ผางประทีปส่องทาง  แสงสว่างส่องใจ

ผางประทีป

          ผางประทีปหรือผางผะทีด คือ ถ้วยประทีปหรือถ้วยเล็กๆ ที่ทำด้วยดินเผา รูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือและศิลปะของช่างปั้นในแต่ละยุค แต่ละสมัยซึ่งอาจขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ในสมัยโบราณเวลามีงานประเพณีหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่จัดในตอนตอนกลางคืนมักจะใช้ผางประทีปจุดให้แสงสว่าง


เชื้อเพลิงและไส้ผางผะตีด

      ตั้งแต่โบราณ คนไทยนิยมใช้น้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มาทำเป็นเชื้อเพลิง  จุดผางประทีปหรือโคมไฟอื่นๆ จากน้ำมันจากพืชมีหลายชนิด ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่ว น้ำมันงา น้ำมันจากหมากหุ่งลาว หรือละหุ่ง น้ำมันยางและชัน น้ำมันที่ได้จากไขสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู และไก่ เป็นต้น น้ำมันเหล่านนี้นำมาใส่ในภาชนะถ้วยชามหรือผางประทีป จะใช้ด้ายขวั้นหรือฝั้นเป็นลักษณะตีนกาใส่ลงในภาชนะนั้น แล้วจุดไฟที่ด้ายซึ่งมีเปียกชุ่มไปด้วยน้ำมันก็จะเป็นเชื้อเพลิงลุกไหม้ให้แสงสว่างจนเชื้อเพลิงหมด

ความเชื่อเรื่องตีนกา

     มีเรื่องเล่าว่านางกาเผือกมีไข่ 5 ฟอง ถูกลมพายุพัดหอบไปตกในสถานที่ต่างๆ และมีสัตว์ 5 ชนิด คือ ไก่ ราชสีห์ เต่า วัว และนาค เก็บรักษาไว้ จึงเกิดเป็นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ได้แก่ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระพุทธเจ้าพระนามว่า   โคตมะ และพระพุทธเจ้าพระนามว่าอริยเมตไตรย เพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงแม่กาเผือกซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดพระมหาบุรุษของโลก ความเชื่อของชาวล้านนาเวลาจุดบูชาผางประทีปนั้น จึงฝั้นเชือกด้ายเป็นลักษณะคล้ายตีนกาวางไว้ในภาชนะแล้วใส่น้ำมันจุดบูชาเป็นการระลึกถึงและกตัญญูกตเวทิตาแก่แม่กา


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.culture.cmru.ac.th/web60/content/1037/

การทำผางประทีป


การทำถ้วยผางประทีป

1.ตำดินเหนียวให้ละเอียด ด้วยครกไม้ขนาดใหญ่ ลักษณะเดียวกันกับครก       ตำข้าว ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องบดดิน

2.ผสมดินตำละเอียดแล้วกับน้ำ นวดให้เข้ากัน ให้เหนียว

3.นำดินมาวางบนแท่นปั้นดินแล้วปั้นตามขนาดลักษณะคล้ายถ้วยและใส่ขอบลายหยักโดยใช้ฝากระป๋องน้ำอัดลมแบบจีบประกบกันทาบกับขอบผางประทีป

4.เมื่อปั้นและใส่ขอบลายเรียบร้อยแล้ว สำหรับผางประทีปเล็ก ให้นำเข้าเตาเผาได้ ส่วนผางประทีปขนาดใหญ่ ต้องนำมาผึ่งแดดให้แห้งเสียก่อน ก่อนนำเข้า  เตาเผา

5.เมื่อผางประทีสสุกได้ที่ รอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากเตา และนำมาล้างฝุ่น ขี้เถ้า และผึ่งให้แห้ง


การทำไส้ผางประทีปตีนกา


1.ชุบฝ้ายสีขาวกับขี้ผึ้งเหลวผสมน้ำมันมะพร้าว

2.ผึ่งฝ้ายที่แช่เรียบร้อยให้แห้ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้ขี้ผึ้งละลายได้

3.ฟั่นฝ้าย ทำให้เป็นสามแฉกแบบตีนกา ให้ขนาดพอดีกับผางประทีป

4.ใส่ไส้ตีนกาวางลงตรงกลางถ้วยโดยให้ฝ้ายสามแฉกเป็นฐานและฝ้ายแกน     ตั้งขึ้น

5.ต้มขี้ผึ้งในหม้อต้มน้ำหรือถ้าทำจำนวนมากให้ต้มในปีบขนาดใหญ่หรือกระทะจนเหลวเป็นน้ำเทียน

6.หยอดเทียนเหลวลงในผางประทีปจากนั้นผึ่งในที่ร่มให้แห้ง

ผางประทีป

เรื่องเล่าผางประทีป


                    ผู้รู้ด้านประเพณีล้านนา ได้กล่าวถึงการบูชาผางประทีป ว่าชาวล้านนาจุดผางประทีปเพื่อเป็นพุทธบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ตามตำนานแม่กาเผือก และจุดบูชาเพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ    ชาวล้านนาจึงนิยมจุดผางประทีป บูชาเพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได หน้าต่าง ฯลฯ นอกจากนี้ผางประทีป ยังเป็นการบูชาเพื่อนำทางยังแสงสว่างเชื่อว่าจะทำให้มี สติปัญญา เฉลียวฉลาด มีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลดั่งแสงจากผางประทีปด้วยเหตุนี้ช่วงประเพณียี่เป็งจึงสว่างไสวเต็มไปด้วยแสงผางประทีป........



ข้อมูลอ้างอิง

https://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannatradition/yeepeng-pangpratis.php

ข้อมูลรูปภาพ

https://www.sanook.com/horoscope/107833/

การสร้างอาชีพด้วยผางประทีป

       ผางประทีปอยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการทำจากกะลามะพร้าว จากขวดแก้ว จากเศษวัสดุเหลือใช้ ที่ผ่านกาลเวลามา และที่ได้รับความนิยม สร้างได้ง่ายก็คือ ผางประทีปที่ทำจากดินเหนียวขึ้นรูป เพราะทำได้ง่าย มีความคงทน แข็งแรง ไม่ติดไฟ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การทำผางประทีปจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความสนใจจากประชาชนที่ทำเพื่อจำหน่าย ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่นประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา โอกาสอื่นๆรวมถึงการรำถวายผางประทีปอีกด้วย และสามารถนำผางประทีปมาจุดเพื่อบูชาและขอขมาสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย

ผางประทีปมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ แบน มีฐาน ที่ต่างกันอออกไป ซึ่งจะอยู่ที่วาระโอกาสในการใช้ผางประทีปแต่ละประเภทนั้นๆ และราคา 

ข้อมูลเนื้อหา โดย นายอภิเดช  เนียมพรมลี

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายอภิเดช  เนียมพรมลี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายอภิเดช  เนียมพรมลี