โคมล้านนา-พระพุทธบาทสามยอด

บ้านป่าพลู หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นหมู่บ้านที่ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร การทำสวนลำไย สวนมะม่วงและการปลูกหอมแดง เป็นต้น ซึ่งหลังจากการทำการเกษตรชาวบ้านจะว่างงานไม่มีอาชีพอื่นนอกเหนือจากการเกษตร และเป็นหมู่บ้านที่มีผู้สูงอายุมาก เป็นหมู่บ้านเชิงวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา

จากความคิด-สู่การเปลี่ยนแปลง

ชาวบ้านและผู้สูงอายุ บ้านป่าพลู หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน หลังจากช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเสร็จสิ้นได้
มีการร่วมกลุ่มกันระดมความคิดหาอาชีพในช่วงว่างงานได้มีการเข้าปรึกษากับพระอดุลย์ อาภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดป่าพลู และท่านให้คำแนะนำในการ
สืบสานความเชื่อประเพณีพิธีกรรมของชาวล้านนาที่มีความเชื่ออย่างหนึ่งที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านาน คือ การจุดประทีปโคมไฟให้ความสว่างไสวเป็นพุทธบูชา โดยแสงสว่างเริ่มจากไส้เทียนเล็กๆ จะลุกโชติช่วงให้แสงงามตามบ้านเรือนในช่วงงานเทศกาลอันเป็นมงคลต่างๆและส่องแสงภายในใจของพุทธศาสนิกชน มาแต่ครั้งปู่ย่า ตายาย ประเพณีสืบเนื่องจากศาสนา และความเชื่อของชุมชน จะสอดคล้องกับสภาพ ภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม 
ที่จะได้ทำบุญอุทิศกุศลกัลปนาแก่บรรพชนของตน  

พระอดุลย์ อาภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดป่าพลู จึงให้ชาวบ้านทำโคมล้านนา โดยในปี พ.ศ. 2562 มีการรวมกลุ่มชาวบ้านประมาณ 40 คน และมีการยืนเรื่องของบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดลำพูน เพื่อนำเงินงบประมาณ จัดหาวิทยากร มาฝึกทำโคมล้านนาให้แก่ชาวบ้าน บ้านป่าพลู โดยมีการจัดฝึกการทำโคมล้านนา โดยใช้เวลา 2 วัน ในช่วงนั้น ให้ช่วงบ้านได้มีอาชีพหลังจากการทำการเกษตร โดยในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการทำส่งให้แก่ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน จำนวน 2,000 ลูก และทำส่งทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน

โคมล้านนา-สู่อาชีพ

โคมล้านนา เป็นงานหัถตกรรมพื้้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้วและประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข โดยโคมล้านนา ทำจาก ไม้ไผ่ ผ้า ที่สามารถเก็บไว้ใช้งานได้ยาวนาน
มีรูปทรงที่สวยงามและมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกันออกไป โดยขนาดมาตรฐานจะอยู่ที่ 8x6.5 ซม. และมีขนาดยอด 9 ซม. ราคาขายจะต่างกันไปตามขนาดและรูปทรงและความยากง่าย ราคาขายโคมล้านนาขนาดมาตรฐานอยู่ที่ ลูกละ 40 บาท โดยในปีที่ผ่านชาวบ้าน บ้านป่าพลู ทำการผลิตส่งให้กับวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน จำนวน 5,000 ลูก และได้มีการให้ทำลวดลายที่ติดโคมล้านนาเป็น ของหมู่บ้านเองพร้อมเป็นลวดลายของอำเภอบ้านโฮ่ง คือ ลายพระพุทธบาทสามยอด เป็นสัญญาลักษณ์ 

วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำโคมล้านนา

ขั้นตอนการทำโคมล้านา

ขั้นตอนที่ 1 เหลาไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ความยาวตามขนาดของโคมที่จะทำ คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

ขั้นตอนที่ 2 ทำโครงของโคมโดยการใช้คีมหักไม้ไผ่ตามลักษณะของโคมของโคม เช่น ถ้าเป็นโคม 8 เหลี่ยมให้หักเป็น 4 เหลี่ยม จำนวน 9 ชิ้น ถ้าเป็นโคม 6 เหลี่ยมให้หักเป็น 7 เหลี่ยม จำนวน เผื่อไว้ในการประกอบ

ขั้นตอนที่ 3 ประกอบโครงของโคมขึ้นเป็นรูปร่างตามลักษณะ เหลี่ยมชนเหลี่ยมโดยใช้กาว บอนด์-เทค ผสมกับกาวลาเท็กซ์ ทาแล้วใช้กิ๊บหนีบผ้าหนีบขึ้นรูปทรงไว้ 

ขั้นตอนที่ 4 ใช้ผ้าโทเรสีต่าง ๆ ที่เตรียมไว้มาตัดและติดตามช่องของโคม 

ขั้นตอนที่ 5 ทำส่วนหูกระต่ายโดยหักไม้ไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมมัดติดตรงส่วนของหัวโคมแล้วติดด้วยผ้าโทเร สุดท้ายตัดผ้าโทเรตกแต่งหางโคม ความยาวและลวดลาย 

ขั้นตอนที่ 6 นำกระดาษสีทองมาตัดลวดลาย สัญญาลักษณ์พระพุทธบาทสามยอด ติดตรงช่องโคมล้านนาดดยติดสลับช่อง และตัดเป็นลวยลายล้านนาติดตามขอบของโคม และใส่เชือกแขนวไว้

นางอำพร วงค์ฝั้น  

บ้านเลขที่ 59 บ้านป่าพลู หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ตำแหน่ง แม่หลวงบ้านป่าพลู 

แผนที่การเดินทางและการติดต่อ

ข้อมูลการติดต่อ นางอำพร  วงค์ฝั้น

โทรศัพท์ : 082-3919552

ที่อยู่ : บ้านป่าพลู เลขที่ 59 หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 51130 

ข้อมูลเนื้อหา โดย นางอำพร  วงค์ฝั้น

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายทวีศักดิ์  ศรีชัยวงศ์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายทวีศักดิ์  ศรีชัยวงศ์