การทำบุญตักบาตรและการสร้างกุศลด้วย

การปล่อยนกปล่อยปลา

สมัยโบราณเมื่อวันสงกรานต์ประชาชนจะพากันตื่นแต่เช้ามืด เตรียมหุงข้าวต้มแกงเพื่อนนำไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่สีสันสดใส โดยเฉพาะหนุ่มสามเพราะจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันได้อย่างสะดวก แต่ก็ต้องอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่เมื่อทำบุญตักบาตรหรือเลี้ยงพระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น ก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งเป็นการขนทรายเข้าวัดสำหรับไว้ใช้ในงานก่อสร้างโบสถ์วิหาร มีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเท่ากับเป็นการแพร่ขยายพันธ์สัตว์ให้คงอยู่ไปชั่วลูกชั่วหลาน และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือการสรงน้ำพระการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปจนถึงการเล่นสาดน้ำกันเองในหมู่หนุ่มสาว

การปล่อยปลา ถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ลงแม่น้ำ ถือว่าผู้เคราะห์ไม่ดี ทำบุญเพื่อให้ชีวิตสัตว์ จะถือเป็นกุศลใหญ่เพราะตั้งใจให้ทานชีวิตสัตว์ ส่งผลให้ชีวิตดีขึ้นและแก้ไขดวงชะตาได้ให้พ้นเคราะห์ได้

การปล่อยปลาแทนการส่งเคราะห์ดังนี้

1.ปล่อยปลาไหล ช่วยด้าน การงานราบรื่นขึ้น

2. ปล่อยหอยขม ช่วยด้าน ให้พ้นความขมขื่นเรื่องต่างๆ

3. ปล่อยเต่า ช่วยด้าน ให้อายุยืนขึ้น

4. ปล่อยปลาหมอ ช่วยด้าน ให้โรคภัยหาย

5. ปล่อยปลาช่อน ช่วยด้าน ให้แคว้นคลาดต่างๆ

6. ปล่อยปลาทั่วไป ช่วยด้าน ให้ร่มเย็นเป็นสุข

จำนวนปลา ตามกำลังวันเกิด

· ท่านที่เกิดวันจันทร์ ปล่อย 15 ตัว

· ท่านที่เกิดวันอังคาร ปล่อย 8 ตัว

· ท่านที่เกิดวันพุธกลางวัน ปล่อย 17 ตัว

· ท่านที่เกิดวันพุธกลางคืน ปล่อย 12 ตัว

· ท่านที่เกิดวันพฤหัส ปล่อย 19 ตัว

· ท่านที่เกิดวันศุกร์ ปล่อย 21 ตัว

· ท่านที่เกิดวันเสาร์ ปล่อย 10 ตัว

· ท่านที่เกิดวันอาทิตย์ ปล่อย 9 ตัว

คาถาปลดปล่อย

พุทธังอนันตัง ธัมมังครอบจักรวาล สังฆังนิพพานัง นะปัจจะโยโหตุ

คำอธิษฐาน

ข้าพเจ้าได้ปล่อยสัตว์เพื่ออุทิศ ส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรม นายเวร ขอบุญกุศลนี้ จงช่วยดลบันดาลให้ข้าพเจ้า และ ครอบครัว มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เงินทองไหลมาเทมา ขอให้พระแม่คงคา ช่วยโมทนาบุญให้ ข้าพเจ้าและครอบครัวด้วยเทอญ. (นึกถึงสิ่งดีงามและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพรักบูชา