อบอุ่น

ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรม เป็นสังคมอุตสาหกรรม ความเคารพรักใคร่ผูกพันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ กำลังเสื่อมทรามลง ลูกหลานไม่เคารพ และสนิทสนม กับพ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย

จากการวิจัยของ ดร.ศรีเรือน แก้วกังวาล ปี 2527 พบว่าคนรุ่นลูกหลานไม่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข อาจเป็นเพราะผู้สูงอายุตั้งความหวังว่า ลูกหลานจะปฏิบัติกับตนเช่นวัฒนธรรมเก่า (ดั้งเดิม) แต่ลูกหลานในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบสนองต่อผู้สูงอายุได้ ตามที่คาดหวังได้ในแง่ต่าง ๆ และในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุก็ไม่ได้เตรียมใจรับความเปลี่ยนแปลง ค่านิยม และแนวคิดของรุ่นหลานได้ทัน

จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ชอบอยู่บ้านของตนเอง ไม่ต้องเปลี่ยนฐานะจากเจ้าบ้านเป็นลูกบ้าน มีความพอใจในตนเองสูง ไม่ง้อลุกหลานหรือต้องการให้ลูกหลานดูแล และมักมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่กับลูกหลาน

ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย (2521) ให้ข้อคิดเห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับลูกหลาน และการปรับตัวของผู้สูงอายุว่า "อย่างไรก็ดี คุณปู่ หรือคุณย่า ก็ไม่ควรพึ่งการสื่อสารกับลูกหลานให้มากนัก เพราะเขาก็มีภาระ กับชั้นเชื้อสายในเขตสังคมของเขาอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คุณปู่ คุณย่า ควรฝึกการสื่อสารกับสิ่งไร้ชีวิตบ้าง เช่น สื่อสารกับสวนดอกไม้ ดนตรี หนังสือนวนิยาย และหนังสือสารคดี การปรุงอาหารและอื่น ๆ เท่าที่สังขาร ปัจจัย ปัญญาจะอนุญาตให้ทำได้

ธรรมดามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน ไม่มีใครอยู่คนเดียวในโลก ชีวิตจะมีความหมาย และมีชัวิตชีวาเมื่อมีความสัมพันธ์กับคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุมีความจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะ ทำให้ไม่ว่าง และว้าเหว่ อารมณ์สดชื่น มีชีวิตชีวา และช่วยแบ่งเบางาน ที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ กิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง หรือหยุดไปลูก ๆ โตขึ้น ก็มีความเป็นตัวของตัวเอง หรือการที่คู้ชีวิตตายจากไปก่อน หรือเกิดหย่าร้าง และในขณะความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ยังมีอยู่ ก็จากไปตามธรรมชาติ เช่น คนในครอบครัว เพื่อฝูง คนรู้จัก แยกย้ายไปอยู่ที่อื่น หรือตายจากไป ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมาก ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวได้