เรื่องที่ 4 รัฐธรรมนูญ

ความสาคัญ

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุด เป็นเสมือนกฎเกณฑ์หรือกติกาที่ประชาชนในสังคมยอมรับให้เป็นหลักในการปกครอง และการบริหารประเทศ ซึ่งการออกกฎหมายใด ๆ ย่อมต้องดำเนินการภายในกรอบของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมายใดที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถใช้บังคับได้

สาเหตุที่มีรัฐธรรมนูญในประเทศไทย

สาเหตุที่สำคัญมาจากการที่ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มมีแนวคิดตั้งแต่รัชกาลที่ 6 โดยกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วย ข้ำราชการ ทหาร พลเรือน ได้เข้าถึงอำนาจการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราวที่คณะราษฎร์ได้เตรียมไว้ นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2475 ถือได้ว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย นับแต่นั้นมา

จนถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนในแต่ละยุคสมัย โดยมีสาระสำคัญเหมือนกัน คือ ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญมาแล้วจำนวน 18 ฉบับ และปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2550

หลักการสาคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีหลักกำรและเจตนำรมณ์ที่จะธำรงรักษำไว้ซึ่งเอกรำชและควำมมั่นคงของชำติ เทิดทูนพระมหำกษัตริย์ ซึ่งหลักกำรสำคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้ระบุไว้ในหมวด 1 บททั่วไป สรุปได้ดังนี้

1. ประเทศไทยเป็นรำชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

2. มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชำวไทย

4. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลต้องได้รับความคุ้มครอง

5. ประชาชนชาวไทยทุกคนไม่แยกเพศ ศาสนา และย่อมได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน

สรุปย่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560