เรื่องที่ 4 ค่านิยมที่พึงประสงค์ของไทยและของท้องถิ่น

ค่านิยมที่พึงประสงค์ของไทยและของท้องถิ่น

ค่านิยมที่พึงประสงค์ของไทย

ในเมื่อค่านิยมเป็นสิ่งที่กำหนดความเชื่อ ซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมของคนในสังคมแล้ว การกำหนดค่านิยมที่พึงประสงค์ของท้องถิ่นและของไทย จึงควรที่คนในสังคมไทยทั้งในท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ อย่างไรก็ตาม มีผู้แจกแจงค่านิยมของสังคมไทยไว้ดังนี้ คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสว่า ค่านิยมของสังคมไทยมี 3 ประกำร คือ

1. รักความเป็นไทย

2. คนไทยไม่ชอบการเบียดเบียนและหาเรื่องกับคนอื่น

3. การรู้จักประสานประโยชน์ รู้จักการประนีประนอม โอนอ่อนผ่อนตาม ทำให้เมืองไทยไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใด ศาสตราจารย์ ประเสริฐ แย้มกลิ่มฟุ้ง จำแนกค่านิยมของคนไทย ไว้ดังนี้

1. ความรักอิสรภำพหรือควำมเป็นไทย

2. ย้ำความเป็นตัวของตัวเอง

3. ความมักน้อย

4. ย้ำหาความสุขจากชีวิต ส่งผลให้เกิด คำว่า “สยามเมืองยิ้ม”

5. เคารพ เชื่อฟังอำนาจ โดยชอบธรรม คนไทยเคารพผู้อาวุโส

6. ชอบความโอ่อ่า มีใจนักเลง กล้าได้ กล้าเสีย บริโภคนิยม

7. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนไทยมีลักษณะเป็นมิตรกับคนทุกคน

ในปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหา คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาเรื่องเพศ เรื่องความรุนแรง และอบายมุข ในปี 2549 กระทรวงศึกษาธิการ จึงกำหนดลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็น 8 คุณภาพพื้นฐาน เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนำเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ดี คือ

1. ขยัน คือ ตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทน

2. ประหยัด คือ รู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินแต่พอควรพอประมำณให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ

3. ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปราศจำกความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ

4. มีวินัย คือ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ มีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม

5. สุภำพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อมมีกิริยำมำรยำทที่งำม มีสัมมำคำรวะ

6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อมความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียว ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานบรรลุผลตามที่ต้องการเกิดการงานอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัด- เอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ความคิด เชื้อชาติ หรือ อาจเรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์

8. มีน้ำใจ คือ มีควำมจริงใจ ไม่เห็นแก่ตัวและเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีควำมเอื้ออาทรเอาใจใส่ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

ค่านิยมท้องถิ่น

ค่านิยมของท้องถิ่น จะบ่งบอกลักษณะนิสัยเด่นของคนในท้องถิ่น เช่น คนภาคเหนือ มีมารยาทอ่อนโยน พูดจำอ่อนหวาน คนภาคใต้มีความรักใคร่พวกพ้องต่าง ๆ เหล่านี้สำมารถศึกษาได้จากลักษณะของคนในชุมชน วิถีชีวิตกำรแสดงออก สถาบันทางการศึกษา ศาสนา และครอบครัวมีส่วนสำคัญในกำรสร้างเสริมค่านิยมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน สังคม