การทำข้าวหลาม

พื้นบ้าน

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น :   การประกอบอาชีพในท้องถิ่น

ภาคเหนือ เรียกว่า ไม้ข้าวหลาม หรือ ไผ่ข้าวหลาม

ต้น เป็นไม้ไผ่ขนาดกลางทิ้งใบในต้นฤดูแล้ง ลำต้นลักษณะตรงสีเขียวด้านๆ คล้ายมีแป้งหรือขี้ผึ้งสีเทาหรือขาวปกคลุมคลุมคล้ายน้ำค้างแข็งจับ  ในการทำข้าวหลามนั้น ลำของไผ่ข้าวหลามอายุ 6-10 เดือน เหมาะใช้ทำข้าวหลามได้อย่างดี เผาง่าย ปอกง่าย เพราะเปลือกบางอ่อน และมีเยื่อหุ้มบางๆ หลุดติดออกมากับข้าวหลาม 

ประวัติข้อมูลของผู้ประกอบภูมิปัญญา

นางเรียม   ยาบุญทา   อยู่บ้านเลขที่ 233  หมู่ที่  3  ตำบลทุ่งหัวช้าง  อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน

เบอร์โทรศัทพ์ : 085-7185929

ประวัติความเป็นมา องค์ความรู้จากภูมิปัญญา

ข้าวหลาม เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรือ งาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนา จะเป็นพิเศษ เพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม                 ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร  

       สถานที่ตั้ง ที่ตั้ง (พิกัด) ของ                  ผู้เป็นภูมิปัญญา

สื่อประกอบ : วิธีการทำข้าวหลามพื้นบ้าน

ส่วนผสม

1. ข้าวสารเหนียว

2.น้ำตาลทราย

3.กะทิ

4.ถั่วดำถั่วดำต้มสุก

5.เกลือป่น

6.ใบเตย

7.ไผ่ข้าวหลาม

8.กาบมะพร้าว หรือ ใบตอง



ขั้นตอนการทำข้าวหลาม

1. ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง

2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย

3. ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตระกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก

5. เทน้ำกะทิที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปในกระบอกข้าวทีละน้อย จนกระทั่งน้ำกะทิท่วมข้าว

6. พับใบเตยเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปิดกระบอกข้าวหลาม แล้วนำกาบมะพร้าวม้วนเป็นทรงกลมมาปิดอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ 5- 6 ชั่วโมง

7. เผาข้าวหลามกับถ่านไม้ พอกระบอกเหลืองให้หมุนกระบอกข้าวหลาม ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก

8. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย


เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เคล็ดลับในการปรุง

การเตรียมถั่วดำ ควรแช่ถั่วก่อนต้ม ประมาณ 2 ชั่วโมง

การใส่ข้าวลงในกระบอกไม้ไผ่ ควรจะกระแทกกระบอกเบา ๆ เพื่อให้ข้าวเกาะอยู่รวมกันและแน่นเต็มกระบอกใส่กะทิลงไปในกระบอกข้าวหลามที่ละน้อย เพื่อไล่ฟองอากาศออกมาให้หมด จนกระทั่วน้ำกะทิท่วมข้าว และ ควรทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวได้ดูดซับน้ำกะทิไว้ เพื่อให้ได้ข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อย


เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม

ควรเลือกข้าวใหม่ คุณภาพดี เมล็ดข้าวสวยไม่หักใช้ไผ่ข้าวหลามเท่านั้น ในการทำกระบอกข้าวหลาม เพราะด้านในกระบอกจะมีเยื่อไม้ เหมาะสำหรับการทำข้าวหลาม


ผู้ให้ข้อมูล : นางเรียม   ยาบุญทา และ ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด                      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาพถ่ายโดย : นางสาวสุจิตรา   ศรีชำนาญ

ผู้เขียนหรือผู้เรียบเรียง : นางสาวสุจิตรา   ศรีชำนาญ