การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง 


     ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) เป็นการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางที่นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะกับข้อมูลที่มีการกระจายอย่างสม่ำเสมอหรือค่าของข้อมูลไม่แตกต่างกันมากนัก

     ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คำนวณได้จากการนำเอาค่าของข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวน ข้อมูลทั้งหมด สำหรับค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่คำนวณจากข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างใช้สัญลักษณ์ “” (อ่านว่า เอกซ์บาร์) และค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่คำนวณจากข้อมูลที่ได้จากประชากรใช้สัญลักษณ์ “ ” (อ่านว่า มิว) การคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตสามารถทำได้ดังนี้

1. การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่หรือข้อมูลดิบ

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหาได้โดยการนำข้อมูลทุกค่ามารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด

       2. การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่แจกแจงความถี่

       3. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก

         ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Arithmetic Mean) ใช้คำนวณสำหรับข้อมูลที่มีน้ำหนักหรือความสำคัญของข้อมูลแต่ละค่าไม่เท่ากัน

      4. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม

           ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม (Combined Arithmetic Mean) ใช้คำนวณสำหรับข้อมูลหลาย ๆ ชุด และทราบค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ละชุด


      สมบัติของค่าเฉลี่ยเลขคณิต

1) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต จะมีเพียงค่าเดียวจากข้อมูลแต่ละชุด

2) ถ้านำค่าคงที่มาบวกหรือลบจากข้อมูลทุกตัวแล้ว ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าคงที่นั้น

3) ถ้านำค่าคงที่มาคูณหรือหารจากข้อมูลทุกตัวแล้ว ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าคงที่นั้น

4) ผลบวกของข้อมูลแต่ละตัวที่ลบออกจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะมีค่าเป็น 0 คือ

5) ผลบวกกำลังสองของผลต่างที่ข้อมูลแต่ละตัวต่างไปจากค่าคงที่ a คือจะมีค่าน้อยที่สุดก็ต่อเมื่อ a =  เท่านั้น 

 

2. มัธยฐาน

        มัธยฐาน (Median) คือ ค่าที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางของข้อมูล เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียงลำดับจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย ซึ่งค่านี้จะแบ่งข้อมูลชุดนั้นออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้น จึงมีข้อมูลที่มากกว่าหรือน้อยกว่าค่ามัธยฐานอยู่ประมาณเท่า ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ Med หรือ Md แทนมัธยฐาน

1. การหามัธยฐานของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

มีขั้นตอนการหาค่ามัธยฐาน ดังนี้

1) เรียงลำดับข้อมูลทั้งหมดจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย

2) คำนวณหาตำแหน่งของมัธยฐาน

3) พิจารณาตำแหน่งของมัธยฐานจากข้อมูลที่เรียงลำดับ



3. ฐานนิยม

       ฐานนิยม (Mode)  คือ ค่าของข้อมูลที่มีความถี่สูงที่สุด หรือมีจำนวนซ้ำกันมากที่สุด ในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ อาจมีฐานนิยมเพียงค่าเดียว มากกว่าหนึ่งค่า หรือไม่มีเลยก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ Mo แทนฐานนิยม การหาฐานนิยม สามารถทำได้ดังนี้

1. การหาฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

ให้พิจารณาค่าของข้อมูลที่มีค่าซ้ำกันมากที่สุด ค่านั้น คือ ฐานนิยม

2. การหาฐานนิยมของข้อมูลที่แจกแจงความถี่



การหาฐานนิยมจากกราฟฮิสโทแกรม

1) เขียนกราฟฮิสโทแกรม
2) ลากเส้นเชื่อมขอบของแท่งสี่เหลี่ยมที่สูงที่สุดกับขอบของแท่งที่อยู่ต่อกันทั้ง 2 ด้าน ให้ส่วนของเส้นตรงตัดกันที่จุด A
3) จากจุด A ลากเส้นตรงขนานกับแกนตั้ง ให้ตัดแกนนอนที่จุด B
4) ค่าของแกนนอนที่จุด B เป็นค่าฐานนิยม ดังรูป



4. ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต

 ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (Geometric Mean) คือ ค่าที่ได้จากการหารากที่ N ของผลคูณของข้อมูล N จำนวน ใช้สัญลักษณ์ G.M แทนค่าเฉลี่ยเรขาคณิต

    1. การหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

           2. การหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของข้อมูลที่แจกแจงความถี่


5. ค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิก

        ค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิก (Harmonic Mean) คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนข้อมูลทั้งหมดกับผลรวมส่วนกลับของข้อมูลแต่ละตัว เช่น ระยะทาง/เวลา  ใช้สัญลักษณ์ H.M แทนค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิก

1. การหาค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิกของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

       2. การหาค่าเฉลี่ยฮาร์มอนิกของข้อมูลที่แจกแจงความถี่


6. ค่ากึ่งกลางพิสัย

        ค่ากึ่งกลางพิสัย (Mid-range) คือ ค่าเฉลี่ยของค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดของข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ M.R แทนค่ากึ่งกลางพิสัย

1. การหาค่ากึ่งกลางพิสัยของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

2. การหาค่ากึ่งกลางพิสัยของข้อมูลที่แจกแจงความถี่