเภอสรรคบุรี จํานวน 27,837 ตัว อําเภอที่เลี้ยงเป็ดเนื้อไล่ทุ่งมากที่สุดคือ อําเภอหันคา จํานวน 44,200 รองลงมา ได้แก่ อําเภอเมืองชัยนาท จํานวน 12,000 ตัว และอําเภอมโนรมย์จํานวน 11,500 ตัว อําเภอที่เลี้ยงเป็ดไข่ไล่ทุ่งมากที่สุด คือ อําเภอหันคา จํานวน 263,452 ตัว รองลงมา ได้แก่ อําเภอสรรคบุรี จํานวน 172,366 และอําเภอสรรพยา จํานวน 70,500 ตัว

แพะ แกะ

จังหวัดชัยนาท มีแหล่งสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ภายในจังหวัด โดยภาครัฐมีหน่วยผสมเทียมของกรมปศุสัตว์ 8 หน่วย (อําเภอเมืองชัยนาท 1 หน่วย อําเภอมโนรมย์ 1 หน่วย อําเภอวัดสิงห์ 1 หน่วย อําเภอสรรพยา 1 หน่วย อําเภอหันคา 2 หน่วย อําเภอหนองมะโมง 1 หน่วย อําเภอเนินขาม 1 หน่วย) โรงฆ่าประเภทสุกร 9 แห่ง (อําเภอเมืองชัยนาท 1 แห่ง อําเภอวัดสิงห์ 2 แห่ง อําเภอหันคา 1 แห่ง อําเภอเนินขาม 4 แห่ง/โรงฆ่าสัตว์ประเภทไก่ จํานวน 1 แห่ง) และสถานที่กักกันสัตว์ 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตําบลไร่พัฒนา อําเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

การประมง

การเพาะเลี้ยงในจังหวัดชัยนาทระหว่างปี 2560/2561 มีผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา จํานวน 3,846 ราย พื้นที่ 3,104.06 ไร่ จํานวนบ่อดิน 6,062 บ่อ กระชัง จํานวน 206 กระชัง ผลผลิต 5,691,752.83 กิโลกรัม มูลค่า 298,838,367.65 บาท

จังหวัดชัยนาท มีการจับสัตว3น้ําจากแหล(งน้ําธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยง เนื่องจากมีแหล่งน้ําอุดมสมบูรณ มีแมน้ําไหลผาน 3 สาย ปริมาณการจับสัตวน้ําจากแหลงน้ําธรรมชาติ ในป 2560/2561 ปริมาณการจับสัตวน้ําจากธรรมชาติที่มากที่สุด คือ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาชอนตามลําดับ และปริมาณการจับสัตวน้ําจากการเพาะเลี้ยงที่มากที่สุดคือ ปลาทับทิม ปลานิล และปลาดุก รองลงมาคือ ปลาสวาย
ตามลําดับ

จังหวัดชัยนาท มีการจับสัตวน้ําจากแหลงน้ําธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยง เนื่องจากมีแหลงน้ําอุดมสมบูรณ มีแมน้ําไหลผาน 3 สาย ปริมาณการจับสัตวน้ําจากแหลงน้ําธรรมชาติและการเพาะเลี้ยง ในป2560/2561 ปริมาณการจับสัตวน้ําจากธรรมชาติที่มากที่สุด คือ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาชอนตามลําดับ และปริมาณการจับสัตวน้ําจากการเพาะเลี้ยงที่มากที่สุด คือ ปลาทับทิม ปลานิล และปลาดุก รองลงมาคือ ปลาสวาย ตามลําดับ

การพาณิชยกรรม

จังหวัดชัยนาท มีผู้จดทะเบียนประกอบธุรกิจการค้าและบริการที่ยังคงดําเนินการอยู่ทั้งหมดสะสมถึง กันยายน 2563 จํานวนทั้งสิ้น 1,110 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 9,693.21 ล้านบาทแบ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจํากัด 667 ราย ทุนจดทะเบียน 1,510.53 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จํานวน 2 ราย ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท บริษัทจํากัด จํานวน 440 ราย ทุนจดทะเบียน 7,833.18 ล้านบาท บริษัทมหาชนจํากัด จํานวน 1 ราย ทุนจดทะเบียน 347.5 ล้านบาท โดยในปี 2563 มีผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งใหม่จํานวนทั้งสิ้น 85 ราย ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 145.82 ล้านบาท และมีการจดทะเบียนเลิกรวมทั้งสิ้น จํานวน 20 ราย เงินทุนแจ้งเลิกรวม 31.3 ล้านบาท