ปลากะพงขาวเกาะยอ

ปลากะพงขาวเกาะยอ .. ปลาสามน้ำที่วิศวกรยกนิ้ว


ก่อนสะพานติณสูลานนท์เชื่อมเกาะยอกับแผ่นดินใหญ่ จะเปิดใช้ 9 ธันวาคม 2527 คนสงขลาถกเถียงกันหน้าดำหน่าแดงว่าเขาจะทำสะพานข้ามทะเลได้อย่างไร  วิศวกรจากบริษัทไต้หวัน ที่มาดำเนินการควบคุมก่อสร้าง ๆไม่ได้คิดสงสัยอะไรแบบนั้น การต้องมาปักหลักคุมงานอยู่เป็นเวลานาน จะอยู่จะกินอยู่อย่างไรต่างหากเป็นปัญหา  ยุคสมัยเกาะยอยังเป็นหมู่บ้านทุรกันดาร โดดเดี่ยวกลางทะเลสาบ      การตัดสินใจของวิศวกรผูกปิ่นโตกับคนท้องถิ่นนั่นเอง นับเป็นจุดเริ่มให้ปลากะพงขาวเกาะยอกลายเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา อันเนื่องมาจากเมนูที่พ่อครัวเกาะยอนำเสนอ โดยไม่มั่นใจนักว่าจะถูกปากคนต่างถิ่น ในระยะแรก ใช้วัตถุดิบอาหารสำคัญคือปลากะพง  เกิดอร่อยติดอกติดใจ เลื่องลือจากปากนายช่างสร้างสะพานไปสู่โลกภายนอก เมื่อเกาะยอติดต่อกับโลกภายนอกสะดวก ด้วยสะพานติณสูลานนท์ข้ามทะเลสาบทั้งสองช่วง  คนภายนอกแห่แหนกันไปนั่งร้านอาหารที่เกาะยอ เพื่อกินข้าวเย็นชมตะวันตกดินกลางทะเลสาบ อันแสนโรแมนติก  ทุกโต๊ะสั่งปลากะพง ร้านอาหารโด่งดังในเกาะยอช่วงแรกมาจากฝีมือพ่อครัวผู้ทำกับข้าวเลี้ยงวิศวกรสร้างสะพาน  เป็นที่ติดออกติดใจ  วิธีการให้ลูกค้าเดินไปเลือกชี้ ปลากะพงเป็นๆ ในกระชังข้างร้าน ระบุเองว่า ส่วนหัว กลาง หาง จะให้ปรุง เป็นเมนูอะไรนั้นเป็นสิ่งแปลกใหม่น่าตื่นเต้นในช่วงเวลานั้นอีกด้วย หลายคนเพิ่งรู้ว่าปลากะพงร้านอาหารขายโดยชั่งน้ำหนัก เพราะมีหลายขนาดร้านอาหารจำนวนมากเกิดตามมา กระทั่งทุกวันนี้ เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ใครไม่อยากกินปลากะพงยกตัวก็มีเนื้อปลาชิ้น ราคาย่อมเยากว่า  ถึงอย่างไรปลากะพงยังขึ้นโต๊ะเป็นเมนูเด็ด แนะนำ  แกงส้ม ต้มยำ แป๊ะซะ ต้มขิง  ลุยสวน  ราดพริก ผัดขึ้นฉ่าย  ทอดน้ำปลา ทอดกระเทียม   นึ่งมะนาว นึ่งซีอิ๊ว  ลวก ข้าวต้มปลา ฯลฯหลายทศวรรษที่เกาะยอขึ้นทำเนียบเป็นแหล่งเลี้ยงปลากระพงขาวในกระชังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   เนื่องจากเป็นปลาที่ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติของทะเลสาบสงขลาที่มีแร่ธาตุทางอาหารครบถ้วน จึงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคชาวบ้านเกาะยอสามารถเลี้ยงปลากะพงในกระชังได้อย่างมีคุณภาพ ปลามีความสด เนื้อนิ่ม รสชาติอร่อย  ด้วยเกาะยอตั้งอยู่ในทะเลสาบตอนล่างใกล้ปากอ่าวเชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทย สภาพนิเวศธรรมชาติ 3 น้ำ  เค็ม กร่อย จืด เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของทะเลสาบ   ที่ใช้เวลาเลี้ยง 2 ปี ปลามีขนาดตัวละ 3-5 กก.   ปลากะพงที่เลี้ยงแล้วขนาดใหญ่สุด มีน้ำหนักถึง 8 กิโลกรัม ถือเป็นเอกลักษณ์ความได้เปรียบที่ธรรมชาติจัดสรรให้      ยากจะจินตนาการว่าหากวันนี้ยังไม่สะพานติณสูลานนท์ แต่เมื่อเกาะกลาย เป็นพื้นที่พัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมระดับต้นของจังหวัดสงขลา  ปลากะพง แยกไม่ออกจากความเป็นชุมชนเกาะยอ  ทั้งวิถีชีวิต อาชีพผู้คน และเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยว  แม้แต่ขนำปลา  ที่เคยเป็นจุดพักดูแลกระชัง กลายมาเป็นโฮมสเตย์  จึงไม่ผิดหากจะกล่าวว่า ปลากะพง มีส่วนสร้าง เกาะยอยุคใหม่อบต.เกาะยอ นำปลากะพงขาวมาเป็นมาสคอททำป้ายบอกทางและตรอกซอกซอยต่างๆ ทั้ง 9 หมู่บ้าน สวยงาม แปลกตา และโดดเด่นสะดุดตาผู้พบพบเห็น ติดตั้งไว้บริเวณทางแยกที่จะเข้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน สื่อเอกลักษณ์ของท้องถิ่น   มีการจัดสร้างประติมากรรมปลากะพง สำหรับนักท่องเที่ยวไปชม หรือถ่ายรูปเป็นทีระลึก  อยู่ที่วัดแหลมพ้อ และ และสวนสาธารณะหาดทรายเทียมในฐานะสัตว์เศรษฐกิจ ทุกวันนี้ ปลากะพง ยังแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง โดยส่งเนื้อปลาที่ลอกหนังไปขายยังต่างประเทศ ส่วนหนังส่งกลับให้ชาวบ้านแปรรูป เป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง  หนังปลากะพงขาวทอดกรอบ มีส่วนของไขมันปลา เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวร่างกายของคน สามารถย่อยได้ให้สาร DHA และโอเมก้า3 บำรงุสมองแม่ค้าในเกาะยอที่เป็นคนกลางเพื่อนำไปขายต่อยังแหล่งขายปลีก หรือนำไปขายส่งตามร้านอาหาร และคนที่มารับซื้อจะเป็นขาประจำที่สั่งจองไว้ล่วงหน้า โดยสั่งจองกันเป็นคิว ปัจจุบัน จำนวนชาวบ้านที่เลี้ยงปลากะพงในกระชังบนเกาะยอเพียงแค่หมู่ที่ 7 แห่งเดียว มีจำนวน 45 ราย การกำหนดราคาขายของแต่ละกระชังเป็นการตกลงกันของผู้เลี้ยงปลาทั้งหมดในเกาะยอ

ความสําคัญของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

เป็นการการันตีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากหลายพื้นที่ทั่วโลกมีจัดเริ่มต้นจากทวีปยุโรปและเข้ามามีบทบาทสําคัญใน AEC

 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คืออะไร

 กฎหมายที่ใช้บังคับ

พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 

หลักการ/เหตุผล

 

สินค้าที่ขอขึ้นทะเบียน GI ได้