ระเพณีแห่ช้างเผือกตามวิถีของบ้านห้วยไร่และ         บ้านหนองหลัก ตำบลตะเคียนปม  

วัฒนธรรมประเพณี :  ประเพณีเทศกาลของท้องถิ่น

ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี : ประเพณีแห่ช้างเผือกตามวิถีของบ้านห้วยไร่  และ บ้านหนองหลัก ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน

ประวัติความเป็นของศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

แม่น้ำลี้ เป็นแม่น้ำสาขาหนึ่งของน้ำแม่ปิง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตผู้คนริมสอง       ฟากฝั่ง ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนน้อยใหญ่กว่า 4 อำเภอ อันได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอเวียงหนองล่อง ก่อนจะไหลไปรวมกับน้ำแม่ปิงที่บ้านวังสะแกง  บริเวณสบลี้ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ความสำคัญของช้างเผือกที่ชาวบ้านนำมาเป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมขอฝนนั้น กล่าวคือ            ช้างเผือกเป็นช้างมงคลหากเกิดขึ้นในบ้านเมืองใด จะทำให้บ้านเมืองนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร มีฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองจะชุ่มฉ่ำอยู่เย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันในชาดกเรื่อง         พระเวสสันดร มีช้างเผือกมงคลชื่อ พระยานาเคน ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดร โดยเมื่อครั้ง          นางกุษฏีได้ให้ประสูตพระเวสสันดร ขณะนั้นได้มีนางช้างเชือกหนึ่งได้พาลูกช้างเข้ามายังโรงช้าง         ลูกช้างเชือกนั้นเป็นลูกช้างเผือกที่มีลักษณะต่างจากช้างทั่วไป นับแต่วันที่ช้างเผือกได้เข้ามาอยู่ในเมืองของพระเจ้าสนชัย น้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธัญญาหารก็เจริญงอกงาม ประชาชนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุขครั้นวันหนึ่งมีเมืองอีกเมืองชื่อ กรินทราช ได้ส่งพราหมณ์ 8 รูปมาขอช้างเผือกมงคลนี้จากพระเวสสันดร เหตุเพราะเมืองกรินทราชเกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณล้มตาย  ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อน พระเวสสันดรซึ่งขณะนั้นได้บำเพ็ญทานบารมี ก็ได้ส่งพระยานาเคน         ช้างเผือกมงคลให้แก่เมืองกรินทราช เมื่อได้ช้างเผือกไปฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ จากชาดกเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบแนวคิดประเพณีแห่ช้างเผือกของคนลุ่มน้ำลี้   โดยประเพณีดังกล่าวได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปี ความยิ่งใหญ่ของแม่น้ำลี้ ที่มีความยาวกว่า 180 กิโลเมตร  มีต้นกำเนิดมาจากเทือกดอยสบเทอม รอยต่อระหว่างอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูนกับ       เขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง นับว่าเพียงพอต่อการเชื่อมร้อยวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งแม่น้ำลี้ในด้านขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมมาช้ากระทั่งเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระแสของการพัฒนาได้นำพาความคิดความเชื่อและความ        ทันสมัยเข้าสู่ชุมชน โดยหลงลืมโครงสร้างทางสังคมของชุมชนในอดีต ขณะเดียวกันเกิดวิกฤตแม่น้ำลี้แห้งขอด เนื่อง ด้วยภัยธรรมชาติฝนแล้ง น้ำกินน้ำใช้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นหนทางเดียวก็คือการนำเอาพิธีกรรมความเชื่อเข้ามาใช้ในการอนุรักษ์น้ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อสายน้ำพิธีแห่      ช้างเผือก นับได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ทำหน้าที่กระตุ้นเตือนจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเพณีการแห่ช้างเผือกของคนลุ่มน้ำลี้ จะจัดทำขึ้นเมื่อถ้าปีไหนเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ บ้านเมืองแห้งแล้ง   ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านก็จะจัดทำพิธีขอฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฏาคม ก่อนเข้าพรรษาจะมีการแห่ช้างเผือก โดยการทำพิธี จะให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้ในการจักสานเอาไม้ไผ่มาสานเป็นรูปช้าง ขนาดพอประมาณ หุ้มด้วยผ้าขาวหรือดอกฝ้ายขาวตกแต่งให้สวยงามนำไปตั้งไว้บนคามหามเพื่อให้แห่ เมื่อทำเสร็จแล้วจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ สวดขอฝน ถวายทานช้างเผือก จากนั้นก็จะแห่ช้างเผือกไปตามหมู่บ้านที่แม่น้ำลี้ไหลผ่าน

การสืบสานอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

การแห่ช้างเผือกซึ่งจัดที่ขุนน้ำลี้  บ้านหนองหลัก  หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียนปม  อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน ได้มีการแห่ช้างเผือก ณ ขุนน้ำลี้ เพื่อจะขอเอาช้างเผือกแลกกับน้ำฟ้า น้ำฝน ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรในชุมชนสืบเนื่องจากสภาวะฝนแล้งปีนี้ ทำให้เกษตรกรบ้านหนองหลักมีความวิตกกังวลว่าน้ำอาจไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร จึงได้จัดทำพิธีกรรมแต่โบราณของชาวปว่าเก่อญอซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของชุมชนบ้านหนองหลัก โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากส่วนงานต่างๆ ของตำบลตะเคียนปม และ  ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งหลังการปล่อยช้างเผือกลอยลงสู่แม่น้ำลี้แล้ว   ก็ปรากฎว่า มีสายฝนโปรยปรายลงมาจริงๆ แม้อาจไม่มากนัก แต่ก็สร้างกำลังใจให้กับชาวบ้านได้มาก

การแห่ช้างเผือกซึ่งจัดที่  ขุนน้ำลี้บ้านห้วยไร่  หมู่ที่ 8       ตำบลตะเคียนปม            อำเภอทุ่งหัวช้าง              จังหวัดลำพูน

สื่อประกอบ

ผู้ให้ข้อมูล : จักรพงษ์ คำบุญเรือง  

ภาพถ่ายโดย : อบต.ตะเคียนปม

ผู้เขียนหรือผู้เรียบเรียง : นางสาวสุจิตรา   ศรีชำนาญ