การสืบชะตา

การสืบชะตา คือ การต่ออายุให้อยู่ยืนยาวต่อไป พิธีกรรมที่มีพระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรมแบ่งออกเป็น สืบชะตาคน สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาเมือง การสืบชะตาคนโดยทั่วไปนิยมทำกันในช่วงปีใหม่ แต่ก็มีการทำงานในโอกาสอื่นๆ ด้วย เช่น ขึ้นบ้านใหม่ ครบรอบวันคล้ายวันเกิด ได้เลื่อนยศตำแหน่งแต่งงาน เป็นต้น สำหรับการสืบชะตาบ้าน ปกติมักจะทำกันในช่วงสงกรานต์ ราววันที่ 16,17,18 เมษายน แต่หากเกิดความไม่สงบสุขในหมู่บ้าน เช่น โรคระบาด ก็มักจะจัดการสืบชะตาหมู่บ้านด้วยเช่นกันการประกอบพิธีสืบชะตานั้น มักทำกันในตอนเช้าถึงเที่ยงวันเท่านั้น ผู้ที่จะสืบชะตาจะเป็นผู้กำหนดวันประกอบพิธีจะนิมนต์พระสงฆ์มา 1 รูป หรือ 4 รูป ก็ได้แต่ไม่เกิน 5 รูป และจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีสืบชะตา ดังนี้

3.1 ไม้ง่ามค้ำศรี ซึ่งเป็นไม้ง่ามขนาดเล็ก จำนวนเท่ากันหรือมากกว่าอายุของ ผู้สืบชะตาประมาณ 1-3 อันก็ได้

3.2 ไม้ง่ามขนาดเขื่อง 3 อัน แล้วนำไม้ง่ามกำศรีมามัดติดไม้ง่ามใหญ่ โดยแบ่งเป็นมัดๆ เท่าๆ กัน 3 มัด

3.3 กระทงกาบกล้วย (สะตวง) ข้างในใส่ หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ ข้าวต้ม ขนมต่างๆ ปักช่อ (ธงสามชายทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) รอบๆ กระทง 9 อัน

3.4 ขันตั้ง เป็นพานใส่กรวยหมากพลู 8 อัน กรวยดอกไม้ธูปเทียน 8 อัน กระทงเล็กๆ ใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร อย่างละ 1 อัน ผ้าขาว ผ้าแดง หมาก 13 เส้น เบี้ย 13 อัน

3.5 หน่อกล้วย หน่ออ้อย กระบอกข้าวเปลือก กระบอกข้าวสาร กระบอกน้ำ กระบอกทราย สะพานลวดเงิน สะพานลวดทอง เมื่อจัดหาอุปกรณ์ครบแล้วพอได้เวลาพระสงฆ์จะมาถึงและทำพิธีให้กับผู้ที่จะสืบชะตาโดยเรียกขวัญสะเดาะเคราะห์และนำสิ่งของต่างๆ เหล่านี้ไปไว้ที่ต้นโพธิ์ หรือ ต้นศรี

การทำพิธีสืบชะตาเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ประสบเคราะห์กรรมหรือผู้ป่ายให้กลับคืนสู่สภาพปกติและเพื่อเป็นสิริมงคลขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไปได้

4. ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีเก่าแก่มาแต่โบราณสงกรานต์”คือวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทยตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ และถือเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ”และชาวบ้านหนยังเรียกกันว่า”วันสงขารล่อง”หมายถึงว่า อายุสังขารของคนเราได้ล่วงไปอีกคำว่า” สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตแปลว่า”ผ่าน” หรือ “เคลื่อนย้ายเข้าไป”หมายถึง เป็นวันที่พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ในเดือน เม.ย. ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนของทุกปี วันที่ 14 เป็น วันเนา วันที่ 15 เป็น วันเถลิงศก ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์มีดังนี้

สงกรานต์ที่แปลว่า เก้าขึ้น ย่างขึ้น นั้นหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่อันเป็นที่เกิดขึ้นทุกเดือนที่เรียกว่า สงกรานต์เดือนแต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้ว ย่างขึ้นราศีเมษอีกจัดเป็นสงกรานต์ปีถือว่าเป็นวันขึ้นไปใหม่ทาง

สุริยคติในทางโหราศาสตร์

มหาสงกรานต์ แปลว่า เก้าขึ้นหรือย่างขึ้นครึ่งใหญ่ หมายถึง สงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียวกล่าวคือสงกรานต์ หมายได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์หมายถึงสงกรานต์ปีอย่างเดียว

วันเนา แปลว่า วันอยู่ คำว่า เนา แปลว่า อยู่ หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ เข้าที่เข้าทางในราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว

วันเถลิงแปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลื่อนศกใหม่มาเป็น วันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้น สู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้น เรียบร้อยดีไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศก ถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ 3 ก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

เทศกาลสงกรานต์นอกจากวันขึ้นปีใหม่ยังเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ญาติมิตรกลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อพบปะกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็น วันครอบครัวแห่งชาติ เพราะเป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวได้ร่วมทำบุญประกอบพิธีสทางศาสนาต่างๆ ร่วมกัน