ถ้ำหลวงผาเวียง
"แหล่งท่องเที่ยว  เชิงประวัติศาสตร์"

ประวัติความเป็นมา "ถ้ำหลวงผาเวียง"

หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวักลพูน 

ถ้ำหลวงผาเวียง เป็นถ้ำที่มีโพรงคูหาขนาดใหญ่ และลึกเข้าไปในภูเขาเป็นระยะทางที่ยาวมาก ภายในถ้ำหลวงผาเวียงมีช่องชั้นคูหามากมายหลักๆ แบ่งเป็น 9 ห้อง มีหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ งอกย้อยลงมาเป็นรูปต่างๆ ที่วิจิตรงดงามตระการตาสุดที่จะพรรณนาได้ ยามสะท้อนแสงไฟหินย้อยดังกล่าวจะให้แสงวาววับระยับประดุจดังมณีอันล้ำค่า ถ้ำหลวงแห่งนี้อยู่ที่ภูเขาด้านใต้ของอำเภอบ้านโฮ่ง 

ที่มาขอชื่อว่า "ถ้ำหลวง" หรือ "ถ้ำหลวงผาเวียง"

เนื่องจากรอบๆ บริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของถ้ำหลวงผาเวียงจะมีถ้ำขนาดเล็กที่ชาวบ้านรู้จักอยู่อีก 4 แห่ง คือ ถ้ำแข้งช้าง ถ้ำผาคืน และกลุ่มถ้ำก๋อข่อย ซึ่งประกอบด้วย ถ้ำก๋าข่อย ถ้ำน้ำ ถ้ำนกเค้า ถ้ำพระพรหมจักโก (เป็นชื่อที่พระตั้ง) ปัจจุบันกลุ่มถ้ำก๋อข่อยมีพระอาศัยพักปฏิบัติธรรมอยู่ (เป็นพระจากวัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน) ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการเรียกชาวบ้านจึงนิยมเรียกชื่อถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึก อันเป็นถ้ำประธานในพื้นที่บริเวณเดียวกันว่า "ถ้ำหลวง" ตามลักษณะของถ้ำ นอกจากนี้แต่เดิมมาคนเฒ่าคนแก่ของพื้นที่จะเรียกถ้ำหลวงแห่งนี้ว่า "ถ้ำหลวงผาเวียง" โดยตั้งชื่อถ้ำตามหินงอกหินย้อยที่มีลักษณะเหมือนผ้าม่านท้องพระโรง (ซึ่งเรียกกันว่า ผาเวียง)เป็นชื่อถ้ำอีกชื่อหนึ่ง 

ลักษณะของถ้ำ

ถ้ำหลวงผาเวียงนี้    ถูกค้นพบเมื่อใดไม่ปรากฏแต่คาดว่าจะรู้จักของคนในท้องถิ่นที่ตั้งแต่เริ่มมีการตั้งฐานบ้านเรือนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่งมาไม่น้อยกว่า 400-500 ปีมาแล้วบางทีอาจจะเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยพระนางจามมะเทวีองค์ปฐมบรม กษัตริย์ของอาณาจักรหริภุญชัยแล้วก็ได้แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดด้วยเหตุนี้ถ้ำหลวงผาเวียงเป็นถ้ำขนาดใหญ่และลึกมาก มากกว่า 1000 มิตรจึงยังไม่ได้มีการสำรวจอย่างทั่วถึงเมื่อราวปีพุทธศักราช 2518-2519 ทางราชการอำเภอบ้านโฮ่งคณะสงฆ์และพี่น้องประชาชนเคยได้มีการริเริ่มพัฒนาถ้ำหลวงผาเวียงนี้ให้เป็นปูชนียสถานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาแล้วครั้งหนึ่งโดยมีการติดตั้งเครื่องปั่นไฟและติดตั้งสายไฟสองสว่างเข้าไปในถ้ำลึกประมาณ 1.2 กิโลเมตรมีการปรับปรุงส่วนถ้ำด้านนอกให้เหมาะสมแล้วกรอบพระพุททะรูปปูนประดิษฐานไว้หนึ่งองและมีพระอาศัยปฎิบัติธรรมอยู่แต่ต่อมาได้มีการเลิกร้างไปปัจจุบันนานๆจะมีพระธุดงค์จารึกมาพักปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราวถ้ำหลวงพระเวียงแบ่งช่วงของโพรงถ้ำได้กว้างๆ 2 ช่วง คือช่วงถ้ำแจ้ง(มีแสงสว่างรอดเข้าถึง) และมีลักษณะเป็นโพรงกว้างๆ ประจุคนได้ประมาณ 500 คนมีความยาวจากปากทางเข้าไปประมาณ 200 เมตรกลับช่วงค่ำมืดซึ่งมีความยาวลึกเข้าไปในภูเขาอีกประมาณมิได้จากการสัมภาษณ์พระครูวิจิตรธรรมทาดา เจ้าคณะตำบลป่าพลู ทราบว่านอกจากจะมีการติดตั้งไฟฟ้าเมื่อปี 2518-2519 ดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีการเข้าถ้ำลึกเข้าไปอีกมากยังไม่เคยมีชาวบ้านผู้ใดเคยเข้าไปสุดถ้ำมีแต่เหล้ากันปราบปรามเกี่ยวกับความลึกความวิจิตรพิสดารของถ้ำเท่านั้นส่วนที่ไฟฟ้าแสงสว่างเข้าเมื่อก่อนนั้นก็มีดูหาช่องลึกสลับซับซ้อนและมีหินยอกหินย้อยธรรมชาติอยู่มากมายสวยงามมากๆและในถ้ำลึก มีคนเข้าไปพบแอ่งน้ำมีทางน้ำไหลและมีงูตัวใหญ่ใหญ่อาศัยอยู่นอกจากนี้ถ้ำหลวงพระเวียงแห่งนี้ในอดีตน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหลบภัยสงครามของผู้คนในบริเวณใกล้เคียงด้วยดังจะเห็นได้จากตอนที่มีคนเข้ามาบูรณะปรับปรุงถ้ำหลวงเมื่อปีพุทธศักราช 2518-2519 นั้นพบ “มอง” (ดรกกระเดื่องสำหรับตำข้าว) ซึ่งเป็นของเก่าและมีสิทธิ์เก็บเสร็จลำตกอยู่เรียงรายในบริเวณของทำด้วย

