เรื่องที่ 7 การดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

ความหมายและความสำคัญของสุขภาพจิต

สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว

ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ

ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ

สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและ

จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้

วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง

ทั้งของตนเองและของผู้อื่น

ความสำคัญของสุขภาพจิต

"สุขภาพจิต" มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน ดังนี้

1. ด้านการศึกษา ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีจิตใจปลอดโปร่ง

สามารถศึกษาได้สำเร็จ

2. ด้านอาชีพการงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค

ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำงานก็บรรลุผลสำเร็จ

3. ด้านชีวิตครอบครัว คนในครอบครัวสุขภาพจิตดี ครอบครัวก็สงบสุข

4. ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมไม่เป็นที่รังเกียจ

ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี

5. ด้านสุขภาพร่างกาย ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็สดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม

สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย


บริการสำหรับผู้สูงอายุ

1. คลินิกผู้สูงอายุ เป็นบริการตรวจรักษาสุขภาพและโรคของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะเปิดบริการในโรงพยาบาลทั่วไป สำหรับการตรวจรักษาทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชนั้น จะเปิดบริการในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง

กำหนดวันและเวลาการเปิดบริการของสถานบริการ แต่ละแห่งนั้นอาจแตกต่างกัน บางแห่งเปิดบริการทุกวัน หรือให้บริการวันเว้นวัน บางแห่งให้บริการสัปดาห์ละ 1 วัน หรือให้บริการภาคเช้า บางแห่งให้บริการภาคบ่ายเป็นต้น

บริการตรวจสุขภาพกาย

  • ชั่งน้ำหนัก

  • วัดส่วนสูง

  • วัดความดันโลหิต

  • วัดการเต้นของหัวใจ

  • ตรวจหาน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะ

  • ตรวจนับเม็ดเลือดขาว

  • ตรวจการทำงานของไต

  • ตรวจหาโรคเก๊าท์

  • ตรวจไขมันคลอเลสเตอรอล

  • ตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์

  • ตรวจการทำงานของตับและกระดูก

  • การให้คำปรึกษาแนะนำในการดุแลรักษาสุขภาพ

บริการตรวจสุขภาพจิต

จัดบริการในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง

  • ตรวจภาวะความจำ การหลงลืม

  • ตรวจภาวะความคิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

  • ตรวจภาวะการพูด

  • ตรวจภาวะทั่วไปในเรื่อง วัน เวลา และสถานที่

2. บริการสงเคราะห์คนชรา บริการสงเคราะห์คนชรา เป็นบริการของรัฐที่ให้บริการผู้สูงอายุและคนชรา ที่ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู ไม่มีที่อยู่อาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวไม่ได้

บริการสงเคราะห์คนชรามี 2 ประเภท คือ

1. การสงเคราะห์คนชราภายใน ให้บริการดูแลผู้สูงอายุโดยมีที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราหรือที่เรียกกันว่า “บ้านพันคนชรา”

บริการเลี้ยงดู ให้บริการด้านปัจจัย 4 ได้แก่ ที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่มและการดูแลรักษาพยาบาลตลอดจนฌาปนกิจศพตามประเพณี

บริการอาชีวบำบัด ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและคนชรา ให้ได้ทำงานอาชีวบำบัดตามความถนัดและความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย โดยความสมัครใจ

บริการตรวจรักษาโรค ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป ถ้าป่วยหนักก็จะส่งเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล

บริการกายภาพบำบัด ให้บริการตรวจรักษาทางด้านกายภาพบำบัด โดยมีนักกายภาพบำบัดคอยดูแลประจำ พร้อมกับเครื่องมืออุปกรณ์ในการรักษา

บริการการปฏิบัติศาสนกิจ จัดให้มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามประเพณีมีการนิมนต์ พระสงฆ์มาเทศนาเป็นประจำทุกวันพระ ตลอดจนการบรรยายธรรม

งานสังคมสงเคราะห์ ให้คำแนะนำปรึกษาหารือแก้ปัญหาฟื้นฟู ปรับสภาพเฉพาะราย เฉพาะกลุ่มจัดกิจกรรมสันทนาการ การทัศนศึกษาและการทัศนาจรเป็น ครั้งคราว

2. การสงเคราะห์คนชราภายนอก จัดเป็นบริการของรัฐ เพื่อส่งเสริมชีวิตและครอบครัวของผู้สูงอายุให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและอบอุ่น เปิดบริการในลักษณะ “ศูนย์บริการผู้สูงอายุ” ผู้สูงอายุที่มาใช้บริการจะเป็นผู้ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงประเภทไป – กลับ ( เช้า – บ่าย)

บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป และการให้ความรู้ทางด้านสุขศึกษา แก่ผู้สูงอายุ สัปดาห์ละ 2 วัน

บริการตรวจรักษาทางด้านกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ สัปดาห์ละ 5 วัน

บริการให้คำปรึกษาหารือแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว

บริการด้านออกกำลังกาย เล่นกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการ การทำงานอดิเรก การพบปะสังสรรค์ การทัศนาจร ตลอดจนกิจกรรมทางศาสนา

บริการหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อออกเยี่ยมเยียนให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้สูงอายุตามบ้าน

บริการบ้านพักฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือคนชราที่มีปัญหาเดือดร้อน รุนแรง เป็นการชั่วคราว

บริการเสริมรายได้ของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้ทำงานอาชีวบำบัด หัตกรรม ตามความสามารถและความถนัดจัดหน่วยจำหน่ายเพื่อเสริมรายได้

คุณสมบัติของผู้รับการสงเคราะห์

1. หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป ชายอายุ 65 ปีขึ้นไป

2. ไม่เป็นผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือจิตฟั่นเฟือน

3. ไม่เป็นโรคเรื้อนหรือโรคติดต่อร้ายแรง

4. ในกรณีที่ขอรับการอุปการะ เข้าพักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราหรือ “บ้านพักคนชรา”ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่มีที่อยู่อาศัยหรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้

ประเภทของคนชราในสถานสงเคราะห์

1) ประเภทสามัญ ให้การอุปการะด้วย ปัจจัยสี่โดยไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น

2) ประเภทเสียค่าบริการห้องเดี่ยวเดือนละ 550 บาท (ต่อ 1 คน) ห้องคู่เสียค่าบริการ 1,060 บาท (ต่อ 2 คน) โดยให้บริการเครื่องใช้ที่จำเป็นอาหาร 3 มื้อ และทำความสะอาดประจำวันให้

3) ประเภทบังกาโลให้บริการโดยอนุญาตให้ผู้สูงอายุหรือคนชราปลูกบ้านพักตามแบบแปลนที่กำหนดไว้ในบริเวณสถานสงเคราะห์ได้และเมื่อถึงแก่กรรมลงบ้านนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมประชาสงเคราะห์

หลักฐานในการขอรับการสงเคราะห์

1) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชน

2) ผลการเอ็กซเรย์ปอด หรือ ใบรับรองแพทย์

รายชื่อสถานสงเคราะห์คนชรา

1) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร

2) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ วัดม่วง จังหวัดนครราชสีมา

3) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ โพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา

4) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่

5) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี

6) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านทักษิณ จังหวัดยะลา

7) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว จังหวัดนครสวรรค์

8) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

9) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านอู่ทอง – พนังตัก จังหวัดชุมพร

10) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

11) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านวาสนะเวศม์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

12) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านนครปฐม จังหวัดนครปฐม

13) สถานสงเคราะห์คนชราวัยทองนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่

14) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

15) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค 2 กรุงเทพมหานคร

16) สถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง จังหวัดตรัง

รายชื่อศูนย์บริการสำหรับผู้สูงอายุ

1) ศูนย์บริการผู้สูงอายุบางแค กรุงเทพมหานคร

2) ศูนย์บริการผู้สูงอายุโพธิ์กลาง จังหวัดนครราชสีมา

3) ศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ วัดม่วง จังหวัดนครราชสีมา

4) ศูนย์บริการผู้สูงอายุทักษิณ จังหวัดยะลา

5) ศูนย์บริการผู้สูงอายุเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

6) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง กรุงเทพมหานคร

7) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุลพบุรี จังหวัดลพบุรี

8) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ ศรีสุคต จังหวัดพิษณุโลก

9) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุปิยะมาลย์ จังหวัดเชียงใหม่

10) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุวัยทอง จังหวัดเชียงใหม่

11) ศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านทิพย์สุคนธ์ กรุงเทพมหานคร

12) ศูนย์บริการผู้สูงอายุบางละมุง จังหวัดชลบุรี

13) ศูนย์บริการผู้สูงอายุขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3. ชมรมผู้สูงอายุ

ชมรมผู้สูงอายุ เป็นการรวมตัวกันเองของผู้สูงอายุเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปัจจุบัน มีชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 3,487 ชมรมมากกว่า 70% จัดตั้งโดยการชักชวนและสนับสนุนโดยข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข และกรมประชาสงเคราะห์ 1,042 ชมรม (ร้อยละ 30) ยังดำเนินการเป็นกิจลักษณะอีกร้อยละ 70 ชมรมผู้สูงอายุยังไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน

แกนนำชมรมผู้สูงอายุ จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ชมรม ผู้สูงอายุดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุทั้งทางตรง และทางอ้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุจะมีโอกาส

  • พบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมรุ่นร่วมสมัยวัยเดียวกัน

  • มีความรู้สึกเข้าใจกันและเห็นใจกัน

  • สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำประโยชน์ บางประการ

  • ไม่รู้สึกว้าเหว่หรือถูกทอดทิ้ง

  • เป็นการพัฒนาตนเอง

  • ใช้ความรู้และประสบการณ์ ที่ผ่านมาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

  • เป็นที่ปรึกษา ถ่ายทอดแนวคิดและวัฒนธรรมแก่ลูกหลานและคนรุ่นหลัง

  • ตระหนักในคุณค่าของตนเอง

  • เกิดความภาคภูมิใจ

  • มีสุขภาพจิตดี

แนวทางการดำเนินกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ

1. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

1.1การเยี่ยมสมาชิกชมรมเวลาเจ็บป่วย ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

1.2ควรมีการกำหนดความสม่ำเสมอในการเยี่ยมผู้สูงอายุตามความเหมาะสมเพราะผู้สูงอายุต้องการเพื่อนและกลัวถูกทอดทิ้ง

2. การประสานงาน ขอความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุและให้โอกาสผู้สูงอายุได้แสดงความสามารถและตระหนักในคุณค่าของตนเอง

2.1 วัด / ศาสนสถานในชุมชน

  • พระสงฆ์

  • โต๊ะอิหม่าม

2.2 ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชน

  • อาสาสมัครสาธารณสุข

2.3 สถานีอนามัย

  • หน้าที่สาธารณสุข

2.4 โรงเรียน

  • ครู อาจารย์

2.5 หมู่บ้าน

  • กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

2.6องค์การบริหารส่วนตำบล

2.7อื่น ๆ เช่น องค์กรภาคเอกชน อาสาสมัคร สมาคม มูลนิธิ

3. กิจกรรมรื่นเริง

3.1 ร่วมจัดกิจกรรมประเพณี ศาสนา

3.2 จัดกิจกรรมเองโดยมีผู้อื่น (ลูกหลานเพื่อน บ้านญาติ)

4. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

4.1 กิจกรรมทางศาสนา เช่น เป็นประธาน หรือผู้นำในพิธี

4.2 กิจกรรมตามประเพณี

4.3 อื่น ๆ เช่น กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น ทำความสะอาด ทำถนน ฯลฯ โดยผู้สูงอายุอยู่ในฐานะผู้ให้คำแนะนำและให้ข้อเสนอแนะ

การปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางหนึ่งทางใดมาก่อน มีพลังสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ดี ลูกหลานควรคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของผู้สูงอายุ โดยทั่วไป ผู้สูงอายุก็มีความยินด ีและเต็มใจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่อ่อนวัยกว่าอยู่แล้ว ในอดีตที่ผ่านมา ผู้สูงอายุยังให้ชีวิตที่เป็นสุขตามสมควร ซึ่งจะให้ประโยชน์จากการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ในเวลาเดียวกันด้วย

เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัว อันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ ควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

1. ช่วยนำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต เช่น ขอคำแนะนำต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุให้ควบคุมดูแลบ้านเรือน เป็นที่ปรึกษาอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน

2. ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ยกตัวอย่างเช่น เวลารับประทานอาหารเชิญชวนให้รับประทานอาหารก่อนและตักข้าวให้

3. ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมในบางส่วนของชีวิตของตนอยู่

4. อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัดหรือศาสนสถานต่าง ๆ ลูกหลาน ควรจัดเตรียมข้าวของต่าง ๆ ให้ และจัดการรับส่งหรือเป็นเพื่อน

5. เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายหรือทำงานตามความถนัดให้เหมาะสมกับวัย

6. ที่พักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ถ้าหากผู้สูงอายุรู้สึกเป็นสุข และต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น

7. ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด หรือชมรมผู้สูงอายุในชุมชน

8. ให้วามสำคัญเห็นคุณค่า และเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอนและข้อแนะนำจากผู้สูงอายุ ร่วมมือกันรักษาฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น

9. ให้อภัยในความหลงลืม และความผิดพลาดที่ผู้สูงอายุกระทำ และยิ่งกว่านั้น ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมด้วย

10. ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยหนัก เรื้อรัง