เรื่องที่ 2 สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ

และหน้าที่ของพลเมือง

ในวิถีประชาธิปไตย

สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย

1. ความหมาย ความสาคัญ

1.1 สถานภาพสถานภาพ หมายถึง ฐานะหรือเกียรติภูมิของบุคคลที่อยู่ในสังคม เป็นตำแหน่งของบุคคลหนึ่งที่ได้รับความนับถือจากสาธารณชนสถานภาพเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้น เป็นสิ่งกำหนดเฉพาะตัวบุคคลที่ทำให้แตกต่างจากผู้อื่นสถานภำพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. สถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่สถานภาพทางวงศาคณาญาติ เช่น เป็นลูก หลาน พี่น้อง ฯลฯสถานภาพทางเพศ เช่น เพศหญิง เพศชายสถานภาพทางอายุ เช่น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่สถานภาพเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนอังกฤษ สถานภาพทางถิ่นกำเนิด คนในภำคเหนือ คนในภาคใต้สถานภาพทางชนชั้นในสังคม เช่น เชื้อพระวงศ์ คหบดี หรือชนชั้นต่าง ๆ ในกลุ่มชนที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ชนชั้นพราหมณ์ ฯลฯ

2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หมายถึง สถานภาพที่ได้มาจากแสวงหาหรือได้มาจากความสามารถของตนเอง ได้แก่สถำนภำพทำงกำรศึกษา เช่น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกสถานภาพทางอาชีพ เช่น เป็นครู เป็นหมอ เป็นนักการเมืองสถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีสถานภาพทางการสมรส เช่น โสด สมรส หม้าย

1.2 บทบาท บทบาท หมายถึง การทาหน้าที่ตามสถานภาพที่สังคมกำหนด เช่น นายเอกมีสถานภาพเป็นพ่อ ต้องดำเนินบทบาทในการให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี ส่งเสียบุตรให้ได้รับกำรศึกษำที่สมควรตามวัย ส่วนนำยโทมีสถำนภำพเป็นบุตรที่ต้องดำเนินบทบำทเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ตั้งใจหมั่นเพียรในการศึกษา ช่วยเหลือบิดำมารดาในกำรทำงำนบ้ำนตำมควรแก่วัย

1.3 สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่“สิทธิ” หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลที่มีกฎหมายให้ ความคุ้มครอง เช่น สิทธิในการนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ การได้รับการศึกษา ฯลฯ“เสรีภาพ” หมายถึง ความมีอิสระในกำรกระทำของบุคคล ซึ่งกำรกระทำนั้นจะต้องไม่ ขัดต่อกฎหมาย เช่น การแต่งกาย การแสดงความคิดเห็น

“หน้าที่” หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิเสรีภาพ เป็นรากฐานสำคัญในการปกครองตำมระบอบประชำธิปไตย กำรที่จะรู้ว่ำกำรปกครองของประเทศใดมีควำมเป็นประชาธิปไตยได้มำกน้อยเพียงใด ต้องดูที่สิทธิเสรีภำพของประชำชนในประเทศนั้น ๆ เป็นสำคัญ ถ้ำประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมาก ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็มีมำก หำกสิทธิเสรีภำพของประชำชนถูกจำกัดหรือลิดรอนโดยผู้มีอำนาจในการปกครอง ประชาธิปไตยก็จะมีไม่ได้ ด้วยเหตุนี้กฎหมำยรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จึงได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภำพของประชำชนไว้อย่ำงแจ้งชัดส่วนหน้ำที่ นั้น เป็นกรอบหรือมำตรฐำนของกำรปกครองในระบอบประชำธิปไตย ทั้งนี้ก็เพรำะว่ำ การปกครองระบอบประชาธิปไตย นั้น ต้องอาศัยกฎหมายเป็นหลักในการดำเนินการ หากประชาชนไม่รู้จักหน้าที่ของตน ไม่ปฏิบัติตำมกฎหมายระบอบประชาธิปไตยก็จะดำรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ดังนั้น สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ จึงมีความสำคัญอย่ำงยิ่งในการปกครองตำมระบอบประชาธิปไตยซึ่งขาดเสียมิได้เด็ดขาด

1.4 ความสาคัญของสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่

1. การที่รัฐได้บัญญัติ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ของบุคคลในรัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนได้รับความคุ้มครอง และปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาค และยุติธรรม

2. บุคคลทุกคนจะต้องรับทราบ และพึงปฏิบัติตามขอบเขตสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่ได้บัญญัติใช้ในรัฐธรรมนูญ

3. การใช้อำนาจรัฐจะต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

4. ทั้งรัฐและประชาชนพึงปฏิบัติตามหน้าที่ที่บัญญัติใช้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ย่อมก่อให้เกิดควำมสงบร่มเย็นผำสุกในชาติ

5. หน้ำที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

5.1 หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5.2 หน้าที่ในการป้องกันประเทศ ได้แก่ การช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ เช่น การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การสมัครเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน เป็นต้น

5.3 หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฎหมาย โดยชายไทยทุกคนเมื่ออายุ 20 ปี บริบูรณ์ จะต้องไปตรวจเข้ารับการเกณฑ์ทหารประจำการ เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกำลังสำคัญเมื่อเกิดภาวะสงครำม

5.4 หน้าที่ในการปฏิบัติตนตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อควำมเป็นระเบียบเรียบร้อยทำให้สังคมมีความสงบสุข และสมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

5.5 หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อรัฐจะได้มีรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับประชำชน และชุมชนในประเทศ

5.6 หน้ำที่ในกำรรับกำรศึกษำภำคบังคับตำมเงื่อนไข และวิธีกำรที่กฎหมำยกำหนด เพื่อช่วยให้มีคุณภำพที่ดี และเป็นกำลังใจในกำรพัฒนำประเทศต่อไป

5.7 หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการตามกฎหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม

5.8 หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ เป็นกาจรรโลงการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้ยั่งยืนสืบไป