บทที่ 2 เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของแหล่งเรียนรู้

ความหมายของแหลงเรียนรู้ 

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณที่สนับสนุน ส่งเสริม ใหผู้เรียน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอยางกว้างขวาง และต่อเนื่อง เพื่อเสริมสรางให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 

ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ 

แหล่งเรียนรู้เปรียบเหมือนห้างสรรพสินคาที่เป็นที่รวมสินค้ามากมายหลายชนิด เช่นเดียวกันกับแหล่งเรียนรู้ที่บรรจุความรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพอสรุปถึงความสําคัญของแหลงเรียนรูได ดังนี้ 

1. เป็นแหล่งรวมความรู้ต่าง ๆ มากมาย ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาคนควาหาความรู ไดตามความถนัดของตนเองได้ตลอดชีวิต 

2. เป็นศูนยรวมในการติดตอสื่อสารระหว่างสถานศึกษาและชุมชน และชุมชนมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษาให้กับคนในชุมชน 

3. ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้อยางมีความสุข 

4. ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถเรียนรู้ร่วมกับผูอื่นได้ 

5. เป็นการปลูกฝังนิสัยการรักชุมชน รักท้องถิ่น มีความพร้อมในการมีส่วนร่วม แก้ปัญหา ในชุมชนและเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน 

6. ผู้เรียนรู้มีการยอมรับในสิ่งใหม่ ๆ หรือแนวคิดใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ 

7. ช่วยให้ผู้เรียนประหยัดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อหนังสือเรียนมาศึกษาหาความรู้ โดยการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 

ประเภทของแหล่งเรียนรู้ 

แหล่งเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 

1. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพและวัตถุประสงค 5 กลุ่ม คือ 

1) กลุ่มบริการข้อมูล เช่น ห้องสมุด ศูนยการเรียน ศูนยวิทยาศาสตร์ฯ สถาน ประกอบการ เป็นต้น 

2) กลุ่มงานศิลปวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศาสนสถาน ศูนยวัฒนธรรม เป็นต้น 

3) กลุ่มข้อมูลท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน สื่อพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น 

4) กลุ่มสื่อ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว อินเทอร์เน็ต เป็นต้น 

5) กลุ่มสันทนาการ เช่น ศูนยกีฬา สวนสาธารณะ ศูนยนันทนาการในหมู่บ้าน เป็นต้น 

2. แบ่งตามลักษณะแหลงเรียนรู 6 ประเภท คือ 

1) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านใด ด้านหนึ่ง และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ จนเปนแบบอย่างที่ดีได้ เป็น แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต สามารถสื่อความหมายให้ผู้มารับบริการได้อย่างดี จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุด 

2) แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอยางที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติและเปนประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ดิน อากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ เป็นต้น 

3)แหล่งเรียนรู้ประเภทวัตถุ วัสดุและสถานที่ หมายถึง อาคาร สิ่งกอสราง ที่เรา สามารถ หาคําตอบได้จากการได้เห็น ได้ยิน หรือการสัมผัส เช่น อุทยานแหงชาติ หองสมุด ศูนย์ การเรียน ศูนยศึกษาธรรมชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตวป่า เป็นต้น 

4) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกสที่ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางใน การถ่ายทอดความรู้ ทั้งภาพและเสียง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 

5) แหล่งเรียนรู้ประเภทเทคนิค หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาการ นวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ เปนสื่อที่ทําใหผู้เรียนเกิดการจินตนาการและเกิดแรง บันดาลใจ ทําใหเกิดความคิดสรางสรรค์ เช่น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เป็นต้น 

6) แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์ รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาสภาพของท้องถิ่น การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน สังคม เช่น การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด กิจกรรมส่งเสริมการเลือกตั้ง เป็นต้น 

วิธีการใช้แหล่งเรียนรู้ การใช้แหล่งเรียนรู้มีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. การนำผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้จริง เพื่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์จริง

2. ใช้แหล่งเรียนรู้เป็นสถานที่ฝึกงานของผู้เรียนโดยตรง เพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์ตรง

3. การนำภูมิปัญญามาสู่การเรียนรู้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งนำผู้เรียนไปศึกษาจากภูมิปัญญา การให้ผู้เรียนไปฝึกงานกับภูมิปัญญา และการเชิญภูมิปัญญามาให้ความรู้ในสถานศึกษา

การเข้าถึงสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ

การให้ผู้เรียนเข้าไปใช้บริการสารสนเทศในแหล่งเรียนรู้ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับข้อมูล ข่าวสารและความรู้ที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียนโดยตรง นอกจากห้องสมุดแล้วแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ทุกแหล่ง ทุกประเภท ถือว่าเป็นสารสนเทศทั้งสิ้น เพราะองค์ประกอบของแหล่งเรียนรู้ทุกอย่างสามารถสื่อความหมายให้รู้ถึงเรื่องราวตามเจตนารมณ์ของแหล่งเรียนรู้นั้น ๆทั้งหมด

การเข้าถึงสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้ มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

1. ผู้เรียนต้องสืบหาข้อมูลเบื้องต้นให้ได้ว่า สารสนเทศที่ต้องการจะรู้ อยู่ที่แหล่งเรียนรู้ใด ซึ่งทำได้โดยการสอบถามจากผู้รู้ เพื่อน บรรณารักษ์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือค้นหาจากอินเทอร์เน็ต

2. ผู้เรียนจะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร อาจเข้าถึงโดยสอบถามโดยตรง ค้นหาจากหมวดหมู่ของเอกสาร หรือจากอินเทอร์เน็ต

3. การค้นหาสารสนเทศแต่ละประเภทควรใช้เครื่องมืออะไร เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศแต่ละประเภทสามารถเข้าถึงได้ในวิธีที่แตกต่างกัน

4. หากจำเป็นต้องเข้าถึงสารสนเทศผ่านการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้จักวิธีการค้นหาสารสนเทศอย่างถูกวิธี เช่น ค้นหาผ่านกูเกิ้ล (Google) เป็นต้น

5. หากจำเป็นต้องสืบค้นสารสนเทศผ่านห้องสมุดประชาชน ผู้เรียนสามารถสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการสืบค้นตู้บัตรรายการ ซึ่งสามารถสืบค้นได้ ทั้งจากบัตรชื่อเรื่อง บัตรผู้แต่งหรือบัตรเรื่อง หรือบัตรหัวเรื่อง โดยใช้โปรแกรมบริการงานห้องสมุด หรือ PLS(Public Library Service)

6. การเข้าถึงสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในเรื่องที่ต้องการโดยตรง

การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาหาความรู้และค้นคว้าข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ๆ ที่สำคัญทุกวันนี้เราสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในบ้านเรือนซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัว ค้นหาได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและยอดเยี่ยมที่สุดในยุคปัจจุบัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาล ไม่สามารถเปรียบกับแหล่งข้อมูลประเภทอื่น ๆ ซึ่งการจัดกิจกรรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ ให้เข้าด้วยกันได้

วิธีการใช้อินเทอร์เน็ตกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเองจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ผู้เรียนต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำได้หลายลักษณะ ดังนี้

1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตลักษณะนี้ ควรใช้ในกรณีต้องการค้นหาข้อมูลที่ไม่สามารถจะสอบถามใครได้ และไม่สามารถค้นหาด้วยแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ

2. อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail) เป็นวิธีการส่งข้อมูล ข่าวสาร ภาพ เสียงหรือเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านระบบ E-mail ที่สะดวก รวดเร็วและเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

3. การถ่ายโอนข้อมูล เป็นการคัดลอกงาน ข้อมูล โปรแกรมจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตามต้นฉบับทุกประการ

4. การพูดคุยกันที่เรียกว่าห้องสนทนา เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารหรือโต้ตอบกันได้อย่างเป็นปัจจุบัน และสามารถพูดคุยได้ตลอดเวลาที่มีการเปิดใช้เครื่องมือ

5. กระดานข่าว เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล เป็นตัวอักษร ภาพหรือเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

6. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารหรือการดำเนินกิจกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมา

7. การติดตามข่าวสารข้อมูล ทุกคนสามารถติดตามข่าวสาร ข้อมูลได้ทุกพื้นที่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก

8. การบริการอื่น ๆ ทั่วไป ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถให้บริการงานทุกงานได้ตลอดเวลา

โทษของการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไม่ระมัดระวัง

1. โรคติดอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ๆ จนหยุดไม่ได้ หรือหยุดได้ต่อมากลับไปใช้อินเทอร์เน็ตอีก จนทำให้เสียเวลา เสียงาน

2. อินเทอร์เน็ตในที่นี้ หมายความรวมถึง ระบบออนไลน์ หรือระบบเทคโนโลยีที่สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ หากผู้ใช้บริการใช้อินเทอร์เน็ตยาวนานต่อเนื่องหลายชั่วโมงต่อวัน มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตนาน ๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้เกิดอาการหงุดหงิดหากต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงในแต่ละวัน หมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต หรือเหตุผลอื่นหลาย ๆ เรื่อง อาจจัดเป็นพวก ที่ติดอินเทอร์เน็ตได้

3. การใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เช่น เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร อาจได้รับโทษจากการกระทำซึ่งตามกฎหมายมีโทษถึงขั้นติดคุก