กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

ข้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข. ตามที่พระพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนด ส่วนข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 โดยสามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นเงินบำเหน็จ หรือบำนาญได้ แม้ข้าราชการทุกคนก็จะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญจากกรมบัญชีกลางอยู่แล้ว แต่กบข.ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมให้ข้าราชการเลือกได้ว่าจะเข้าเป็นสมาชิกกองทุนหรือไม่

ไม่ว่าจะเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จหรือบำนาญ กบข. ก็จะจ่ายเงินก้อนจากเงินที่ออมไว้ทั้งสิ้น แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันเล็กน้อย ถ้าสมัครเข้าเป็นสมาชิกกบข.แล้วเลือกรับ “เงินบำเหน็จ” ก็จะได้เงินก้อนใหญ่จากทางกรมบัญชีกลางและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะมีสูตรการคำนวณเงินเบื้องต้น คือ

เงินก้อนจากกบข. = (เงินสะสม + เงินออมเพิ่ม + เงินสมทบ) x จำนวนเดือนที่ทำงาน x อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ

แต่ถ้าเลือกรับเป็น “เงินบำนาญ” สมาชิกจะได้รับเงินจ่ายรายเดือนจากกรมบัญชีกลาง และจะได้เงินก้อนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสามารถคำนวณได้จาก

เงินก้อนจากกบข. = (เงินสะสม + เงินออมเพิ่ม + เงินสมทบ + เงินชดเชย) x จำนวนเดือนที่ทำงาน x อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ

เป็นหน้าที่ของข้าราชการทุกคนที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า การวางแผนเกษียณของตนเองเหมาะกับการรับเงินรูปแบบไหน บางคนมีสินทรัพย์ลงทุนที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณที่จ่ายเงินรายเดือนให้อยู่แล้วก็อาจจะสะดวกรับเงินบำเหน็จมากกว่าแต่บางคนที่ขาดกระแสเงินสดรายเดือนหลังเกษียณอาจจะเลือกรับเป็นเงินบำนาญแทนก็ได้


ข้อสงสัยเกี่ยวกับ กบข.

  1. สมาชิก กบข. มีสิทธิได้รับบำนาญหรือไม่

  • สมาชิกยังคงมีสิทธิรับบำนาญตามระเบียบราชการเช่นเดิม

  1. กรณีสมาชิกลาออกจากราชการ หรือเกษียณอายุจะได้รับเงินอะไรจาก กบข.

กรณีสมาชิกลาออกจากราชการ หรือเกษียณอายุ จะได้รับเงินจาก กบข. ตามสิทธิ ดังนี้

  • กรณีมีสิทธิและเลือกรับบำนาญ ได้รับเงินประเดิม (ถ้ามี) เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.

  • กรณีมีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ ได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.

  1. ทำไมกรณีสมาชิกเสียชีวิต หรือรับบำเหน็จ จึงไม่ได้เงินประเดิม ชดเชย

  • เนื่องจากเงินประเดิมกับเงินชดเชยจะจ่ายให้กับผู้รับบำนาญ เพื่อชดเชยส่วนต่างของบำนาญที่ลดลง เพราะมีการเปลี่ยนสูตรการคำนวณ แต่สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตที่เป็นสมาชิก กบข. หรือไม่เป็นสมาชิก กบข. ก็ใช้สูตรบำเหน็จตกทอดแบบเดียวกัน ไม่เกิดส่วนต่างใด ๆ รัฐจึงไม่ได้ให้เงินประเดิมกับเงินชดเชย

  1. ต้องการระบุผู้รับผลประโยชน์ในการรับเงิน กบข.ได้หรือไม่

  • สมาชิกไม่สามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้ หากสมาชิกเสียชีวิตผู้มีสิทธิรับเงิน กบข. ได้แก่ ผู้จัดการมรดก หรือทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


การขอรับเงินคืนจาก กบข.

การขอรับเงินคืนจาก กบข. จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้

1).กรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ / รับบำเหน็จจากทางภาครัฐ ใช้เอกสารประกอบการขอรับเงิน ดังนี้

      • แบบขอรับเงินคืน แบบ กบข. รง 008/1/2555

      • สำเนาคำสั่งออก พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรองสำเนาถูกต้อง

      • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

2).กรณีสมาชิกรับบำนาญจากทางภาครัฐ ใช้เอกสารประกอบการขอรับเงิน ดังนี้

      • แบบขอรับเงินคืน แบบ กบข. รง 008/1/2555

      • สำเนาคำสั่งออก พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรองสำเนาถูกต้อง

      • สำเนาหนังสือสั่งจ่ายบำนาญสมาชิก กบข. พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรองสำเนาถูกต้อง

      • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

3).กรณีสมาชิกเสียชีวิต สามารถดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

      • กรณีผู้รับเงินเป็นทายาทโดยธรรม

        • แบบ กบข.รง.008/2/2562

        • สำเนาคำสั่งออก พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรองสำเนาถูกต้อง

        • สำเนาใบมรณะบัตรของสมาชิก พร้อมทายาทรับรองสำเนาถูกต้อง

        • แบบ ป.ค.14 (แบบบันทึกสอบปากคำทายาท) ตามแบบที่ กบข. กำหนด ตามจำนวนทายาทผู้มีสิทธิ-รับเงิน โดยทายาททุกรายจะต้องไปสอบปากคำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตได้ทุกแห่ง

        • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก พร้อมทายาทเจ้าของบัญชีรับรองสำเนาถูกต้อง

        • หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

      • กรณีผู้รับเงินเป็นผู้จัดการมรดก

        • แบบ กบข.รง.008/2/2562

        • สำเนาคำสั่งออก พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับรองสำเนาถูกต้อง

        • คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก ฉบับเจ้าหน้าที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้อง

        • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากพร้อมผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้อง


การสิ้นสุดสมาชิกภาพ กบข.

สมาชิกไม่สามารถลาออกจากการเป็นสมาชิก กบข. ได้ เนื่องจากสมาชิกภาพการเป็นสมาชิก กบข. จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ หรือโอนย้ายไปหน่วยงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.

สิทธิการรับเงินคืน สมาชิก กบข. เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพจะได้รับเงิน 2 ส่วน ได้แก่

1 เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญรายเดือนจากกรมบัญชีกลาง

2 เงิน กบข. รายละเอียดแตกต่างตามเวลาราชการ สิทธิ และการเลือกใช้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญ