ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่

ความเป็นมาและข้อมูลทั่วไป

ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดสรรงบประมาณ จำนวน ๖๐๔,๕๐๐ บาท และสุขาภิบาลตำบลพะตงจัดหาเงินสมทบ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐บาท รวมเป็นเงินจัดสร้าง จำนวน ๗๐๔,๕๐๐ บาท สุขภิบาลพะตงอนุญาตให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดสร้างห้องสมุดประชาชนในที่ดินของสุขาภิบาลพะตงตามโฉนดที่ดิน เลขที่ ๔๘๙๔๔ ในเนื้อที่ ๒ งาน โดยมี นายวัชระ ลิ่มกตัญญู เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลพะตง นายวิมล วัฒนา เป็นผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสงขลา และนายโยธิน สันตะรัตติวงศ์ เป็นหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหาดใหญ่ ในขณะนั้น และทำการเปิดบริการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีฐานะเป็นห้องสมุดของสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหาดใหญ่ ต่อมาในต้นปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๙ โรงเรียนบ้านคลองเปลซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กได้ยุบเลิกและศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาอำเภอหาดใหญ่เข้าใช้พื้นที่ ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่จึงได้ย้ายมาทำการตามนโยบายของนางวรรญา ทิพย์ดนตรี ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา และนายคณิน ทองเอียด ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาอำเภอหาดใหญ่ในขณะนั้น จนถึงปัจจุบัน. ปัจจุบันบริหารสถานศึกษาโดย นายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหาดใหญ่


สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔ ถนนกาญจนวนิช ซอย ๔ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๗๔๒๑-๒๕๔๑

เว็บไซต์ระบบเชื่องโยงแหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่ http://lrls.nfe.go.th/LRLS/frontend/theme/index.php?Submit=Init&ID_Lib=689

เว็บเพจห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่

https://www.facebook.com/supitniyom/?modal=admin_todo_tour

เวลาเปิด-ปิดทำการ

เปิดทำการ วันจันทร์-วันศุกร์และวันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.

ปิดทำการ วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

บุคลากร

ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด นางสุพิทย์ ลอยแก้ว ตำแหน่งบรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ

ภารกิจ

ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่ มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานอัธยาศัยของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหาดใหญ่ ได้แก่

๑. ดำเนินงานห้องสมุดประชาชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น การบริการอินเตอร์เน็ต การบริการสื่อสิ่งพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร เป็นต้น

๒. ส่งเสริมให้ครูและนักศึกษาใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลและพัฒนาความรู้

๓. จัดเผยแพร่ความรู้ข้อมูลวันสำคัญของไทยและสากล

๔. มุมการเรียนรู้

๕. บริการยืม-คืน หนังสือด้วยระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ เครือข่าย

ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายทำแหล่งข้อมูล ข่าวสาร แหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

กศน.ตำบล

๑. ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล

๒. สนับสนุนใจจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้แต่ละตำบล

๓. ดำเนินงานห้องสมุดประชาชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น การบริการอินเตอร์เน็ต การบริการสื่อสิ่งพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร เป็นต้น

๔. ส่งเสริมให้ครูและนักศึกษาใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลและพัฒนาความรู้

๕. จัดเผยแพร่ความรู้ข้อมูลวันสำคัญของไทยและสากล

๖. มุมการเรียนรู้

๗. บริการยืม-คืน หนังสือด้วยระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ เครือข่าย

ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายทำแหล่งข้อมูล ข่าวสาร แหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

กศน.ตำบล

๑. ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล

๒. สนับสนุนใจจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้แต่ละตำบล