เงินช่วยพิเศษข้าราชการ

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชกฤษฎีการการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  • ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  • หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0406.5/ว287 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและวิธีปฏิบัติในการขอรับเงินช่วยพิเศษกรณีข้าราชการ ผู้รับบำนาญ และลูกจ้างถึงแก่ความตาย


สิทธิในการได้รับเงินช่วยพิเศษ

กรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย

**ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวน 3 เท่า (ของเงินเดือนเต็มเดือน) ได้รับตอนที่อยู่ระหว่างราชการเท่านั้น เกษียณหรือลาออกไม่ได้รับ**

  • เงินเพิ่มพิเศษค่าวิชา (พ.ค.ว.) (ถ้ามี)

  • เงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ (ส.ป.พ.) (ถ้ามี)

  • เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) (ถ้ามี)

  • เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการปราบปรามผู้กระทำผิด (ถ้ามี)


ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ

การจ่ายเงินช่วยพิเศษให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้

1. ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว ได้แสดงเจตนาระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ ไว้เป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด

2. กรณี ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ หรือบุคคลที่ได้แสดงเจตนาไว้ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้แสดงเจตนา

หรือถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะมีการจ่ายเงินช่วยพิเศษ ให้จ่ายให้แก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้

(1) คู่สมรส

(2) บุตร

(3) บิดา – มารดา

หากปรากฏว่า บุคคลในลำดับก่อนมีชีวิตอยู่บุคคลในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ

หากผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษในลำดับเดียวกันมีหลายคน ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษให้แก่ผู้ซึ่งบุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ หรือบุคคลที่เป็นผู้จัดการงานศพ เช่น กรณีผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ และคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิในลำดับแรกเสียชีวิตไปแล้ว แต่ผู้ตายมีบุตร 3 คน ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษแก่บุตร คนหนึ่งคนใดที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากบุตรคนอื่นๆ แต่หากไม่มีการมอบหมายเป็นหนังสือจากบุตรคนอื่นๆ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษแก่บุตรที่เป็นผู้จัดการงานศพ เป็นต้น


การคำนวณเงินช่วยพิเศษ (ค่าทำศพ)

ข้าราชการ = (เงินเดือน + (เงิน พ.ค.ว. ,เงิน ส.ป.พ. ,เงิน พ.ส.ร.) (ถ้ามี) X 3)

ผู้รับบำนาญ = (บำนาญ + ชคบ.) X 3

ลูกจ้าง = ค่าจ้าง X 3

ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด

**การยื่นขอรับเงินมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือลูกจ้าง ถึงแก่ความตาย**


การเขียนหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ (ค่าทำศพ)

ตามพระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปีฯ

เขียนระบุให้ใครก็ได้ เช่น บิดา หรือมารดา หรือ คู่สมรส หรือบุตร หรือบุคคลอื่นใด (บุคคลธรรมดา) เพียงคนเดียว **ไม่สามารถระบุให้นิติบุคคล เช่น วัด หรือองค์กรการกุศลได้

กรณีไม่มีหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับก่อนหลังดังนี้

1.คู่สมรส กรณี ไม่มีหนังสือแสดงเจตนา

2.บุตร กรณี ไม่มีหนังสือฯ + คู่สมรส

3.บิดาหรือมารดา กรณีไม่มี หนังสือฯ + คู่สมรส + บุตร


ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ

เมื่อข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือลูกจ้างประจำ ถึงแก่ความตาย ให้หน่วยเบิกจ่าย (สพจ.) ดำเนินการดังนี้


กรณีมีเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ เบิกเกินสิทธิ

  • ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ

ให้กองบริหารการคลัง เรียกคืนเงินจากทายาทในส่วนที่เบิกเกินสิทธิก่อน จึงจะดำเนินการให้ทายาทยื่นแบบขอรับเงินช่วยพิเศษได้

  • ข้าราชการบำนาญ

หน่วยเบิกจ่าย (สพจ.) กรอกแบบ สรจ.12 เพื่อของดเบิกบำนาญ โดยแนบสำเนาใบมรณบัตร และจัดส่งกรมบัญชีกลาง

เมื่อกรมบัญชีกลางจะส่งสำเนากลับมายังหน่วยเบิกจ่าย โดยแจ้งว่ามีเงินเบิกเกินสิทธิเท่าใด ให้ประสานทายาทเรียกคืนเงินนำส่งคลัง


เอกสารประกอบการขออนุมัติ ได้แก่

  • แบบคำขอรับเงินช่วยพิเศษ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีสิทธิรับเงิน

  • สำเนาทะเบียนบ้าน

  • สำเนาใบมรณบัตร

  • สำเนาการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)

  • สำเนาใบเสร็จรับเงิน กรณีเบิกเกินสิทธิ

  • กรณีข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ สำเนาสลิปเงินเดือนเดือนสุดท้าย

  • กรณีข้าราชการบำนาญ แนบทะเบียนจ่ายตรงเงินบำนาญ

  • กรณีผู้มีสิทธิลำดับเดียวกันมีหลายคน ให้ทุกคนมอบหมายคนใดคนหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รับเงิน ได้เพียง 1 รายเท่านั้น