เรื่องที่ 6 โรคที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้สูงอายุและการป้องกันรักษา

โรคกระดูกพรุน

โรคในช่องปาก

โรคต้อกระจก

โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุช่วงวัย 65 ปีขึ้นไป สาเหตุก็มาจากการเสื่อมของอวัยวะตามอายุขัย และท่านั่งของเรานี่แหละค่ะ ใครที่ชอบนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ การนั่งลักษณะนั้นจะทำให้ข้อเข่าถูกกดพับ เอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดตรึง และบางคนก็ลืมตัว ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายหรือเปลี่ยนท่ามากนัก ก็ยิ่งทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงเข่าได้ไม่เต็มที่ บวกกับบางคนที่เมื่ออายุมาก น้ำหนักตัวก็เยอะตาม ทำให้เข่าต้องแบกรับเยอะตามไปด้วย ส่งผลต่อกล้ามเนื้อให้เสื่อมสมรรถภาพลง ผิวของกระดูกอ่อนภายในข้อเข่า (ที่ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่า) ก็เสื่อมลง บางลง จนเมื่อมันหลุดออกไปหมด ก็ยิ่งทำให้ไม่มีอะไรมารับแรงกระแทกในการใช้งานอย่างหนักของเรา จึงทำให้เกิดอาการปวดๆ เสียวๆ เกิดขึ้นเวลาใช้งาน โดยเฉพาะการที่เราใช้งานผิดๆ มาตลอด และสะสมมานานหลายปี

อาการ

1. มีอาการปวดบริเวณเข่า บางรายอาจเล็กน้อยหรือรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละคน เมื่อข้อเข่าเริ่มเสื่อมมากขึ้น ก็จะยิ่งปวดทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว

2. มีอาการเข่าบวม

3. เข่ามีการโก่งงอ



การปฏิบัติในเบื้องต้น

  1. ใช้งานข้อเข่าอย่างถูกต้องและถนอม โดยลดการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งยองๆ ในระยะเวลาที่นานติดๆกัน และเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งบ่อยๆ (ถ้าต้องนั่งพื้น)

  2. หลีกเลี่ยงการยืน หรือเดินนานๆ

  3. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เยอะจนเกินไป และออกกำลังกาย

  4. บริหารกล้ามเนื้อบริเวณเข่า และข้อให้แข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดี

  5. ออกกำลังกายประเภทที่ไม่มีการลงน้ำหนักอย่างรุนแรง เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน

  6. เลือกรองเท้าที่มีเบาะรองเท้า (หรือเป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพ) เพื่อให้ลดแรงกระแทกในการเดิน

การรักษา

  1. รักษาแบบใช้ยา

  2. รักษาแบบผ่าตัด

    • ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง สำหรับผู้ที่เป็นไม่มากนัก

    • ผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า

    • ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม

3.รักษาด้วย PRP

การรักษาแนวทางใหม่นี้จะไม่ใช้ยา และไม่ต้องผ่าตัด ซึ่ง PRP จะช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมของเซลล์หรือของเนื้อเยื่อ ให้ฟื้นฟูตัวเองได้


โรคปวดหลัง

โรคเวียนศีรษะ

โรคหูตึง

หู เป็นอวัยวะที่ทำให้ได้ยินเสียงต่างๆ โดยนำพาคลื่นเสียงที่มีความหมายไปยังสมอง หลังจากนั้นสมองจะแปลความหมายของเสียงที่ได้ยินหากสมองไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยเสียง ความสามารถในการแปลความหมายจากเสียงใดๆ ก็จะลดลง

ปัญหาเรื่องการได้ยินในผู้สูงอายุนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัย โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดหูตึงในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางไตที่ต้องใช้ยาเรื้อรัง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดปัญหาการได้ยินได้ทั้งสิ้น โดยพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 40-60 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี และเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 85 ปีขึ้นไปนั่นเองครับ

อาการเริ่มแรกของปัญหาการได้ยินหรือที่เราชอบเรียกว่า“หูตึง” นั้น คือจะไม่ค่อยได้ยินเสียงแหลมๆ หรือเสียงที่มีความถี่สูง เช่น เสียงผู้หญิง เสียงดนตรีคีย์สูงๆ หรือเมื่ออยู่ในสถานที่ซึ่งมีเสียงรบกวนก็อาจฟังไม่เข้าใจ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ และเพิ่มมากขึ้น โดยผู้สูงอายุเองมักจะไม่รู้ตัว จนกลายเป็นปัญหาในการสื่อสารและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น

• มักจะถามซ้ำบ่อยๆ เมื่อมีคนพูดด้วยหรือโต้ตอบไปคนละเรื่อง

• พูดเสียงดัง เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง

• เปิดวิทยุ หรือโทรทัศน์เสียงดังขึ้น

แล้วจะดูแลอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน

1. อธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจสาเหตุของปัญหาการได้ยิน อันตราย และการรักษา

2. ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยิน แต่ยังสื่อสารกับผู้อื่นได้หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ

3. หากมีปัญหาการได้ยินมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเป็นทั้ง2 ข้าง และไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง

4. หากปัญหาการได้ยินเกิดจากประสาทรับเสียงเสื่อมควรป้องกันไม่ให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากขึ้นดังนี้

• หลีกเลี่ยงเสียงดัง

• ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ต้องควบคุมโรคให้ดี

• หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู

• ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา งดการสูบบุหรี่

• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มที่การทำงานของหูจะเสื่อมถอยได้ง่าย แต่หากดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีอยู่เสมอก็สามารถป้องกันและช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ รวมถึงการให้ความรัก ความเข้าใจ การดูแลต่อผู้สูงอายุของคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไปได้นั่นเอง