เรื่องที่ 4 เกณฑ์มาตรฐาน ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์

เกณฑ์สุขภาพด้านจิตใจดี

1.2.1 เข้าร่วมกิจกรรมกับครอบครัว และหรือ/เพื่อนบ้านเป็นประจำ

1.2.2 ไม่มี หรือมีปัญหาด้านอารมณ์และจิต ที่ไม่ต้องปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

1.2.3 รู้สึกว่าตนเองมีค่า (รู้ด้วยตัวเอง)

1.2.4 รู้สึกว่าตนเองไม่ได้ถูกทอดทิ้ง

ตั้งเกณฑ์ (ไม่จำกัดว่าจะขาดข้อใดข้อหนึ่ง ในสี่ข้อ)

4 ดีมาก

3 ดี

2 พอใช้

1 ไม่พอใช้

หมายเหตุ ผ่านเกณฑ์ 3 ข้อ ถือว่าสุขภาพจิตดี

· มีฟันถาวรที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่

ฟันถาวรที่ใช้งานได้ คือฟันที่อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้ และไม่เป็นโรคจนไม่สามารถเก็บรักษาได้ ได้แก่

2.1. ตัวฟันต้องไม่เหลือน้อยจนไม่สามารถบูรณะใช้การได้

2.2. ฟันต้องไม่ผุลุกลามทะลุโพรงประสาทฟัน จนไม่สามารถรักษาคลองรากฟันได้

2.3. ฟันต้องไม่ผุจนเหลือแต่ราก

2.4. ฟันต้องไม่โยกจากโรคปริทันต์จนเก็บรักษาไว้ไม่ได้

· ดัชนีมวลกาย

นิยาม ดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) เป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วน ผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ทุกคนสามารถกระทำได้ด้วยตนเองโดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและวัดส่วน สูงเป็นเมตร และนำมาคำนวณหาดัชนีมวลกาย

น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

(ส่วนสูงเป็นเมตร)2

ดังนั้นดัชนีมวลกายจึงมีหน่วยเป็นกิโลกรัม / ตารางเมตร (กก./ม2)

ค่าปกติ

จากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับอัตราตาย โดยทราบว่าผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 25.0 กก./ม2 หรือต่ำกว่า 18.5 กก./ม2 มีอัตราตายสูงกว่า ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย 18.5-24.9 กก./ม.2 ดังนั้นจึงได้มีการใช้เกณฑ์ดังนี้ เพื่อประเมินภาวะพลังงานที่สะสมไว้ในร่างกายของผู้ใหญ่ทุกอายุ ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ดังนี้

ภาวะโภชนาการ

ดัชนีมวลกาย (กก. / 2)

ผอม

ระดับ 1

ระดับ 2 18.5 - 19.9

ระดับ 3 17.0 - 18.4

ระดับ 4 16.0 - 16.9

< 16.0

ปกติ 18.5 - 24.9

อ้วน

ระดับ 1 25.0 - 29.9

ระดับ 2 30.0 - 39.9

ระดับ 3 > 40.0

ค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร = อ้วน

ค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร = ผอมแห้ง

ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 18.5 - 24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร = ปกติ

· ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ตามอัตภาพ

  • ปฏิบัติภารกิจประจำวันได้

  • สามารถเดินทางไปนอกบ้านด้วยตนเองตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

  • สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามอัตภาพ

การวัดเส้นรอบเอวของคนอ้วนที่มีความเสียงต่อสุขภาพไม่ดี

ชายตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป

หญิงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป

วิธีการวัดเส้นรอบเอว

1. อยู่ในท่ายืน

2.ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ

3.วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) โดยให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น และให้ระดับสายตามที่วัดรอบเอวอยู่ในแนวขนานกับพื้น

4. ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นได้ตามอัตภาพ

- ปฏิบัติภารกิจประจำวันได้

- สามารถเดินทางไปนอกบ้านด้วยตนเองตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

- สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามอัตภาพ

5.ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

- ออกกำลังกายเป็นประจำ แบบค่อยเป็นค่อยไปไม่หักโหม ครั้งละ 15-30 นาที