ฤดูกาล ลักษณะภูมิอากาศของตำบลหัวฝาย จัดอยู่ในลักษณะแบบฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดูฝนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Savanna) บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตร่องอากาศเขตร้อน (Intertropical Convergence Zone) ปริมาณและการกระจายของฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก และลมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นำเอาอากาศหนาวและแห้งแล้ง จากประเทศจีนมาปกคลุมทั่วบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะภูมิอากาศของตำบลดอนมูล แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล

ฤดูหนาว เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม

ตำบลหัวฝาย

สภาพทั่วไปของตำบลหัวฝาย

1.1 ความเป็นมา

ชื่อตำบลหัวฝาย แต่เดิมเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ได้สร้างทำนบกั้นน้ำซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าการลงหลักตีฝาย และบริเวณริมฝั่งลำน้ำที่กั้นฝายได้มีชาวบ้านไปอาศัยอยู่ พวกที่อาศัยอยู่ทางท้ายน้ำจึงเรียกผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณต้นฝายว่าหัวฝาย ต่อมายกระดับเป็นตำบล เมื่อปี พ.ศ.2436 และในปี พ.ศ. 2460 ตำบลหัวฝายขึ้นกับอำเภอแม่พวก ภายหลังเปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกเป็นอำเภอสูงเม่น หรือสูงเม่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์/ลักษณะภูมิประเทศตำบลหัวฝายแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้พื้นที่ราบ – ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่นา,พื้นที่เชิงเขา – อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งเจริญ และพื้นที่ภูเขา เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอสูงเม่น ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดประมาณ 15 กิโลเมตร มีเส้นทางติดต่อกับอำเภอสูงเม่น จำนวน 2 เส้นทาง มีพื้นที่ทั้งหมด 65.98 ตร.กม. หรือประมาณ 41,241.25 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้แก่

ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลสูงเม่น, ตำบลดอนมูล, ตำบลบ้านเหล่า, อำเภอสูงเม่น

ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย

ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น, อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น