Horizon Dashboard

OpenStack Horizon Dashboard

จากที่ติดตั้งทั้ง version Folsom และ Grizzly มาก็จะเป็นตัวอย่างการใช้งาน Horizon Dashboard เพื่อใช้ OpenStack เพื่อทำ Project, Network, Volume, Virtual Machine, และ Image&Snapshot


Horizon Dashboard แบ่งการใช้งานเป็น 2 ส่วนคือ Admin และ User อันนี้เป็นตัวอย่างจาก Version Grizzly ก็จะคล้ายๆกับ Version อื่นๆแหละ

System page (Admin) ประกอบด้วยส่วนต่างๆOverview page สรุปการใช้งานทั้งหมดหรือสามารถเลือกเฉพาะช่วงเวลาการใช้งานได้ : Project name, number of VCPUs, disk space, size of memory, การใช้งาน CPU และ Disk

  • Instances page แสดง instances ทั้งหมดในระบบ ประกอบไปด้วยข้อมูลของ Project name, Host type, Instance name, IP address, disk size, instance status, task, power status, และ actions
  • Volumes page มี 2 ส่วนคือ list of volumes และ list of volume types ใน List จะแสดง Project, Name, Description เลือก Type รวมทั้งว่า Volume นั้นๆ Attach ให้กับ VM ใดและขนาดของ Volume ส่วน Type จะแสดง Name ของ Type ที่มีอยู่
  • Flavors page หรือ VM quota แต่ละ flavor จะประกอบไปด้วย size ของ VM: VCPU, memory, Disk เป็นต้น
  • หน้านี้แสดงรายการของ Server image และรายละเอียด ชื่อ Image Name, Type, Status, Public และ Format ของ Image นั้นๆว่าเป็นประเภทอะไร
  • หน้าแสดงรายการของ project ทั้งหมดในระบบซึ่งมี Name, Description, Project ID เป็นต้น
  • หน้าแสดงรายการ user ทั้งหมดและสถานะ:ซึ่งมี Username, Email, User ID เป็นต้น
  • หน้าแสดงรายการทั้งหมดของ network และข้อมูลของแต่ละ network โดยมี Project, Network Name, Subnet Address และรายละเอียดเป็นต้น
  • หน้าแสดงรายการทั้งหมดของ Router จะแสดงรายละเอียดของ Project, Name, Status ต่างๆเป็นต้น
  • หน้าแสดงรายการ Services ทั้งหมดและสถานะของแต่ละ service รวมทั้ง service detail จะมีรายละเอียดของ Service Name, IP และ สถานะ

หน้าแสดง User project ประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ หน้า manage compute และ หน้าmanage network

  • หน้า manage compute ประกอบไปด้วย 5 ส่วนคือ: 1.overview of the project, 2.instances, 3.volumes, 4.images & snapshots, และ 5.access & security
  • หน้า manage network มี 3 ส่วนคือ 1.network (ซ้ายบน), 2.router (ขวาบน), และ 3.network topology (ด้านล่าง) ตามตัวอย่าง

Project

  • การสร้าง Project

เข้าไปที่ // system admin panel > projects > create project ใส่ค่า project name, project description (optional) และเลือก enabled เราสามารถกำหนดสมาชิก project และ quota ของ project ได้ในส่วนนี้

  • การสร้าง User

เข้าไปที่ // system admin panel > users > create user ใส่ค่า user name, email address, ตั่งค่า password, กำหนด project และ role “member” ให้กับ user

Network

  • การสร้าง network

Network มี 2 ประเภทคือ external network และ internal network เข้าไปที่

// system admin panel > networks > create network เพื่อสร้างทั้ง 2 networks โดยใส่ข้อมูล Name, เลือกชื่อ Project กำหนด Admin Site, Shared, และ เลือก External Network ตามรูปที่ 32 สำหรับทำเป็น External ไม่เลือกเมื่อต้องการให้เป็น Internal ตามรูปที่ 33

  • การสร้าง subnet

เข้าไปที่ // system admin panel > networks > network name > create subnet ในการสร้าง sub net ข้อมูลที่จะต้องใส่คือ Name, Network Address, IP version ปกติจะใช้ IPv4, และ Gateway IP ซึ่งเป็น Optional ที่สามารถเว้นว่างไว้ได้ ทั้งนี้สามารถ Disable หรือไม่ใช้งาน Gateway ได้ด้วย และเมื่อสร้างเสร็จ Subnet จะมาแสดงอยู่ในหน้าดังกล่าว

ทำแบบเดียวกันกับการสร้าง subnet ของ external network

การสร้าง Router

Logout ออกจาก Admin และ login ด้วย user account ใหม่ที่สร้างขึ้น จากนั้นสร้าง router สำหรับ project เข้าไปที่ // project > routers > create router

ใส่ค่า router name และเลือก create router จะได้ผลแสดงตามรูป

การ Add Interface

เข้าไปที่ // Project > Routers > Router Name > Add Interface จะมี Dropdown List รายการ network ให้เลือกตามภาพซ้ายบน และให้เพิ่มได้ทีละ network ทั้งนี้ให้เลือก internal และ external network ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ให้กับ router ผลจะแสดงให้เห็นตามภาพขวาบน จากนั้นเลือก “// project > Network Topology”, GUI ของ network ตามภาพล่างที่แสดง network สีเขียวทางด้านซ้ายเป็น external network ต่อเข้ากับ router ตัวกลางที่เชื่อมต่อเข้ากับ network สีน้ำเงินทางด้านขวา ที่เป็น internal network

