HPE Helion Cloud System 9

ปีก่อนลองเล่น Helion Cloud System 8 ที่เป็นenterprise private cloud ปีนี้มี Update Ver. ใหม่ !!!

ติดตั้ง HPE Helion Cloud System 9 เพื่อทดสอบใน LAB ทำเพื่อไว้เรียนรู้กันครับ 10-Feb-16

ใช้ Installation Guide อันนี้

ขั้นแรก อ่านทำความเข้าใจ

System Architecture, Networking และ Resource ต่างๆที่มันจำเป็นต้องการจะใช้

เราเลือกทดสอบติดตั้งบน Server เครื่องเดียว บน ESXi 5.5 + vCenter

และ Appliance ที่ใช้มีหลายตัวที่ List ได้ตามนี้ มี Template ที่ต้องใช้ถึง 6 อัน

ซึ่งใช้พื้นที่มั้งหมดจริงๆ 23.87 GB

และเมื่อติดตั้ง CS จะสร้าง (Default ลงแบบใช้ vLan จะใช้ 110 vCPU และ 272 GB vMemory)

  1. cs-mgmt 3 vm (16 vcpu 32GB memory ต่อ VM)
  2. cs-cloud 3 vm (8 vcpu 32GB memory ต่อ VM)
  3. cs-enterprise 3 vm (8 vcpu 16GB memory ต่อ VM)
  4. cs-sdn 1 vm (ใช้เฉพาะถ้ามี vxLAN เท่านั้น ในการทดสอบนี้ไม่ใช้)
  5. cs-monitor 3 (4 vcpu 8GB memory ต่อ VM)
  6. vm cs-update 1 vm (2 vcpu 8GB memory ต่อ VM)

โดยคร่าวๆที่ต้องทำคือ

1- Configure Network ที่เป็น อุปกรณ์ Physical (ทำ Route กับ vLAN)

2- ติดตั้ง ESXi และ vCenter

3- เตรียม PC ที่จะไว้ใช้ Configure HP CS นำ File ต่างๆที่ใช้ มา Extract ก่อนดิตตั้ง

4- import OVA และสร้าง Template และ Configure vCenter

5- execute csstartgui .bat และใส่ข้อมูล

6- เตรียม MySQL Driver ที่ Management Appliance

7- ทำ First Time Installer

8- ระบบทำการติดตั้งและConfigure Appliance ทั้งหมด 13 VM

9- จัดการส่วนสุดท้าย เช็ค ตั้งค่า และ Active Compute Node


ในระบบจริงๆต้องมี Management 3 Host และ Share Storage เพื่อทำ HA ให้สมบูรณ์

โดย

cs-mgmt cs-cloud cs-enterprise และ cs-monitor จะกระจายๆอยู่ที่ Host ละVM

HW มีดารเรียกขั้นต่ำสุดคือ CPU core Memory 192GB Disk GB

แต่ Lab เราได้เครื่อง HP มาใช้ได้ 1 เครื่อง ทำเป็น Management

  • HP ProLiance DL380 Gen9
  • IntelE5-2670v3@2.30GHz 12Cores x2
  • Memory 192 GB
  • Disk 2.18TB-หลังจากทำ Raid5 ไว้

1 เครื่องทำ Compute-HP ProLiance DL380 Gen9

1 Storage+1SAN Switch

  • DELL EqualLogic PS6010
  • DELL Power Connect 8024F

1Network Switch-Cisco 2960 L2

โดย VM ที่จะสร้างมี 13 VM ใช้ 86 vCPU 272GB Memory 600GB Diskโดยประมาณ(รวม Template File)

1. Configure Network ที่เป็น อุปกรณ์ Physical (ทำ Route กับ vLAN)

จัดการ Network ก่อนเลยให้รองรับการใช้งานที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ vLan สำหรับ

  • Management Trunk -NIC1
    • vLAN-DCMN
    • vLAN-CMN
    • vLAN-CAN
    • vLAN-EN
  • Cloud Data Trunk -NIC3
  • Storage Trunk -NIC2
    • vLAN-BSN
    • vLAN-OPN

2- ติดตั้ง ESXi และ vCenter

3- เตรียม PC ที่จะไว้ใช้ Configure HP CS นำ File ต่างๆที่ใช้ มา Extract ก่อนดิตตั้ง

ต่อมา Download File ต่างๆ

  • Windows7 64bit ใช้ PUTTY กับ WIN-SCP เพื่อเข้าไป Terminal ไป Configure cs-mgmt และ ใช้อัพโหลด File
  • ติดตั้ง vSphere ไว้ใช้งานด้วย
  • ไปลงทะเบียนรับ License และเข้าไป Download File ที่ http://www.hp.com/go/softwaredepot