ห้องในถ้ำ 9 ห้อง

ห้องที่ 1 ลานรมณีย์ มีหินงอกหินย้อย ประกอบด้วย โคมเพชรระย้า พฤกษาจำหลัก ปักษีไอยราพุทธาสถาน ปราการผาเวียง เสลี่ยงปทุมา

ห้องที่ 2 อัคนีโขดเขิน มีหินงอกหินย้อย ประกอบด้วย เชิงผาหิมพานต์ ลำธารเกล็ดแก้ว แวววาวรัตนา

ห้องที่ 3 เนินไศลงามตา

ห้องที่ 4 คูหาวิจิตร มีหินงอกหินย้อย ประกอบด้วย อาศรมฤาษี นาคีต้องมนต์ตรา

ห้องที่ 5 อุทยานหินวิไล มีหินงอกหินย้อย ประกอบด้วย เทวีวิมาน ม่านภูผา ธาราหยาดเพชร

ห้องที่ 6 อุ่นไอทิพย์ธรณี

ห้องที่ 7 ชลธีเจิดจรัส

ห้องที่ 8 สมบัติอัมรินทร์

ห้องที่ 9 ดอยดินแดนสวรรค์ 

เรื่องเล่าปรัมปราเกี่ยวกับถ้ำหลวงผาเวียง

เล่ากันว่าในถ้ำลึกเข้าไปนั้น มีสระน้ำ มีดอกบัว มีปลาอาศัยอยู่ และมีคนโบราณเก็บเครื่องของใช้ที่เป็นทองคำและเงิน เช่น ถาดเงิน ถาดทอง สร้องเงิน ฯลฯ เป็นต้นไว้เป็นจำนวนมาก คนรุ่นก่อนๆ เมื่อมีงานทำบุญ  มีงานประเพณีจะไปจุดธูปเทียนกราบไหว้ขอยิมของเหล่านั้นมาใช้งาน  เช่น ยืมขะจุ๋มลูกแก้ว (ชฎาหรือลอมพอกที่สวมหัวนาคผู้ที่จะบวชซึ่งแต่งตัวเข้าขบวนแห่) เป็นต้น  ต่อมาคนรุ่นหลังๆ ไม่ค่อยซื่อสัตย์ไปยืมของแล้วไปคืนบ้าง  เอาของปลอมไปคืนบ้าง  เทพารักษ์ผู้รักษาข้าวของเหล่านี้จึงลงโทษให้เกิดภัยพิบัติ  แก่ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์และได้ปิดประตู้ถ้ำแยกช่องนี้เสีย  ปัจจุบันจะเห็นเป็นดินหินเกลือถมทับปากถ้ำนั้นไว้อย่างมิดชิด อีกเรื่องก็เล่าว่า เคยมีคนเข้าไปในถ้ำหลวงแล้วพลัดหลงก็เดินหาทางออกไม่เจอ ต้องหลงอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 7 ปี คนพลังหลงก็เดินทางไปเรื่อยๆ จนไปทะลุออกที่ถ้ำเชียงดาว เมื่อกลับออกมาได้แล้วมีผมเผ้ารุงรังยาวมากนอก จากนี้ก๊มี เรื่องเล่ากันอีกเรื่องหนึ่ง คือ ในถ้ำนี้มีหีบธรรมชาติโบราณตั้งอยู่ในถ้ำ  ที่เข้าไปอีกลึกมาก  แต่ปัจจุบันไม่พบว่าจะอยู่ที่คูหาไหนของถ้ำ 

แผนที่การเดินทางเข้าท่องเที่ยวศึกษา ถ้ำหลวงผาเวียง
"แหล่งท่องเที่ยว  เชิงประวัติศาสตร์"

ข้อมูลการติดต่อ นายพิริยะ  วงศ์ฝั้น ผู้ใหญ่บ้านป่าพลู หมู่ที่ 2  ตำบลป่าพลู  อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน



ข้อมูลเนื้อหา โดย นายพิริยะ  วงศ์ฝั้น

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายทวีศักดิ์  ศรีชัยวงศ์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายทวีศักดิ์  ศรีชัยวงศ์