3.ประเภทของคอมพิวเตอร์

1. แบ่งตามลักษณะของการประมวลผลได้ 3 ประเภท


1.1 อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer) คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าแทน เช่น ไม้บรรทัดคำนวณมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดคำนวณหลายอันมาประกอบรวมกัน การประมวลผล เช่น การคูณจะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดคำนวณอันหนึ่งไปตรงกับตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลลัพธ์ของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอนาล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการเดียวกันกับไม้บรรทัดคำนวณ โดยใช้แรงดันไฟฟ้าแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด อนาล็อกคอมพิวเตอร์จะมีอนาล็อกคอมพิวเตอร์จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การศึกษาเรื่องการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว การจำลองการบิน ข้อมูลนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความดันของอากาศหรืความเร็ว ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา


สไลด์รูล (slide rule) หรือ สลิปสติก (slip stick) นับเป็นคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยแถบปรับ 3 แถบ และช่องสำหรับเลื่อน 1 ช่อง เรียกว่า "เคอร์เซอร์" (cursor) นิยมใช้กันทั่วไปในหมู่วิศวกรและสถาปนิก หรือนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อมีการผลิตเครื่องคิดเลข ในปี พ.ศ. 2513 จึงทำให้สไลด์รูลกลายเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย

1.2 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) หรือไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่แก้ปัญหาด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยป้อนข้อมูลนำเข้าเป็นตัวเลข และให้ผลลัพธ์เป็นตัวเลข คอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะประมวลผลในระบบตัวเลขด้วยสัญญาณดิจิตอล คือ การบวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบ ให้ค่าที่ไม่ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์

1.3 ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำลักษณะการทำงานของอนาล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มาผสมกัน ลักษณะการทำงานจะมีการรับข้อมูลเข้าเครื่องหรือมีการแสดงผลข้อมูลออกมารอย่างต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีความสามารถในการคำนวณที่ถูกต้องและแม่นยำ สามารถทำงานตามโปรแกรมที่สลับซับซ้อนได้ งานที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์แบบไฮบริด คือ งานด้านวิทยาศาสตร์ การฝึกการบิน และใช้ในงานอุตสาหกรรม หรืองานด้านการแพทย์



2.แบ่งตามขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์


2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงสุด โดยทั่วไป ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการประมวลผลสลับซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกา (NASA : National Aeronautics and Space Administration) งานสื่อสารผ่านดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น


ลักษณะของซูเปอร์คอมพิวเตอร์

1) มีขาดใหญ่

2) ราคาสูง

3) ใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้ง/วินาที

4) ใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว


2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีราคาแพง ประกอบด้วย ตู้ขนาดใหญ่ ภายในตู้จะมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เมนเฟรมคอมพิวเตอร์มักจะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์กร และอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณภูมิสูงมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี


ลักษณะของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์

1) ให้บริการผู้ใช้ได้หลายๆ คนพร้อมๆกัน

2) มีความเร็วและสมรรถนะการทำงานสูง

3) นิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่

2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ใช้กับธุรกิจขนาดกลาง เช่น โรงพยาบาล สถาบันการศึกษาที่มีการออนไลน์ภายในตัวอาคาร


ลักษณะมินิคอมพิวเตอร์

1) ใช้งานในองค์กรขนาดกลาง

2) ใช้เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) ทำหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (Client)


2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) หรือดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลกลาง สามารถใช้เป็นเครื่องต่อ เชื่อมในระบบเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (Terminal)

ลักษณะของไมโครคอมพิวเตอร์

1) ราคาถูก มีประสิทธิภาพสูง
2) ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) นิยมใช้ส่วนตัว สถาบันการศึกษาต่างๆ



ไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาดได้ ดังนี้

2.4.1 คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)

2.4.2 คอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวได้อาศัยพลังงานไฟ้ฟ้าจากแบตเตอรี่ภายนอก ส่วนมากมักเรียกตามลักษณะการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook computer

- แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กวางบนโต๊ะได้ จอภาพเป็นชนิดผนึกเหลว (LED : Liquld Crystal Display)

- โน้ตบุคคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อปจอแสดงผลแบบราบ

2.4.3 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายการเก็บข้อมูลเฉพาะอย่างที่สามารถพกพาได้สะดวก

2.4.4 แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพาไร้สายที่มีอินเตอร์เฟซ (Interface) แบบจอสัมผัส (Touch Screen) ปกติแฟกเตอร์รูปแบบ (Form Factor) ของแท็บเล็ต จะเล็กกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค สั่งงานด้วยการสัมผัสหน้าจอและคีย์บอร์ดเสมือนปรับหมุนหน้าจอได้อัตโนมัติแบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วๆ ไประบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android, ios และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi+3G

3G (Third Generation) คือ เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 ซึ่งอุปกรณืการสื่อสารในยุคที่ 3 นี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (PDA : Personal Digital Assistants) โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป และอินเตอร์เน็ต


ความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้มาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป


แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC : Tablet Personal Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้ ในการทำงานจะใช้การสัมผัสหน้าจอ ออกแบบให้สามารถใช้งานได้ด้วยตัวมันเอง เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจ ภายหลังจากที่ Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่ไม่เป็นที่นิยมในขณะนั้น

แท็บเล็ตพีซีไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Laptop ตรงที่ไม่มีแป้นพิมพ์ แต่จะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการทำงาน แท็บเล็ตพีซีจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน มีระบบปฏิบัติการทั้งที่เป็น Windows และ Android


แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา

นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน (2556) โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาตินั้น เป็นนโยบายที่มีความสำคัญยิ่ง โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจนเพื่อเร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เป็นกลไกลในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม (Cyber Home)” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนเพื่อให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดำเนินการให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดำเนินการได้


จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นปัจจัยและมิติสำคัญในการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาให้ก้าวสู่ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของสังคมโดยรวมและจะเป็นมิติของการสร้างกระบวนทัศน์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้การศึกษาในยุคปฏิรูปปัจจุบัน ขณะเดียวกัน นโยบาย ” แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (Tablet for Education)” กลายเป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันในยุคสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนโยบาลของรัฐบาลมุ่งใช้สื่อแท็บเล็ตให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One Tablet PC Per Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 539,466 คน โดยประมาณ


ในสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ในปัจจุบันนั้นสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียน ของสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท “คอมพิวเตอร์” จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บแล็ตเพื่อเด็กนักเรียนปัจจุบันโดยมุ่งเน้นให้เด็กนักเรียระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา


Cisco มีความเชื่อว่า ในปี 2017 ผู้คนจะมีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตไม่น้อยกว่าคนละ 5 เครื่อง เนื่องจากแนวทางของแท็บแล็ตยังคงแข็งแกร่งและตอบโจทย์ของผู้บริโภค เชื่อว่าในหน้าประวัติศาสตร์ของอุปกรณ์ไอทีแท็บแล็ตจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดไม่แพ้คอมพิวเตอร์เลยทีเดียว


ซิลโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์และบริษัทในเครือก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจด้านระบบเครือข่ายสำหรับอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์และบริการต่างๆของซิลโก้ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างโซลูชั่นด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วๆไป บริษัทประเภทต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างราบรื่น โดยไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่


2.4.5 คอมพิวเตอร์มือถือหรือเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล หรือ PDA (Personal Digital

Assistant) คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้พกพามีประโยชน์ในด้านการบันทึกหรือเตือนเรื่องการนัดหมายการเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์รวมถึงการเล่นเกมต่างทำงานด้วยแบตเตอรี่มีหน้าจอสัมผัสที่สามารถใช้งานได้โดยการใช้นิ้วมือหรือปากกาสไตลัส

ปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์มือถือแบบ PDA ถูกรวมเข้าไว้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะของ Smarty Phone ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถทำงานต่างๆได้มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น โทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android เป็นต้น