รายการที่ใช้ก่อนคือ

4- import OVA และสร้าง Template และ Configure vCenter

extract file HP_Helion_CloudSystem_Foundation_ESXi_9.0_Sept_2015_Z7550-96136.zip ได้ .ova 5 file

extract file HP_Helion_CloudSystem_Enterprise_ESXi_9.0_Sept_2015_Z7550-96142.zip ได้ .ova 1 file

import ทั้งหมดเข้า vCenter โดยไม่ต้องเปิดเครื่อง และตั้ง Storage เป็นแบบ Thin Provisioning ได้เพื่อลดการกันเนื้อที่

จากนั้น convert vm to template เพื่อเตรียมใช้งาน (ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ img เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ)

extract file HP_Helion_CloudSystem_Tools_9.0_Sept_2015_Z7550-96140.zip

ได้ set ของ SW csstartgui.bat

5- execute csstartgui .bat และใส่ข้อมูล

execute csstartgui.bat ขึ้นมาเลย มันจะสร้าง webhost แล้วรัน web browser ขึ้นมา (ไม่ compat. กับIEนะ)

เราสามารถดู Log และ File Configure ได้ที่ Folder csstart

ใส่ข้อมูลที่จำเป็น แล้ว install ระบบจะสร้าง VM cs-mgmt มาให้ 1 เครื่อง เพื่อใช้ ทำ FTI ต่อไป

6- เตรียม MySQL Driver ที่ Management Appliance

extract file MySQL_Connector_J_JDBC_driver_Aug_2015_Z7550-96193

ได้ แล้วใช้ putty ssh เข้าไป และใช้ winscp upload file libmysql-java_5.1.32-1_all.deb ที่

account cloudadmin

password cloudadmin

แล้ว sudo -i เป็นสิทธิ์ root

นำ file ไปวางไว้ที่

และเปลี่ยนสิทธิ์ และเจ้าของให้กับ cloudadmin

6 ตำแหน่งที่วางคือ

/boot/cloudsystem/cs-monasca-controller/

/boot/cloudsystem/cs-monasca-controller1/

/boot/cloudsystem/cs-monasca-controller2/

/boot/cloudsystem/cs-enterprise/

/boot/cloudsystem/cs-enterprise1/

/boot/cloudsystem/cs-enterprise2/

แล้วสั่ง เปลี่ยน สิทธิ์และเจ้าของ

chown cloudsystem:cloudsystem libmysql-java_5.1.32-1_all.deb

chmod 644 libmysql-java_5.1.32-1_all.deb

ให้กับทั้ง 6 File

7- ทำ First Time Installer

เมื่อรัน FTI คือเปิด Browser ไปที่ http://ipaddressของcs-mgmt/#/fti

ใส่ข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด แล้วกด install


จะมี account/password ที่จะต้องใช้ต่อไปอยู่ ตรงส่วนสุดท้ายที่เราตั้งค่านะ

อันแรก fti.root_password_prompt เอาไว้ SSH เข้า VM

อันที่สอง fti.cloud_admin_password_prompt เข้า UI Console

อันที่สาม fti.enterprise_password_prompt เข้า integrate tool ในส่วน enterprise

และเราสามารถเข้าไปดู Log ของการทำ FTI ได้ที่ /var/log/cs-avm-manager/cs-avm-manager.log และ /var/log/pavmms/pavmm_api.log

8- ระบบทำการติดตั้งและConfigure Appliance และ vCenter ทั้งหมด 13 VM

อันนี้ หน้า Network Diagram ที่ FTI มีไว้ให้ดูแยก vLAN ละสี และ Trunk ออกให้ชัดเจน

9- จัดการส่วนสุดท้าย เช็ค ตั้งค่า และ Add Compute Node (ใน Admin Guide หน้า 141 เป็นต้นไป)

  • Add Share Storage ที่ vCenter เพื่อใช้เก็บ cs-ovsvapp.ova ให้กับ ESXi หลัก และ ESXi ที่จะทำเป็น Compute

Deploy cs-ovsvapp.ova ไว้ที่ Share Storage ที่สร้างเอาไว้ แล้ว Convert เป็น Template

  • Active Compute Node

เพิ่ม Cluster ใหม่ให้กับ vCenter ที่ใช้อยู่หรือ vCenter อีกเครื่อง และนำ ESXi Add เข้าเพื่อทำเป็น Compute Node

ที่ Integrated Tool ใน System

ใน ESXi ที่ Cluster จะมีการสร้าง cs-ovfvapp ขึ้นมาใช้งาน

  • เพิ่มเติม เราสามารถเข้าไปดู activation process ได้ที่เครื่อง MA1 ด้วย tail –f /var/log/eon/eon.log