Virtual Machine

ส่วนแรกคือสร้าง VM หรือ Instance จะอยู่ที่หน้า // Project > Instances > Launch Instances ให้

ใส่ค่ารายละเอียดของ instance คือ

  1. เลือก Instance Source ในที่นี้เลือก Image
  2. เลือกชื่อของ Image ที่ระบบมีไว้ให้
  3. กำหนด Instance Names
  4. เลือก Instance Flavor หรือขนาดของ Instance ที่จะสร้างขึ้นโดยสามารถดูรายละเอียดจากกล่องแสดงทางด้านขวาทั้งนี้ระบบจะแสดง Project Quotas ไว้ด้วย โดยจะมีรายละเอียดของ Number of Instance, Number of VCPU และ Total RAM โดยอ้างอิงจาก Quota ที่ผู้ดูแลระบบได้กำหนดเอาไว้ให้
  5. ใส่จำนวน Instance ที่ต้องการจะสร้าง
  6. กำหนด Networking ในที่นี้ให้เลือก internal network ให้กับ instance โดยจะไปอยู่ที่ selected networks ตามภาพด้านล่าง และให้ปล่อย external network เหลือไว้ที่ตำแหน่ง available networks

ผลการสร้าง Instance ข้อมูลจะปรากฏให้เห็นอยู่ตามตัวอย่างภาพซ้ายบน และ ผู้ใช้งานสามารถเข้าหน้า console โดยเลือกที่ชื่อของ Instance นั้นๆ และระบบจะแสดงหน้า Consloe บน Web Browser ทันทีตามภาพขวาบนในตัวอย่างจะเป็น Command Line Interface และภาพด้านล่างแสดงตำแหน่งของ Instance ที่สร้างขึ้นในระบบ Network โดยเข้าไปที่ “// project > Network Topology” ซึ่งจะแสดง GUI ของ network

ข้อมูลของ Instance ใหม่ที่สร้างขึ้นจะประกอบด้วย

  • รายละเอียด Instance คือ: Name, IP address, Size, และ status
  • Instance Console
  • Instance ใหม่ใน Network Topology

Volume

ในส่วนนี้จะแสดงการจัดการ volume, สร้าง volume และ assign ให้กับ virtual machine

  • การสร้าง volume

ลำดับแรก Login ด้วย Admin และ สร้าง volume type ใหม่

//Admin > Volumes > Create Volume Type ตั้งชื่อ Type ให้กับ Volume ที่จะสร้างขึ้

ลำดับต่อมา Login ด้วย New-User และสร้างโดยกำหนด volume information และเลือกปุ่ม Create Volume” เข้าไปที่ // Project > Volumes > Create Volume ใส่รายละเอียดต่างๆให้กับ Volume ที่จะสร้างขึ้นคือ Name, Description เลือก Type จากรายการที่ระบบมีให้และกำหนด Size ให้กับ Volume มีหน่วยเป็น GB ทั้งนี้ระบบจะแสดง Quota ไว้ที่ด้านขวาของจอว่าผู้ใช้งานใช้ไป Size เท่าใดแล้วและมีจำนวน Volume ที่อัน

  • การ Assign volume ให้ VM

จากนั้นเลือก VM และ กำหนด path สำหรับ volume ใน VM จากนั้นใส่ volume ให้กับ VM

โดยเข้าไปที่ // Project > Volumes > Edit Volume Attachments ตามรูปบน ของรูปที่ 43 และจะแสดงผลตามภาพด้านล่าง

Image and Snapshot

ในส่วนนี้แสดงการทำ image และ snapshot ของการจัดการ VM และ volume

  • การสร้าง Image

การสร้างให้เข้าไปที่ // Project > Image & Snapshot > Create An Image ใส่รายละเอียดของ image ที่ประกอบไปด้วย Name, Image Location และ เลือก Format ของ Image ที่เลือกเข้ามา จากนั้นสร้าง image ในตัวอย่างนี้ใช้ image จาก Launchpad โดยใช้ Location ที่ https://launchpad.net/cirros/trunk /0.3.0 /+download/cirros-0.3.0-x86_64-disk.img

การสร้าง snapshot ของ VM และ Volume

  • การสร้าง VM snapshot

ให้เข้าไปที่ // Project > Instances > Create Instance Snapshot

โดยใส่ชื่อของ Snapshot ที่จะสร้างขึ้นตามตัวอย่างและผลการสร้างจะแสดงตามภาพด้านล่าง

  • การสร้าง Volume Snapshot

ให้เข้าไปที่ // Project > Volumes > Create Volume Snapshot

โดยใส่ชื่อของ Snapshot ที่จะสร้างขึ้นตามตัวอย่างและสามารถใส่ Description เพิ่มเติมเข้าไปได้หากผู้ใช้งานต้องการ ตามภาพด้านล่างนี้

เมื่อสร้าง snapshot ของ VM และ Volume เสร็จแล้วสามารถเข้าไปดูผลทั้งหมดของการสร้างได้ที่

// Project > Images & Snapshots ในหน้านี้จะแสดง Image และ Snapshot ของ VM และ Volume ทั้งหมดของผู้ใช้งาน

นอกจากดู Image และ Snapshot ที่ได้สร้างขึ้นในก่อนหน้านี้ อีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปดูผลคือ quota ทั้งหมดของผู้ใช้งานหลังจากการสร้างตัวอย่าง VM และ Volume โดยเข้าไปที่ // Project > Overview