ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล

มื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ ดิฉันได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการจัดตั้งและการขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนา ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต. ณ. โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจจึงเก็บสาระมาฝากดังนี้

๑)นิยาม ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) เป็นศูนย์ที่จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่โดยจะให้เป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลที่มีการบริหารจัดการกันเองไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเลือกตั้ง สามารถดำเนินการเรื่องอื่นได้โดยบูรณาการทรัพยากรในพื้นที่มาช่วยกันดำเนินงานในวิถีชีวิตประชาธิปไตย

๒.)แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ภายใต้กรอบความคิดว่า ประชาธิปไตยควรสร้างขึ้นจากคนในท้องถิ่น (ชุมชน) เพื่อสร้างให้ท้องถิ่นมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกของสังคมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีความรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นเคารพความเห็นต่าง ความเสมอภาค กติกา หรือกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมโดยเริ่มที่ตนเอง เมื่อสมาชิกในชุมชนมีความเป็นพลเมืองจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย

๓)หลักการสำคัญการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) เพื่อให้มีองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลโดยให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าขององค์กร เป็นเวที หรือ สถานที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน การขับเคลื่อนงานโดยคนในพื้นที่ มีการประสานงานทุกภาคส่วน เน้นสามประสาน “ บวร” เรียนรู้โดยการกระทำอย่างต่อเนื่อง

๔ )กฎของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี ๓ ข้อ คือ๑) มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืน ประชาชนต้องสร้างเอง

๒) หน่วยงานภายนอกเป็นแต่ผู้สนับสนุน ช่วยเหลือส่งเสริมหรือให้คำปรึกษา

๓) ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อนแต่ใช้การผสานพลังทุกภาคส่วนร่วมมือกั ๕)วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.)

มี ๔ ข้อคือ ๑) เป็นศูนย์กลางปฎิบัติงานและประสานงานของเครือข่ายในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับตำบล ๒)เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน อันเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืน ๓) เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตระหนักถีงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตนต่อการพัมนาประชาธิปไตย ๔) เพื่อเป็นเครือข่ายในการรณรงค์ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเลือกตั้งให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือการบริการประชาชนในการเลือกตั้งและกิจกรรมอื่นๆ

๖โครงสร้างคณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.)ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ท้องถิ่น/เจ้าคณะตำบล ตัวแทนพลเมืองอาสา ผู้แทนสถานศึกษา/ผุ้แทนสถานศึกษาที่มีหน่วยลูกเสืออาสากกต. ผู้แทนอสม. อช. ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผุ้บริหารอปท. ครูกศน.ตำบล (อาจเพิ่มเติมได้อีก๒-๓ คน )

๗) การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ระยะเริ่มแรกสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่จะสนับสนุนงบประมาณวิทยากร เอกสาร โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่สนับสนุนงบประมาณ ๒๖ แห่ง และอปท. สนับสนุน ๔๔ แห่ง จากทั้งหมด ๗๐ แห่ง ปัจจุบันจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ไปแล้ว ๗๐ แห่ง และจะขยายไปทั่วประเทศ โดยใช้ศูนย์ฯที่จัดตั้งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้นแบบหรือนำร่อง