ยวมผักพื้นบ้านสร้างรายได้เสริม

ชื่ออาชีพท้องถิ่น : ยวมผักพื้นบ้านสร้างรายได้เสริ

ประวัติ ข้อมูลของผู้ประกอบอาชีพ

อาหารที่เป็นเส้นใยอย่างสม่ำเสมอ ผักที่คนภาคเหนือนิยมกิน เช่น ผักม้วนไก่หรือเชียงดา ผักเฮือด มะระขี้นกหรือบะห่อยขี้นก ฯลฯ สำหรับผักพื้นบ้านที่มีมากมายนั้น อาจจะเหมือนหรือแตกต่างจากภาคอื่นๆ ไปบ้าง ก็คงจะเป็นประเภทผักพื้นบ้าน พื้นเมือง ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นผักชนิดเดียวกัน        แต่ภาษาท้องถิ่นที่ใช้เรียกอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อย่างเข้าหนาวในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม          มีพืชชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายฝักของหางนกยูงบ้าน หรือฝักกระถิน แต่อาจจะแบนและบางกว่ามาก รสชาติของผักชนิดนี้จะออกเปรี้ยวและมีฝาดแซมเล็กน้อย เป็นผักพื้นเมืองทางภาคเหนือ เรียกว่า งวม บางแห่งเรียกว่า ยวม ต้นงวม หรือต้นหนามโค้ง จะออกฝักเพียงปีละ 1 ครั้ง ในฤดูหนาวเท่านั้น เพราะเป็นพืชพื้นเมืองที่ต้องการอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในการให้ผลผลิต ดังนั้น สภาพอากาศบนภูเขาจึงเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ ฝักยวม ชาวบ้านพื้นถิ่นมักนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร ปัจจุบันเริ่มหากินได้ยากและมีราคาสูงขึ้นลำต้น เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ยวมออกดอกสีเหลืองพร้อมกันทั้งยอดเขาเพียงครั้งเดียวในรอบ 1 ปี ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก  ดอกออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก        4 กลีบ เริ่มออกดอกในช่วงต้นฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ดอกจะบานสะพรั่งสีเหลืองสวยงาม และ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน นอกจากนั้น ยวม ยังเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยและฉีดยาฆ่าแมลง จึงนับว่าเป็นพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมี เหมาะกับสุขภาพอย่างยิ่ง นอกจากเป็นพืชผักตามฤดูกาลแล้ว ฝักงวม ยังมีสรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยกัดเสมหะได้ดีอีกด้วย ซึ่งในอำเภอทุ่งหัวช้างมักจะมีชาวบ้านในพื้นที่นำออกมาขายตามตลาดนัด หรือนำมาขายตามสถานที่ราชการเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในพื้นที่

ที่อยู่  ที่ตั้ง  (พิกัด) ของผู้ประกอบการ

กระบวนการ  ขั้นตอนการผลิตหรือองค์ความรู้

ยวม มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร สำหรับคนทางภาคเหนือตอนบนเรียก หนามโค้ง เพราะมีหนามโค้งตลอดทั้งต้น หรือเรียก พญาช้างสาร เชื่อว่ากินแล้วแข็งแรง สำหรับวิธีการกินก็เพียงแค่นำมาปรุงกับอาหาร เช่น ซอยยำกับปลากระป๋อง หรือปลาทู ยำใส่กุ้งแห้ง หรือหมูสับ ทำต้มยำ เพียงเท่านี้เราก็ได้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านชนิดนี้แล้ว ฝักมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้เป็นยาแก้ไข้ รสเปรี้ยวฝาดของฝักใช้เป็นยาช่วยกัดเสมหะ , ใช้เป็นยาระบายอ่อน , ช่วยในการย่อยอาหาร และ ใช้เป็นยาสมานท้องวิธีการกินผักพื้นบ้าน “ยวม”สำหรับอาหารการกินของคนทางภาคเหนือ ที่ส่วนมากเขาจะปรุงและประกอบโดยมีส่วนประกอบของผักนานาชนิดมาผสมรวมกันเป็นแกงประเภทต่างๆ เช่น แกงแค แกงขนุน  รวมไปถึงอาหารประเภท ยำ ส้า หรือลาบหมู เนื้อ ฯลฯ ที่ต้องใส่เครื่องเทศลงผสมไปด้วย และต้องนำไปผัดให้หอมก่อนแล้วค่อยเอาไปผสมคลุกเคล้ารวมกัน ซึ่งต่างจากลาบของคนภาคอีสานโดยสิ้นเชิงวิธีการกิน งวม หรือยำงวม อาจจะทำได้ 2 แบบ คือ ยำแห้ง และยำน้ำ แบบแห้งจะใส่กุ้งแห้ง ส่วนยำน้ำจะใส่ปลาสดต้ม แต่ปลาธรรมชาติหากินยาก ปัจจุบันนิยมใช้ปลาทูแทน

วิธีทำ (ยำแบบแห้ง) การเตรียมน้ำพริก

วิธีทำ (ยำน้ำ)เครื่องปรุง ฝักอ่อนยวม พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ปลาร้าหรือกะปิ เกลือ ปลาสดหรือปลาทูนึ่ง  ขั้นตอนการทำนั้นให้โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้ละเอียดก่อน แล้วต้มปลากับน้ำปลาร้าให้สุก แกะเนื้อครึ่งหนึ่งลงไปโขลกกับน้ำพริก หั่นฝักผักยวมให้เป็นฝอยละเอียด แล้วนำลงไปคลุกเคล้ากับน้ำพริกให้ทั่ว เติมน้ำปลาและเนื้อปลาแกะที่เหลือให้มีน้ำพอเปียก ๆ จากนั้นปรุงรสและถ้าต้องการเปรี้ยวก็เติมน้ำมะนาวและมะกรูดนิดหน่อย 

สื่อประกอบ 

ผู้ให้ข้อมูล : https://www.technologychaoban.com (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

ผู้เขียน / ผู้เรียบเรียงเนื้อหา : นางสาวสุจิตรา  ศรีชำนาญ

ภาพถ่ายโดย : 1. https://www.technologychaoban.com (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

                      2. นางสาวสุจิตรา  ศรีชำนาญ