มาต่อเรื่องการบริหารจัดการ การใช้งานตาม

Account admin

Password Password คืออันที่ตั้งตอนทำ FTI ส่วน fti.cloud_admin_password_prompt

ซึ่งในนี้มีหน้าบริหารจัดการต่างๆมากมายเช่น

Activity Dashboard

Logging Dashboard

Monitoring Dashboard

System Summary

OpenStack User Portal

Account admin

Password Password คืออันที่ตั้งตอนทำ FTI ส่วน fti.cloud_admin_password_prompt

  • Cloud Service Automation Management Console

Account admin

Password cloud

  • Cloud Service Automation Consumer Marketplace Portal

Account consumer

Password cloud

  • Cloud System Operations Orchestration

Account Administrator

Password คืออันที่ตั้งตอนทำ FTI ส่วน fti.enterprise_password_prompt

ขั้นตอนการปิดเปิด ระบบ มีขั้นตอมตามนี้ (page 62-68 ใน Admin Guide)

รายการชื่อเครื่องทั้งหมด ที่ใช้ (ชื่อกลาง)

1 ปิดระบบ (อันนี้เป็น Single Management Host) (ประมาณ 15 นาที ไม่รวม VM)

  • ต้องปิด VM ทั้งหมด ที่อยู่ใน OpenStack บน Compute Node ก่อน (เพิ่มเติมหน้า67)
  • ต่อที่ Management ใช้ Account cloudadmin SSH เข้าไปที่เครื่อง mgmt1 แล้ว ssh ผ่าน mgmt1 ไปสั้ง Shutdown โดยมีลำดับดังนี้
  • update1(ua1) sdn(อันนี้ไม่มีเพราะไม่ได้ใช้ vxLAN) ovsvapp monitor3(mona3) monitor2(mona2) monitor1(mona1) enterprise3(ea3) enterprise2(ea2) enterprise1(ea1) cloud3(cc2) cloud2(cc1) cloud1(cmc) mgmt3(ma3) mgmt2(ma2) mgmt1(ma1 ตัวมันเอง)
  • ที่ Compute Node ใช้ Account Administrator Login เข้าไปที่ vCenter แล้วสั่ง Shutdown(Power > ShutdownGuest ได้นะเพราะมี vmware toolลงอยู่) ตัว VM OVSvApp
  • ตัวอย่าง

ssh cloudadmin@ua1 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@mona3 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@mona2 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@mona1 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ea3 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ea2 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ea1 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@cc2 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@cc1 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@cmc sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ma3 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ma2 sudo shutdown -h now

ssh cloudadmin@ma1 sudo shutdown -h now

  • ปิด Server
  • ปิด Share Storage

2 เปิดระบบ (ประมาณ 1-2 ชม.orz)

  • เปิด Share Storage ต่างๆที่ใช้ก่อนเลย
  • เปิด Server เครื่อง Host
  • เปิด mgmt1(ma1) ก่อน ต่อไปใช้ชื่อกลางแล้วนะ เทียบเองตามรายชื่อข้างบน (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • ใช้ Account cloudadmin SSH ไปที่เครื่อง ma1
  • run sudo service mysql bootstrap-pxc
  • เสริมเกี่ยวกับ pxp หน่อย(a PXC node writes it’s last executed position into the grastate.dat file. By comparing the seqno number inside, you will see which node is the most advanced one (most likely the last one stopped). Cluster must be bootstrapped using this node, otherwise nodes that had more advanced position will have to perform full SST to join cluster initialized from the less advanced one (and some transactions will be lost).)
  • เปิด ma2 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • เปิด ma-3 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • เปิด ua1 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • กลับมาที่เครื่อง ma1 ใช้คำสั่ง ssh cloudadmin@ma3 "sudo os-refresh-configure" เพื่อ refresh configuration โดยทำที่ (ma3, ma2, ma1, ua1) หรือสร้างเป็น Script ก็ได้ตาม admin guide
  • เปิด cmc (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด ea1 (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด mona1 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • กลับมาที่เครื่อง ma1 ใช้คำสั่ง ssh cloudadmin@cmc "sudo service mysql bootstrap-pxp" โดยทำที่ (cmc, ea1, mona1) หรือสร้างเป็น Script ก็ได้ตาม admin guide
  • เปิด cc1 (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด cc2 (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด ea2 (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด ea3 (รอเครื่องเปิด 5 นาที หรือมากกว่านั้น)
  • เปิด mona2 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • เปิด mona3 (รอเครื่องเปิด 5 นาที)
  • กลับมาที่เครื่อง ma1 ใช้คำสั่ง ssh cloudadmin@ea1 "sudo -u csauser /usr/local/hp/csa/scripts/elasticsearch start; sudo -u root service csa restart; sudo -u root service mpp restart; sudo -u root service HPOOCentral restart" เพื่อ refresh configuration โดยทำที่ (ea1, ea2, ea3) หรือสร้างเป็น Script ก็ได้ตาม admin guide
  • Optional เผื่อไว้ สำหรับเช็ค DB ทำตาม Guide หน้า 73 นะ แล้วก็ของ CS virtual Appliances ที่หน้า 72 นะ
  • สำหรับ Compute Node เริ่มที่ เปิด Server ESXi ที่เป็น compute host
  • เปิด VM OVSvApp