ประเพณีทานก๋วยสลาก

1. ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีกินสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทำกันมา สืบกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การตานก๋วยฉลากมิได้เลือกเจาะจงพระสงฆ์ มีลักษณะโดยทั่วไปคลายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัทรของชาวไทยภาคกลาง นิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องทำบุญเป็นภัตรตาหารไม่เหมือนกับภาคกลาง

คำว่า ก๋วย แปลว่า ภาชนะสาน ประเภทตะกร้าหรือฉลอมการตานก๋วยสลากจึงหมายถึงการถวายทานโดยวิธีการจับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอมโดยการถวายตานก๋วยสลากนี้มีจุดมุ่งหมายสองอย่างด้วยกัน คือ อย่างหนึ่งเป็นการอุทิศให้เทวดาและผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและอีกอย่างหนึ่งเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเองเมื่อล่วงลับไปในภาคภาคหน้า การถวายก๋วยสลาก ถือได้ว่าได้อานิสงค์แรง เพราะเป็นการทำบุญแบบสังฆทาน ผู้ถวายไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดๆ

พิธีกรรมในวันดา ซึ่งเป็นวันเตรียมงาน ผู้ชายจะช่วยกันสานก๋วยไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะจัดเตรียมเครื่องไทยทานที่จะบรรจุลงในถ้วยอาทิข้าวสาร พริก หอม กระเทียม เกลือ อาหาร ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ตามแต่ศรัทธา ในการเตรียมเครื่องไทยทานนี้มักจะมีญาติมิตรมาขอร่วมทำบุญด้วย เรียกว่า-ฮอมครัว นอกจากนั้นในแต่ละก๋วยจะมียอดคือธนบัตรตามแต่ศรัทธาประดับไว้ด้วย ที่สำคัญก็คือเจ้าของก๋วยจะต้องเขียนชื่อของตนและคำอุทิศไว้ในใบลานหรือกระดาษเล็กๆ ขนาดกว้าง 12 นิ้ว เรียกว่า เส้นสลาก

วันสลาก จะมีการตานก๋วยสลากแล้ว ก็จะมีแม่บ้าน เยาวชน ภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคยงฟ้อนรำ ภายในบริเวณวัดด้วย และมีการแห่ครัวทาน เป็นประเพณีที่ชาวบ้านนำเอาสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค วัสดุอุปกรณ์จตุปัจจัยไทยทาน ที่ช่วยกันคิดและทำขึ้นเป็นรูปแบบต่างๆ และนำไปถวาย วัด หลังจากแห่ครัวตามเสร็จชาวบ้านจะนำเส้นสลากนี้ไปรวมกันไว้แล้วแบ่งถวายพระภิกษุสามเณรไปโดยไม่เจาะจง จากนั้นจึงจะมีผู้ขานชื่อในเส้นสลากแต่ละเส้นดังๆ เจ้าของก็จะนำเอาก๋วยของตนไปถวายพระภิกษุหรือสามเณรตามสลากนั้นๆ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลาก และกล่าวอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี