เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์.pdf
Royal-Thai-and-Decorations.pdf

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ตรวจสอบคุณสมบัติ และประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรองของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล โดยแยกแต่ละชั้นตรา ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนด

2. รวบรวมชื่อผู้มีคุณสมบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตราและจัดทำเอกสารพร้อมประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณากลั่นกรองฯ (ระดับกรม) พิจารณาและมีมติ

3. พิมพ์ประวัติการรับราชการของข้าราชการที่มีคุณสมบัติที่จะขอเหรียญจักรพรรดิมาลา(ร.จ.พ.) เพื่อส่งให้หน่วยงานที่มีข้าราชการที่มีคุณสมบัติ โดยมอบให้ผู้มีคุณสมบัติเซ็นชื่อรับรองประวัติและส่งคืนสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลดำเนินการต่อไป

4. จัดทำรายชื่อข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ผู้มีคุณสมบัติเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณากลั่นกรองฯ (ระดับกรม) มีมติ แล้วส่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเข้าประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองฯ(ระดับกระทรวง) พิจารณาและมีมติ

5. ตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ เพื่อเพิ่มเติมหรือคัดออก ในกรณีมีการเลื่อนระดับ, การโอน, ลาออก, ถึงแก่กรรม

6. จัดทำบัญชีรายชื่อพร้อมแนบเอกสารประกอบ ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ผู้มีคุณสมบัติเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี (ตามแบบที่กำหนด : บัญชีรายชื่อ / บัญชีแสดงคุณสมบัติ / บัญชีชั้นตรา) แล้วส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรวบรวมเสนอสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต่อไป

7. ตรวจสอบข้าราชการที่มีการเลื่อนระดับสูงขึ้น ตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนั้น เพื่อจะได้ดำเนินการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพิ่มเติมให้ต่อไป

8. หากมีข้าราชการไ

ด้รับการเสนอขอพระราชทานเพิ่มเติม ตามข้อ 7 จะจัดทำบัญชีราชชื่อ พร้อมแนบเอกสารประกอบ (ตามแบบที่กำหนด : บัญชีราชชื่อ / บัญชีแสดงคุณสมบัติ / บัญชีชั้นตรา) แล้วส่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมเสนอสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สำหรับชั้นสายสะพาย เท่านั้น : ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป)

กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์