ด้านที่ 1 : การบริหารงานวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ

1.1 : การวางแผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน 

โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมมีความรู้ตามมาตรฐานหลักสูตร สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีการนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษามีการบริหารจัดการงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เรียนร้อยละ 100 ผ่านการประเมินตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา ครูร้อยละ 100 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และมีผลงาน/นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนทุกระดับชั้น โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ ทั้งระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)

แผนพัฒนาการจัดการศึกษา 2566-2570.pdf
ประกาศมาตราฐานการศึกษาและค่าเป้าหมาย ปีก.pdf

1.2 : การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันในการจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับสมรรถนะของผู้เรียนและสถานการณ์ในปัจจุบัน และยังได้ร่วมกับคณะครูฝ่ายวิชาการทำการปรับหลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖5 มีเอกสารประกอบหลักสูตรครบและครอบคลุมทึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดของหลักสูตร และสนับสนุนให้ครูทุกคนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) และสนับสนุนให้ครูทำงานวิจัยในชั้นเรียนทุกภาคเรียน ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 95  มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)

1.3 : การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการปฏิบัติการสอน 

ข้าพเจ้าได้ริเริ่ม พัฒนา นวัตกรรมในการบริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมงานวิชาการในโรงเรียนนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีระบบการนิเทศภายใน เพื่อกำกับ ติดตามการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นผู้นำในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยให้ครูได้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning และมีผลงาน/นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนทุกระดับชั้น มีการเลือกสื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมทั้ง ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำประกอบการนิเทศ ซึ่งครูผู้สอนก็ได้นำผลการนิเทศและเยี่ยมชั้นเรียนไปปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพต่อไป ผู้บริหารมีชั่วโมงในการสังเกตการณ์สอน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีชั่วโมงในการเป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนทางวิชาชีพ(PLC) 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีชั่วโมงนิเทศการสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ และมีชั่วโมงจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 11 ชั่วโมง/สัปดาห์ ครู ร้อยละ 100 จัดทำแผนการกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) และมีการบันทึกหลังแผนอย่างถูกต้อง มีกระบวนการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและมีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ มีการจัดทำรายงานการเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนต่อไป (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)

1.4 : การส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 

ข้าพเจ้าได้ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตรงตามที่หลักสูตรกำหนด ครูและนักเรียนสามารถใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา บรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา มีการรายงานผลและนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป ส่งผลให้ ครู ร้อยละ 100 มีการพัฒนาและ สร้างสื่อมัลติมีเดีย บทเรียนสำเร็จรูป นำสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูมีการจัดทำเว็บไซด์ในการนำเสนอผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง โดยใช้ Google Site ครบทุกคน นักเรียน ร้อยละ 90 สามารถเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์และใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)

1.5 : การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ข้าพเจ้าได้มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยมีการริเริ่ม พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในและส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพและมีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่งผลให้ ครู ร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศจากผู้อำนวยการและนำผลการนิเทศไปพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ ทั้งระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)

1.6 : การศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 

ข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และนำผลไปใช้แก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้นำในการสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้การทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน และส่งเสริม พัฒนาครูให้จัดทำประเด็นท้าทายเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เน้นที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นหลัก โดยจัดทำในรูปแบบงานวิจัยในชั้นเรียนที่ครูปฏิบัติการสอน ส่งผลให้ ครู ร้อยละ 100 มีรายงานการแก้ปัญหาผู้เรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครู ร้อยละ 100 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถแก้ปัญหาผู้เรียนตามประเด็นท้าทาย (ปฏิบัติได้ตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน)