เรื่องที่ 1 การปกครองระบอบประชาธิปไตย

การปกครองระบอบประชาธิปไตย

1.1 ความหมายของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย เป็นรูปแบบกำรปกครองในประเทศ มาจากคำ 2 คำ ดังนี้

“ประชา” หมายถึง ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ

“อธิปไตย” หมายถึง อำนาจสูงสุดในกำรปกครองประเทศ

ดังนั้น ประชาธิปไตย จึงหมายถึง ประชาชนปกครองหรือการปกครองโดยประชาชน พจนานุกรมฉบับรำชบัณฑิตยสถำน พ.ศ. 2542 ให้ควำมหมำยของประชำธิปไตยไว้ว่ำ “ระบอบกำรปกครองที่ถือมติของปวงชนเป็นใหญ่ หรือกำรถือเสียงข้ำงมำกเป็นใหญ่” และศาสตราจารย์ ดร.กมล ทองธรรมชาติ ให้ควำมหมำยว่ำ “ประชาธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชำชนเพื่อประชาชน”

สรุป ประชำธิปไตย หมำยถึง กำรที่ประชำชนหรือพลเมืองของประเทศมีอำนำจและมีส่วนร่วมในกำรกำหนดนโยบำยในกำรปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชำชนส่วนรวมเป็นหลัก

1.2 หลักการสาคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมำยถึง ประชาชนเป็นเจ้ำของอำนำจสูงสุดในกำรปกครองประเทศ

2. หลักความเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีควำมเท่ำเทียมกันภำยใต้กฎหมำย ควำมเท่ำเทียมกันทำงกำรเมือง

3. หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ได้แก่ การที่ประชาชนมีอำนาจอันชอบธรรมในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอิสระในกำรกระทำในขอบเขตของกฎหมำย และมีแนวทำงปฏิบัติตนที่เป็นอิสระภำยใต้ขอบเขตของกฎหมำย

4. หลักนิติธรรม การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์และกติกาของประเทศ คือ การที่ประชาชนใช้กฎหมายเป็นหลักในการทำงาน เพื่อกำรอยู่ร่วมกันอย่ำงสันติสุขและเกิดควำมยุติธรรมในสังคม

5. หลักการยอมรับเสียงข้ำงมาก คือ การที่ประชาชนในรัฐใช้มติของประชำชนส่วนใหญ่เป็นหลักในการทำงน

6. หลักการใช้เหตุผล คือ กำรที่ประชาชนใช้หลักเหตุผลเป็นหลักในการหาข้อสรุปเพื่อทำงานร่วมกันหรือการอยู่ร่วมกัน

7. หลักการประนีประนอม คือ การที่ประชาชนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ใช้การตกลงร่วมกันในการขจัดข้อขัดแย้งที่ไม่เห็นด้วย

8. หลักความยินยอม คือ การที่ประชาชนใช้วิจารณญาณในกำรตัดสินใจ เป็นตัวของตัวเองโดยปราศจากการบังคับ มีความเห็นตรงกัน จึงตัดสินใจผ่านตัวแทนของประชาชนในการดำเนินงานทางการเมืองและการปกครอง

1.3 ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย

ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

1. การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฎหมำย

2. การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง

3. การเคารพในกฎกติกาของสังคม เพื่อความสงบสุขและควำมเป็นระเบียบเรียบร้อย ในสังคม

4. กำรมีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม

5. กำรมีน้ำใจเป็นประชำธิปไตยยอมรับฟังควำมคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

6. การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม

1.4 คุณลักษณะที่สาคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

1. มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย

2. มีการรู้จักใช้เหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีเหตุผล และมีการประนีประนอมกันในทางความคิด

3. เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น

4. มีความเสียสละ และเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมำกกว่ำส่วนตน

5. สำมำรถทำงำนร่วมกับผู้อื่น

6. ใช้เสียงข้ำงมำกโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้ำงน้อย

7. ยึดถือหลักความเสมอภาค และเท่าเทียมกันของสมาชิก

8. ปฏิบัติตนตามกฎข้อบังคับของสังคม

9. ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี

10. รู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี

1.5 ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนำไปอย่างมั่นคง

2. เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ

3. สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย

4. สมำชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จากกฎหมายเท่าเทียมกันเกิดความเป็นธรรมในสังคม

5. สมาชิกในสังคมมีควำมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน

1.5 ความสาคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่ำงมั่นคง

2. เกิดควำมรักและความสามัคคีในหมู่คณะ

3. สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย

4. สมำชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จำกกฎหมำยเท่าเทียมกันเกิดความเป็นธรรมในสังคม

5. สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน