การทำน้ำอ้อยโบราณ (บ้านสบจาง)

การทำน้ำอ้อยโบราณ (บ้านสบจาง)

ตัดอ้อยยาวประมาณ 1-2 เมตร ล้างน้ำให้สะอาด หนีบอ้อยเอาน้ำออก แล้วตักน้ำอ้อยที่ได้มากลองผ้าขาวบาง นำไปตั้งไฟต้มจนน้ำเดือด ช้อนเอาขี้อ้อยทิ้งให้หมด เคี่ยวจนน้ำอ้อยข้น จนเหนียว โดยใช้ไม้พาย เสร็จแล้วยกออกจากเตา คนให้เย็น ใช้ไม้พายเล็กตักหยอดลงบนแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ เรียงไว้บนแถบไม้แห้งที่สะอาด รอจนน้ำอ้อยเย็นหรือน้ำอ้อยแข็งตัวแล้วดึงออกจากแม่พิมพ์ นำมารับประทานหรือจำหน่าย

วัสดุ-อุปกรณ์

1. อ้อยเล่มที่ตัดใหม่ๆ มะพร้าวหั้นเป็นแผ่นๆ งา ถั่ว

2. ที่สำหรับหนีบอ้อย

3. รางรองน้ำ

4. ถังน้ำ ขันน้ำ น้ำสะอาด

5. ผ้าบาง กระทะใบใหญ่

6. เตาไฟ ฟืน

7. แถบที่สานเป็นผืน โดยใช้ตอกสาน

8. ไม้พาย มีด

9. พิมพ์น้ำอ้อย

10. ไม้ที่สานมีลักษณะเป็นแตะ ไว้สำหรับตักขี้อ้อยทิ้ง

วิธีทำ

น้ำอ้อยเป็นสินค้าขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่งของ หมู่บ้าน สบจาง เป็นหมู่บ้านเดียวในจังหวัดลำปางที่มีการทำ น้ำอ้อยแบบโบราณ ไม่มีการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้ายังสืบทอดการทำน้ำอ้อยจากบรรพบุรุษ และไม่มีใครเหมือน โดยจะคั้นน้ำอ้อยออกมา ด้วยเครื่องคั้นน้ำอ้อยที่ทำมาจากไม้ ใช้แรงงานสัตว์ เช่น วัว ควาย มัดติดเครื่องอีดอ้อยโดย ใหัสัตว์(ควาย)เดินวนไปวนมา เครื่องก็จะหมุนน้ำอ้อยก็จะไหลออกมา แล้วก็จะนำน้ำอ้อยที่ได้ไปกรอง แล้วก็เคี้ยวจนเหนียว ใส่มะพร้าว ใส่ถั่วดิน (แล้วแต่ความชอบ) หลังจากนั้นก็นำไปหยอดลงแม่พิมพ์ ซึ่งทำจากไม้ไผ่ม้วนเป็นวงกลม พอแห้งก็สามารถเก็บไว้กินนานได้

ปัจจุบันนี้ในหมู่บ้านทำน้ำอ้อยไม่กี่ครอบครัว และนิยมใช้แรงงานคนแทนแรงงานสัตว์ เนื่องจากสัตว์มีจำนวนน้อยลง และมีขั้นตอนการทำทียุ่งยาก ซึ่งในอนาคตอาจไม่เหลือไว้ให้ลูกหลานเห็นได้ ทางผู้ใหญ่บ้าน ประธานแม่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านจึงจัดตั้ง น้ำอ้อยให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ไว้ไห้ลูกหลานเห็นสืบต่อไป