ประเพณีตามหลัวหิงไฟพระเจ้า

ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า

ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้านั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ของล้านนาไทย ว่าสในสมัยโบราณมานั้น มีอากาศหนาวจัดมากเพราะบ้านเมืองยังมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ขึ้นหนาแน่นทุกป่าทุกแดน ความชื้นจึงสูง ทำให้อากาศในหน้าหนาวมีอากาศชื้น หิมะหมอกเหมยน้ำค้างตกมากในฤดูหนาว จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย หนาวที่สุด เหมยหมอกที่เรียกกันว่า “เหมยขาบ” ย่อมตกในหน้าหนาวตอนกลางคืน มีลักษณะแข็งคล้ายลูกเห็บติดอยู่ตามหญ้า พอสายๆประมาณ 10-11 นาฬิกา จึงค่อยละลายไป โดยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ คืออากาศหนาวจัดนี้เอง ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า จึงนิยมทำกันตามวัดในชุมชนล้านนาไทยมาช้านาน

ประเพณีทานข้าวจี่ – ข้าวหลาม

วันเพ็ญเดือนสี่เหนือ เดือนยี่ ใต้ คือเดือนมกราคม เป็นเดือนที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนำไปใส่ยุ้งฉาง ชาวล้านนาไทยนิยมทำบุญทำทานก่อนที่ตัวเองจะบริโภค เพื่อุทิศส่วนบุญกุศลแก่เทพยดา มีแม่โพสพเป็นต้นให้ช่วยคุ้มครองดูแลข้าวเปลือกในยุ้งฉางหลองข้าวของตน มิให้สิ่งอื่นใดมารบกวน ทำให้การกินข้าวเปลือกหมดเร็ว