Apache Server

ApacheWeb

การติดตั้ง Apache2 Server

Apache เป็นระบบที่บริหารจัดการ Web Server ซึ่ง Web Servers นั้นเป็น Programs ที่ดูแลและจัดการ Web Pages ต่าง ๆที่ติดตั้งอยู่ภายใน Web Server นั้น ๆ ตัวอย่างเช่นการเปิด Web Browser บน PC และเข้าไปยัง www.mahidol.ac.th ทาง Web Server ก็จะดึงและเรียกข้อมูลของ Web ดังกล่าวมาแสดงที่ Browser บน PC ที่เรียก ซึ่ง Apache นั้นเป็นหนึ่งใน Web Server ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานโดยจะมีวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้

ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้ง Apache ใน CentOS 7

yum -y install httpd


หลังจากติดตั้งแล้ว ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อ ทำให้ระบบ Apache ทำงานตั้งแต่เริ่มต้นเปิดเครื่องโดยอัติโนมัติทุกครั้งหลังจากการ Restart

systemctl enable httpd.service

และคำสั่งที่ใช้สำหรับการ Start Apache แบบ Manual คือ

systemctl start httpd.service

สามารถเปลี่ยนเป็นตรวจสอบสถานะของ Apache ได้โดยแทนที่คำว่า Start ด้วยคำว่า Status และหากต้องการหยุดการทำงานให้แทนที่ด้วยคำว่า Stop


วิธีการที่จะทำให้ เรียกข้อมูลจาก Web Server จาก เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้นั้น ต้อง Enable Firewall ให้อนุญาต ให้ใช้งานผ่าน http Port ก่อน ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

firewall-cmd --permanent --zone=public --add-service=http

จากนั้นให้ Firewall เรียกใช้การกำหนดดังกล่าวด้วยคำสั่งต่อไปนี้

firewall-cmd --reload


เมื่อเสร็จสิ้นการติดตั้ง สามารถทดสอบการใช้งานได้โดย เปิด Web Browser แล้วเข้าไปที่ URL: http://<IPหรือชื่อเครื่องWebServer> จะได้ผลดังตัวอย่างที่แสดงนี้

การติดตั้ง PHP5 เพิ่มให้กับ Web Server

PHP5 นั้นเมื่อติดตั้งแล้วจะทำให้ Web Server ที่มีอยู่สามารถ รองรับการทำงานและจัดการ PHP5 Script ได้

Apache นั้นมี Tool อื่น ๆที่จะต้องติดตั้งเพื่อ Support การทำงานของ PHP Script โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้

yum -y install php php-mysql php-gd php-ldap php-odbc php-pear php-xml php-xmlrpc php-mbstring php-snmp php-soap curl curl-devel

จากนั้น Restart Apache เพื่อ ให้เรียก PHP Script ที่เพิ่งติดตั้งไปมาใช้งาน

systemctl restart httpd.service

ในการทดสอบ PHP นั้น จะต้องสร้าง File ทดสอบไว้ที่ Root Directory ของ Apache ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ /var/www/html โดยตั้งชื่อดังตัวอย่างเช่น test.php

และ ใส่ Script ต่อไปนี้เพื่อใช้ทดสอบ

<?php

phpinfo();

?>

จากนั้น เข้า Web Browser และไปที่

URL: http://<IPหรือชื่อเครื่องWebServer>/test.php


และจะได้หน้าที่แสดงรายละเอียดของ PHP ที่ติดตั้งไปแสดงขึ้นมาดังตัวอย่างข้างต้น

การติดตั้งระบบฐานข้อมูล MariaDB

MariaDB เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ Database server ซึ่งก็คือ Program ที่ใช้บริหารจัดการ การจัดเก็บและจัดการข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ภายใน การทำงานภายใน Client และ Server นั้น ที่ Client จะทำการเรียกข้อมูลไปที่ Database Server และที่ Database Server จะทำการค้นหาและดึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ส่งไปที่ Client

การติดตั้ง MariaDB บน CentOS 7 ใช้คำสั่งต่อไปนี้

yum -y install mariadb-server mariadb

หลังจากติดตั้ง ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อเริ่มการทำงานของ MariaDB แบบ Manual

systemctl start mariadb.service

สามารถเปลี่ยนเป็นตรวจสอบสถานะของ MariaDB ได้โดยแทนที่คำว่า Start ด้วยคำว่า Status และหากต้องการหยุดการทำงานให้แทนที่ด้วยคำว่า Stop

ทำการตั้งค่า Server ให้ MariaDB ทำงานของ โดยอัตโนมัติเพื่อเปิดเครื่องด้วยคำสั่งต่อไปนี้

systemctl enable mariadb.service

เมื่อระบบเริ่มทำงาน จะต้องสร้าง Password ของ User Root ให้ Database และ ลบ Database ตัวอย่างที่ติดมากับ MariaDB รวมถึงใช้งาน Security Feature ของ MariaDB

mysql_secure_installation

เมื่อมีส่วนตัวเลือกให้ตอบคำถาม ให้ตอบ Default ในทุก ๆคำถาม ซึ่งก็คือ Yes หรือ Y แล้วแต่คำถามในแต่ละข้อ

ตัวอย่าง ลักษณะคำสั่งที่ใช้สำหรับ Import File SQL เข้าไปยังฐานข้อมูล

mysql -u username -p database_name < file.sql

การติดตั้ง phpMyAdmin

phpMyAdmin เป็น Web Application ที่ใช้สำหรับบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล MariaDB ที่มีความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย

ในการติดตั้ง ระบบต้องใช้ Repository EPEL ใน CentOS 7 ให้ Download มาจาก

http://dl.fedoraproject.org/pub/epel/beta/7/x86_64/epel-release-7-1.noarch.rpm

ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

wget http://dl.fedoraproject.org/pub/epel/beta/7/x86_64/epel-release-7-1.noarch.rpm

และใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้ง Repository

yum install epel-release-7-1.noarch.rpm

หลังจากนั้นติดตั้ง phpMyAdmin ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

yum install phpmyadmin

หลังจากการติดตั้ง ให้แก้ไขการตั้งค่าของ phpMyAdmin ให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถเข้ามาใช้งานได้ดังวิธีการต่อไปนี้

เข้าไปแก้ไข file ชื่อ phpMyAdmin.conf ที่อยู่ใน /etc/httpd/conf.d/ ด้วยคำสั่ง

vi /etc/httpd/conf.d/phpMyAdmin.conf


จากนั้นให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลดังตัวอย่างต่อไปนี้

[....]

<Directory /usr/share/phpMyAdmin/>

AddDefaultCharset UTF-8

<IfModule mod_authz_core.c>

# Apache 2.4

<RequireAny>

Require ip 127.0.0.1

Require ip 10.34.10.0/24 #ใส่ IP ของเราหรือ วงIPที่ต้องการเช่น 10.34.10.0/24

Require ip ::1

</RequireAny>

</IfModule>

<IfModule !mod_authz_core.c>

# Apache 2.2

Order Deny,Allow

Deny from All

Allow from 127.0.0.1

Allow from 10.34.10.0/24 #ใส่ IP ของเราหรือ วงIPที่ต้องการเช่น 10.34.10.0/24

Allow from ::1

</IfModule>

</Directory>

[....]

เมื่อแก้ไขเสร็จให้ทำการ Restart service ของ http เพื่อเรียกใช้งานการตั้งค่าใหม่ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

systemctl restart httpd.service

จากนั้นสามารถตรวจสอบการใช้งานโดยเข้า Web Browser และเข้าไปที่

URL: http://<IPหรือชื่อเครื่องWebServer>/phpmyadmin

ซึ่งจะแสดงผลดังตัวอย่างต่อไปนี้

และใช้ Username และ Password ของ MariaDB ที่ได้ตั้งค่าไปมาใช้เพื่อเข้าภึงระบบฐานข้อมูล