ภาษาเหนือ

คำเมือง (คำเมือง: Lanna-Kham Mueang.png ) [กำเมือง]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ[2] เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย

คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ

พื้นที่การใช้ภาษา

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือไว้ว่า ภาคเหนือตอนบนประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่ และน่าน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเหนือเป็นภาษากลาง และภาคเหนือตอนล่างประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยกลาง แต่มีเขตที่พูดภาษาไทยถิ่นเหนือด้วยหลายตำบล เช่น ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, อุตรดิตถ์, พิจิตร และพิษณุโลก

สมทรง บุรุษพัฒน์ ได้ระบุว่าภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาที่พูดกันทางตอนเหนือของไทย ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, ตาก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และบางอำเภอของจังหวัดสระบุรี

กาญจนา เงารังษีและคณะ ได้สรุปผลการศึกษาภาษาถิ่นเหนือที่ใช้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยระบุว่า ภาษาเหนือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

การพูดคำเมืองในสมัยปัจจุบัน

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดังเดิมนั้นหายากแล้วเนื่องจากมีการรับอิทธิพลภาษาไทยภาคกลาง ทั้งในสำเนียงและคำศัพท์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนรวบรวม ประโยค กำเมือง ดั้งเดิม


กิ๋นข้าวแล้วกา = กินข้าวแล้วใช่ไหม

ยะอะหยั๋งกิ๋นกา = ทำอะไรกินหรอ

ไปตังใดมา = ไปแถว(ที่)ไหนมา

การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้น คำเมืองจะเรียกว่า แปล๊ด (ปะ-แล๊ด, ไทยแปล๊ดเมือง) ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบใน คนที่พูดคำเมืองมานาน แล้วพยายามจะพูดไทย หรือ คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมือง เผลอพูดคำทั้ง ๒ ภาษามาประสมกัน อนึ่งการพูดคำเมืองมีการแยกระดับของความสุภาพอยู่หลายระดับ ผู้พูดต้องเข้าใจในบริบทการพูดว่าในสถานการณ์นั้นๆ ต้องพูดระดับภาษาอย่างไรให้เหมาะสมและมีความสุภาพ เพราะมีระบบการนับถือผู้ใหญ่ คนสูงวัยกว่า อาทิเช่น

ลำ (อร่อย)

ลำแต๊ๆ (สุภาพที่สุด)

ลำขนาด (สุภาพรองลงมา)

ลำแมะฮาก (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)

ลำใบ้ลำง่าว (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)

ลำง่าวลำเซอะ (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกันมากๆ) เป็นต้น