การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด

ประวัติความเป็นมา

เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

วัสดุ/อุปกรณ์

1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม 2. รำละเอียด 6 กิโลกรัม

3. ปูนขาว 1 กิโลกรัม 4. ยิบซัม 1 กิโลกรัม

5. น้ำสะอาด 60-70 % 6. ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม

ขั้นตอนแรก

ผสมขี้เลื่อย (ไม้ยางพารา) แต่จากการผลิตทั่วๆไปไม้ยางพาราดีที่สุด ขี้เลื่อยจะต้องใหม่ๆ สดๆควรกองทิ้งไว้ประมาณ 7วัน จึงนำมาใช้ได้ ผสมรวมกับรำข้าว ปูนขาว ยิบซัม ดีเกลือ น้ำสะอาด ตามอัตราส่วน

วิธีทำ

วิธีผสม

จะใช้เครื่องผสมก็ได้ หรือใช้พลั่วผสมก็ได้ (เหนื่อยต่างกันและประหยัดต่างกัน) เติมน้ำลงประมาณ 60-70 % ทดสอบโดยการกำขี้เลื่อยที่ผสมแล้วให้สังเกตดังนี้ ถ้ามีน้ำไหลซึมตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าน้ำมากเกินไป เมื่อบีบน้ำแล้วไม่มีน้ำไหลตามง่ามนิ้วมือให้แบมือออก ถ้าขี้เลื่อยแตกออกถือว่าพอดี แต่ถ้าแบมือออกแล้วขี้เลื่อยไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าน้ำน้อยเกินไป เมื่อผสมเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกขี้เลื่อยใส่ถุงสำหรับเพาะเห็ดโดยให้ได้น้ำหนัก 800 -1,000 กรัม (อย่าใส่มาก เปลืองขี้เลื่อย) รวบปากถุงหลวม ๆ กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอสมควรแล้วใส่คอขวดดึงปากถุงลงมา ปิดด้วยจุกสำลี นำก้อนเชื้อไปบ่ม ไว้ในโรงบ่ม 25 - 35 วัน เก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวก การลดน้ำในโรงเรือน ควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

เห็ดนางฟ้ามีคุณสมบัติทางกลิ่น ที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีโรคและแมลงหลายชนิดรบกวนหลายชนิด คือ

1. หนูและแมลงสาบ กำจัดโดยยาเบื่อหรือกับดัก

2. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ดให้ผลผลิตลดลง ไรจะระบาดเมื่อมีความชื้นในโรงเรือนต่ำ

3. แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะมาตอมและวางไข่ และขยายพันธุ์ ควรย้ายก้อนเชื้อเหล่านั้นออกจากโรงเรือนและทำลาย

4. โรคจุดเหลือง เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก ที่ตกค้างจากการเก็บ หรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก

5. ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยเอาก้อนเชื่อที่หมดอายุแล้ว และเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ รักษาความสะอาด เมื่อพบสิ่งผิดปกติให้รีบทำลาย อย่าใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคและแมลง ให้ใช้แสงแดดและพักโรงเรือน